Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 00:00 • ความคิดเห็น
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ความเชื่อมั่นติดลบ | บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในภาคใต้ของไทยเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 ซึ่งเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผลกระทบรุนแรง จึงทำให้สังคมเห็นความสำคัญของการเตือนภัยล่วงหน้า และนำมาสู่การจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยในระยะแรกสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ท้ายที่สุดมาสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สำหรับการดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีศูนย์ปฏิบัติการที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหววันที่ 28 มี.ค.2568 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานแรงสั่นสะเทือนใน 63 จังหวัด และมีรายงานความเสียหายใน 18 จังหวัด ครอบคลุมอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งความเสียหายรุนแรงอยู่ที่การถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างบริเวณเขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ในการประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับระบบการแจ้งเตือนประชาชน ซึ่งมีความล่าช้าในการส่งข้อความ SMS และการแจ้งเตือนผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยสั่งการใน ครม.เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2567 ให้เร่งนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้แจ้งเตือนประชาชนในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติให้รับทราบโดยทันที
1
1
การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุอุทกภัยและดินถล่มในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและราชการจำนวนมาก เนื่องจากไม่สามารถเตรียมการรองรับสถานการณ์ล่วงหน้าได้เหมาะสมทันเหตุการณ์ ซึ่งทำให้เห็นว่าระบบเตือนภัยในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งนำระบบ Cell Broadcast มาใช้โดยเร็ว
1
ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ลำบาก แต่การแจ้งเตือนจะทำให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียที่มีทั้งข่าวเท็จและข่าวเกินจริง รวมถึงความวุ่นวายหลังเหตุการณ์แผ่นดินใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่ประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับบ้านที่การจัดการระบบขนส่งมวลชนไม่สามารถเชื่อมโยงกับระบบแจ้งเตือนภัย โดยถ้าผลกระทบรุนแรงกว่านี้มีคำถามว่ารัฐบาลจะรับมือได้แค่ไหน
1 บันทึก
6
2
1
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย