ถึงฤดูกาลที่ "ดอกสาทรบาน" สัญญาณที่บอกว่าฤดูร้อนมาถึงแล้ว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง

สาธร ชื่อวิทยาศาสตร์: 𝘔𝘪𝘭𝘭𝘦𝘵𝘵𝘪𝘢 𝘭𝘦𝘶𝘤𝘢𝘯𝘵𝘩𝘢 Kurz var.buteoides (Gagnep.)P.K.Lôc วงศ์ถั่ว: Family Leguminosae วงศ์ย่อย: Sub Family Papilionaceae
ชื่ออื่น: กระเจาะ ขะเจาะ ขะเจ๊าะ (เหนือ)/ กระพี้เขาควาย (ประจวบฯ)/ กระเซาะ สาธร (กลาง)/ ขะแมบ (เชียงใหม่)
สาทร เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดแล็กๆ ตื้นๆ เนื้อไม้สีขาวอมน้ำตาล แก่นสีน้ำตาลอมดำ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3 - 5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยวแผ่นใบย่อย รูปรี ปลายแหลม โคนมน ด้านล่างใบสีอ่อนกว่าด้านบน
ดอกช่อแบบช่อกระจายแยกแขนง ยาวประมาณ 20 ซม. ออกพร้อมใบอ่อน รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานคล้ายฝักมีด มีเปลือกแข็ง ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก รูปร่างแบนคล้ายโล่
ที่มา : อุทยานแห่งชาติภูเวียง - Phu Wiang National Park จังหวัดขอนแก่น
#พรรณไม้อุทยานแห่งชาติภูเวียง #ขอนแก่น #สาทร
#อุทยานแห่งชาติภูเวียง #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา