31 มี.ค. เวลา 06:00 • สิ่งแวดล้อม

เจาะลึกงบ ‘อาคาร สตง.’ จากต้นแบบต้านโกงสู่ตึกถล่มกลางกรุง สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล

☝️Click >> เจาะลึกงบ 2.5 พันล้านบาท 'อาคาร สตง.' จากต้นแบบต้านโกง สู่ปลายทาง 'ตึกถล่ม'
🔎Clear >> จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Watthana-Saen-u-dom’ ได้สรุปไทม์ไลน์ ‘ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน’ (อาคาร สตง.) ที่ถล่มเมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 จากเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่ กทม. ถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ/การอนุมัตงบ เริ่มต้นเมื่อใด ว่า...
ย้อนกลับไปในปี 2550-2556 มติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไว้ 4 รายการ แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างอาคาร 3 รายการ และค่าควบคุมการก่อสร้าง 1 รายการ ดังนี้...
*สถาบันธรรมาภิบาลแห่งชาติ อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2550 งบผูกพันข้ามปี 2551-2553 วงเงิน 338,950,000 บาท
*อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 งบผูกพันข้ามปี 2553-2555 วงเงิน 988,000,000 บาท
*อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ระยะที่ 2 อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2553 งบผูกพันข้ามปี 2554-2556 วงเงิน 500,000,000 บาท
*ค่าควบคุมการก่อสร้างสถาบันธรรมาภิบาล อนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2556 งบผูกพันข้ามปี 2557-2559 วงเงิน 5,956,600 บาท
*รวมเป็นค่าก่อสร้างวงเงินกว่า 1,800 ล้านบาท และค่าควบคุมการก่อสร้างของสถาบันธรรมาภิบาลแห่งชาติ (อาคารแรกเท่านั้น ) อีกเกือบ 6 ล้านบาท
อนึ่ง เหตุการณ์ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (อาคาร สตง.) ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ดังนี้...
>> ฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ
การถล่มของอาคารก่อให้เกิดฝุ่นละอองจำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง โดยฝุ่นละอองเหล่านี้อาจปนเปื้อนสารเคมีจากวัสดุก่อสร้าง เช่น ซีเมนต์ และใยหิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว
>> การปนเปื้อนแหล่งน้ำ
เศษซากอาคารอาจไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนสารเคมีและสิ่งสกปรก อีกทั้งฝุ่นละอองและเศษซากอาจอุดตันท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง
>> ผลกระทบต่อดิน
เศษซากอาคารอาจปนเปื้อนดิน ทำให้ดินเสื่อมโทรมและไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก รวมถึงสารเคมีจากวัสดุก่อสร้างอาจซึมลงสู่ใต้ดิน ทำให้แหล่งน้ำใต้ดินปนเปื้อน
>> ขยะและของเสีย
การถล่มของอาคารก่อให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการกำจัด แถมการกำจัดขยะและของเสียเหล่านี้อาจก่อให้เกิดมลพิษเพิ่มเติม หากดำเนินการไม่ถูกวิธี
นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานและทรัพยากรในการฟื้นฟูพื้นที่ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งเศษซากอาคารอีกด้วย
ที่มา: Thansettakij / Watthana-Saen-u-dom
โฆษณา