31 มี.ค. เวลา 05:01 • ความคิดเห็น
1. เราควรจะได้ทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่าธรรม ตามกระทู้ถามคืออะไร และคำว่าเทพ ตามกระทู้ถามคืออะไร............
ต้องไม่ลืมว่า คำว่า ธรรม ธรรมะ หรือ ธัมมะ เรายืมมาจากภาษาบาลี คือ "ธมฺม" อันหมายถึงสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของมัน ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ คำเหล่านั้น จึงย่อมหมายความถึง "สิ่งที่มีจริง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง" เพื่อให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่าเป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ดังนั้น ความทุกข์ จึงจัดเป็นสภาพธรรม ความสุข ก็เป็นสภาพธรรม ความรัก ก็เป็นสภาพธรรม ความเกลียดก็เป็นสภาพธรรม ความหมั่นไส้ อิจฉา ริษยา ก็ล้วนเป็นสภาพธรรม แต่สภาพธรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นสภาพที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเกิดแล้วต้องดับไป ไม่เที่ยง ตามกฎแห่งไตรลักษณ์ จริงหรือไม่ ลองตรองดู และขณะที่คุณกำลังสงบนิ่งลองคิดตามเราอยู่นี้ เรียกว่า "วิปัสสนา"
2. คำว่าเทพ (Dhev) เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต "เทว" (อ่านว่า เท-วะ) หมายถึง เทวดาผู้ที่มีชีวิตอย่างเป็นสุขอยู่ในสวรรค์ อย่ากระนั้นเลย คำว่าเทพ เทวดา เหล่านี้มีปรากฎในพระไตรปิฎกด้วยเช่นกัน
ดังนั้น หากเรายึดเอาตามพระไตรปิฏก เทพ เทวดา นั้นมีอยู่ ไม่ว่าจะในครั้งพุทธกาล หรือในสมัยใดก็ตาม ไม่ว่าจะมีรูปมีร่างเป็นอย่างใด ไม่ว่าจะมีวิถีอย่างใด เราจึงไม่ควรจะสุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งตามประวัติพุทธองค์ เทพ เทวดา ยังต้องมานั่งฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นแปลว่า......???
3. คำว่าทุกข์ มีปรากฎในคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 คือธรรมที่มีจริง 4 ประการ นั่นคือ ความทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ การดับแห่งทุกข์ และหนทางแห่งการดับทุกข์ทั้งปวง ซึ่งอย่างหลังนี้ ก็คือมรรค 8 นั่นเอง
สรุป ความทุกข์เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วต้องดับ
แต่มันจะเกิดๆดับๆ เวียนว่ายเป็นปกติสำหรับมนุษย์ทั่วไป
เราเพียงค่อยๆ ใคร่ครวญตามหลักอริยสัจ 4
ว่าทุกข์นั้นเกิดจากอะไร เราป้องกันแก้ไขได้หรือไม่
มีหนทางใดที่จะทำให้เราไม่เวียนว่ายกับการเกิดดับแห่งทุกข์อีก
นั้นแล จึงเป็นที่มาให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม
หวังที่จะบรรลุอริยมรรค ทั้ง 8 ประการ
แต่จะมีมนุษย์สักกี่คนที่บรรลุอริยมรรค?
..............................................
ผลได้ที่เกิดจากการอริยมรรค 8 ประการ
จักมุ่งสู่พระนิพพาน (ไม่เวียนว่ายอีกต่อไป)
โฆษณา