31 มี.ค. เวลา 06:27 • ข่าว

กทธ.ไอซีที วุฒิสภา เร่งผลังดันยุทธศาสตร์การลงทุน Data Center

และส่งเสริมใช้ AI เสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ระดมพลทั้งภาครัฐและเอกชน 71 หน่วยงาน จัดสัมมนาใหญ่แลกเปลี่ยนข้อมูล รับรู้ปัญหา เพื่อกระตุ้นการพัฒนา Data Center ในประเทศ ลดการพึ่งพาต่างชาติ เร่งพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี ตั้งเป้าเพิ่มบุคลากรด้าน AI ถึง 1 ล้านคน ปรับปรุงกฎหมายCyber Security และ Digital Economy รองรับการเติบโตของเทคโนโลยี
นำพลังงานสะอาดมาใช้ใน Data Center สร้างความยั่งยืนทางเทคโนโลยี ด้านเอกชนและกูรู วงการดิจิทัล ย้ำ ล่าช้าไทยขาดดุลการค้ามหาศาล จากสถิติ3ปีหลังโควิด ทั้งภาคธุรกิจและ คนไทยผู้บริโภคใช้บริการดิจิทัลต่างประเทศ ปีละ1.2ล้านล้านบาท เทียบเท่ากับการหารายได้เข้าไทยจากการท่องเที่ยวปีละ1.1ล้าน
เมื่อวันที่28 มีนาคม 2568 – คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดสัมมนาเรื่อง "แนวทางการใช้ประโยชน์จาก Data Center และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย" ณ อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯ โดยมุ่งเน้นการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตอย่างยั่งยืน
หัวข้อในการสัมมนาครั้งนี้ บรรยายพิเศษ เรื่อง “AI กับการพลิกโฉมระบบการแพทย์
และระบบการศึกษา : โอกาสและความท้าทายของภาครัฐไทย” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในพระสังฆราชูปถัมภ์ หรือผู้แทน บรรยายพิเศษ เรื่อง“ความท้าทายของประเทศไทยต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ภายใต้อุตสาหกรรมใหม่ในยุค AI : การปรับตัว และความพร้อมในการรับมือ”
โดยMr. Craig Jones ผู้เชี่ยวชาญอาชญากรรมทางไซเบอร์ Director CyPo : Immediate Past Director Cybercrime @INTERPOL Retired Senior Official @ National Crime Agency (NCA, UK)
อภิปราย เรื่อง “แนวทางการใช้ประโยชน์จาก Data Center และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของประเทศไทย” อภิปราย เรื่อง “เสียงสะท้อนสู่การขับเคลื่อน : ร่วมกําหนดอนาคต Data Center และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สําหรับประเทศไทย ในทศวรรษหน้า” เปิดเวทีระดมความเห็น: Data Center และ AI กับอนาคตเศรษฐกิจไทย
งานสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงาน 71 หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานความมั่นคง20 หน่วยงาน, มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา9 หน่วยงาน,สมาคม, ชมรม และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง 31 หน่วยงาน, หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว, โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมบริการ 7 หน่วยงานบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ4
หน่วยงานการสัมมนาเริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดงานโดย นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้กล่าวถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน ว่า ตั้งแต่ยุคโทรเลขจนถึงการใช้ AI ในปัจจุบัน โดยเน้นว่า Data Center และ AI เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางพัฒนาอย่างเป็นระบบ
ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจากยุคการเกษตร สู่อุตสาหกรรม และปัจจุบันเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย ปัจจุบันมีการลงทุนจากหลายบริษัทในไทย
“ คำถามสำคัญคือ ไทยควรมีทิศทางอย่างไร ในการพัฒนาศูนย์ข้อมูลจีนมี ศูนย์ข้อมูลใต้น้ำ ไทยควรศึกษาว่าจะใช้พลังงานและทรัพยากรน้ำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Cyber Security AI มีบทบาทในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ควรพิจารณาวิธีใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและปลอดภัย ด้าน Cyber Security ไทยยังต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย
มุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ คณะกรรมาธิการกำลังผลักดันกฎหมายด้านไซเบอร์และดิจิทัลให้เกิดขึ้น การศึกษาประเด็นเหล่านี้ ไม่ได้จบแค่วันนี้ แต่ต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องเพื่ออนาคตของประเทศ” นายนิเวศกล่าว
นายสุวิทย์ ขาวดี สมาชิกวุฒิสภาจากจังหวัดสตูลในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากดาต้าเซ็นเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ประเด็นเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์และ AI เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมีผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ดังนั้นคณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากดาต้าเซ็นเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลักดันให้ประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน และ Financial hub โดยมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการสนับสนุนการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้าน Data Center ที่ชัดเจน จึงต้องเร่งกำหนดนโยบายดึงดูดการลงทุน พร้อมศึกษาต้นทุนการใช้ Data Center ต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อนำมาสู่การพัฒนา Data Center ภายในประเทศ
AI และ Cyber Security: กุญแจสำคัญสู่ความมั่นคงทางดิจิทัลในช่วงเสวนา ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ Cyber Security ได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสของเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยมีการเน้นย้ำว่าAI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรม การศึกษา ไปจนถึงภาครัฐ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
เป็นปัจจัยที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายไซเบอร์ที่ครอบคลุมถึงผู้ลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์และเร่งศึกษากฎหมายควบคุมการใช้ AI เพื่อปลดล๊อคการใช้งาน AI ภาครัฐ
ส่งเสริมการใช้ AI ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและวางแนวทางการคุ้มครองประชาชน ทั้งนี้ หลังจากที่คณะทำงานได้มีการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนแล้วเห็นว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานด้านดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ที่แข็งแกร่ง คณะทำงานฯ
จึงให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการวางนโยบายส่งเสริมการพัฒนา AI ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และภาครัฐ
หลังจากที่คณะทำงานได้มีการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนแล้วเห็นว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานด้านดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ที่แข็งแกร่ง คณะทำงานฯ จึงให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมถึงการวางนโยบายส่งเสริมการพัฒนา AI ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และภาครัฐ ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้วางแนวทางสำคัญในการผลักดันยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การส่งเสริมการลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ผ่านมาตรการจูงใจทางภาษีและการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อรองรับการใช้งาน AI ในภาคธุรกิจและภาครัฐ
3. การออกนโยบายด้านการพัฒนาและใช้ AI อย่างรับผิดชอบ คำนึงถึงจริยธรรม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
4. การพัฒนาทักษะแรงงานด้าน AI เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมคณะทำงานฯ
จะเร่งสรุปข้อเสนอและนำเสนอต่อ กรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและ การโทรคมนาคม วุฒิสภา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยคาดหวังว่าการผลักดันดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
“ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ Data Center อย่างเป็นทางการ ทำให้คณะกรรมาธิการต้องเร่งศึกษาข้อมูลจากภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดทำข้อเสนอทางกฎหมายและส่งต่อไปยังรัฐบาล นอกจากนี้ ยังมีการหารือเรื่องค่าใช้จ่ายในการใช้ Data Center ต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่ถือว่าเป็นจำนวนมาก จึงต้องการพัฒนา Data Center ภายในประเทศเพื่อลดต้นทุน
ด้านการศึกษา คณะกรรมาธิการเห็นความสำคัญของ AI และการพัฒนากำลังคน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มบุคลากรด้าน AI เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้ สรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนาพัฒนา Data Center ในประเทศ ลดการพึ่งพาต่างชาติ ส่งเสริม AI และพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี ตั้งเป้าเพิ่มบุคลากรด้าน AI ถึง 1 ล้านคน ปรับปรุงกฎหมาย Cyber Security และDigital Economy รองรับการเติบโตของเทคโนโลยี นำพลังงานสะอาดมาใช้ใน Data Center สร้างความยั่งยืนทางเทคโนโลยี” นายสุวิทย์กล่าว
นาวาตรี ดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวเสริมว่า การจัดการข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) ควรมีความโปร่งใสและสามารถบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสนอให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด เช่น โซลาร์เซลล์ เพื่อนำมาใช้กับ Data Center และเทคโนโลยี AI
“ ความสำคัญของ Data Center และ AI โดยเน้นว่าการจัดการข้อมูลเปิดภาครัฐเป็นเรื่องจำเป็น ต้องมีการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ AI มีบทบาทสำคัญในอนาคต จึงต้องส่งเสริมบุคลากรด้านนี้ตั้งแต่ระดับการศึกษา พร้อมออกกฎหมายรองรับเพื่อป้องกันการใช้ AI ในทางที่ผิด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเครือข่ายสื่อสาร โดยเฉพาะพลังงานสะอาด
เช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีต้นทุนลดลง ควรถูกนำมาใช้สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี AI และData Center นำเสนอให้ความร่วมมือกับหน่วยงานสากล เช่น ตำรวจสากล ในการจัดการปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บทบาทของวุฒิสภาคือการกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมส่งเสริมให้สื่อมวลชนและประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” นาวาตรี ดร.วุฒิพงศ์ กล่าว
ทางด้าน น.ส.วิภาวดี พึ่งรัศมี เลขาอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทน และที่ปรึกษาคณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากดาต้าเซ็นเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ วุฒิสภากล่าวว่า จากที่ทาง รัฐบาลไทยประกาศ นโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาค ด้วยผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์นั้น ความต้องการสูงสุดจะต้องเป็น green data center เซ็นเตอร์ คือ ไฟฟ้าที่ใช้จะต้องเป็นกรีน ซึ่งก็คือจาก Renewable
“ นักลงทุนมักเน้นไปที่พลังงานจากจากพวกโซล่าฟาร์ม และก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งประโยชน์ที่ประชาชนของเราจะได้รับมีน้อย เพราะแทบไม่ได้ใช้ แรงงานเราเท่าที่ควร ทางเราในฐานะผู้มีส่วนในการผลักดันสนับสนุนระเบียบข้อกฏหมายต่างๆ อยากนำเสนอให้มีสัดส่วนไฟฟ้าจากพวกพืชพลังงาน ซึ่งก็ถือเป็น renewable อย่างหนึ่งเพราะเราคือประเทศเกษตรกรรม
ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มเกษตรกรในการเพาะปลูกพืชกลุ่มนี้ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงได้ ทั้งยังจะเป็นจุดแข็งที่จะสามารถเรียก ผู้ประกอบการทั่วโลกที่กำลังมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่อยู่ เอาชนะคู่แข่ง เช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย ได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้อง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงกระทรวงพลังงานด้วยจึงจะสามารถ ให้ประเทศไทยเป็นที่หมายปองของผู้ลงทุนในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ ตามนโยบายที่รัฐบาลไทยประกาศไว้" นางสาววิภาวดี กล่าว
ทั้งนี้ภายในงานได้มีการอภิปรายเรื่อง ““แนวทางการใช้ประโยชน์จาก Data Center และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของประเทศไทย” มีข้อมูลน่าสนใจ จากหลายท่านวิทยากร กล่าวคือ
นายณรัณ โพธิพัฒนชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กฏหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ข้อมูลด้านกฏหมาย ดูแลอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังดูแลและช่วยปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ว่าได้เริ่มปรับปรุงแก้ไขกฏหมาย เพื่อเข้ากำกับดูแล สร้างสมดุลให้เหมาะสม จากปัจจุบันมีผู้พัฒนาเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์รายใหญ่เข้ามาครอบงำ ก็จะยากที่จะควบคุม ดูแล จึงจำเป็นต้องแก้ไขให้ทันกับยุคสมัยมากขึ้น
พันเอกสรรชัยย์ หุวะนันห์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บทบาททางโทรคมนาคมที่ต่างชาติมาลงทุน จะมองหลายๆด้าน ไทยมีพื้นที่ ทำเลเหมาะสม มีพื้นที่เชื่อมต่อเครื่อข่าย
แต่มีจุดอ่อนราคาพลังงาน บุคลากร วิศวกรด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ที่แพ้มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม แต่เมื่อรัฐบาลมาให้ความสำคัญ ในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ให้ไทยเป็นฮับ จะต้องแก้ไขจุดด้วยเหล่านี้ ขับเคลื่อนแก้ไขกฏหมาย พัฒนาบุคลากรเข้าระบบปีกว่าแสนรายทำอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้ไทยมีศักยภาพดึงนักลงทุนได้
นายรัตนพล วงศ์นภจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามเอไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ไทยมีโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ทำเลเหมาะเป็นที่ตั้ง มีทรัพยากร แต่ควรเตรียมพร้อมตั้งรับให้ได้กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เร็วมากๆทุกๆเดือน เซิร์ฟเวอร์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลารวดเร็วกว่า10 เท่าในแต่ละเดือน และควรพัฒนาควบคู่กับ AI
นายฐนสรณ์ ใจดี ประธานคณะผู้บริหาร บริษัททรูดิจิทัล ปาร์ค จำกัดกล่าวว่า การสร้างคนตอบโจทย์การมีดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย สเกลดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องมาคู่กับ AI คนไทยจะได้ประโยชน์ ทำอย่างไรไทยถึงจะมีวิศวกรคุณภาพในการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์เกิดขึ้น รัฐบาลจะต้องสนับสนุน
นายสมิทธ์ พนมยงค์ กรรมการบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าประเทศไทยเสียดุลการค้า เศรษฐกิจดิจิตอลปีละ 1.2 ล้านล้านบาท หรือเดือนละกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ ประมาณเดือนละแสนล้านบาท เราขาดดุลตั้งแต่โควิดปิดประเทศที่เราใช้บริการดิจิทัล ต้องเช่า พี่งพาต่างประเทศ ภาคเอกชน ธุรกิจ เช่า ERP ระบบบัญชี หรือSAP อื่นๆ ซึ่งเงินเหล่านี้ไหลไปต่างประเทศ ในส่วนภาคประชาชนผู้บริโภค ใช่บริการไม่น้อย โดยเฉพาะด้านบันเทิงดิจดตอล เราดูเน็ตฟิท เล่นเกมส์ อื่นๆ
“ เราเสียดุลการค้าเดือนกว่าแสนล้าน ซึ่งยังไม่นับรวมพวกสื่อโฆษณาที่เค้าแย่งคนไทย สมัยก่อนคนไทยดูโฆษณาจากสื่อสิ่งพิมพ์ ทีวี ปัจจุบันดูยูทูป ในเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ติ๊กต๊อก เราเสียดุลปีละ 1.1-1.2 ล้านล้านบาท เทียบเท่า จีดีพีของประเทศ ในหนึ่งปีเราเชิญต่างชาติมาเที่ยวไทยสร้างรายได้ 1.1 ล้านบาทแต่ก็เสียดุลซื้อบริการดิจิทัลกลับคืนต่างชาติหมด ” นายสมิทธ์กล่าว
โฆษณา