Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Last karuda
•
ติดตาม
1 เม.ย. เวลา 00:21 • ข่าวรอบโลก
ไทย
นี่ไม่น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับจีน
วันนี้ อาคารสำนักงานตรวจสอบบัญชี(สตง.)ที่สร้างโดยกลุ่มบริษัท China Railway No. 10 Engineering Group Co., Ltd. หรือ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ 10th บูโร (ประเทศไทย) จำกัด
พังทลายลงจากแผ่นดินไหว ไม่ถึง 1 ปีให้หลัง!
เหตุเมื่อบ่ายวันที่ 28 มีนาคม 2568 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดประมาณ 7.7 เกิดขึ้นที่เมืองสะกาย ประเทศเมียนมาร์
ส่งผลให้เมียนมาร์และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับความสูญเสียอย่างหนัก
วิดีโอหลายคลิปที่แพร่สะพัดทางออนไลน์เผยให้เห็นอาคารสูงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสิน...
แม้เมืองไทยจะ อยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวสะกายไปกว่าห้าร้อยกิโลเมตร โดยอาคารดังกล่าวพังถล่มลงมาอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที
1
และกลายเป็นซากปรักหักพัง คนงานจำนวนมากถูกฝังอยู่ ซึ่งเป็นภาพที่น่าสยดสยอง
1
ตามรายงานของสื่อมวลชน ระบุว่า มีคนงานกำลังทำงานในอาคารที่ถล่มเมื่อเวลานั้นประมาณ 300 - 400 คน
แต่จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่ามีผู้สูญหายจำนวน 43 ราย
1
รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า อาคารดังกล่าวเป็นอาคารสำนักงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีจำนวนถึง 30 ชั้นและมีความสูง 137 เมตร
งบประมาณก่อสร้างรวม 2,136 ล้านบาท เป็นโครงการก่อสร้างร่วมกันระหว่างบริษัท อิตาลี-ไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ 10th บูโร (ประเทศไทย) จำกัด
เป็นที่รู้ๆกันว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองสะกาย ประเทศเมียนมาร์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 16 กิโลเมตร
อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า 510 กิโลเมตร และพังทลายลงภายในเวลาเพียง 5 วินาที
3
ตามรายงานของสื่อ ขณะที่กรุงเทพฯ ยังคงมีฝุ่นตลบและเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้อง
กลุ่มบริษัท ไชน่า เรลเวย์ 10th บูโร (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและละเอียดถี่ถ้วนเพื่อลบโพสต์รูปแสดงความยินดี
ที่โพสต์เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับอาคารที่ถล่มลงมา รวมถึงบทความโปรโมตที่ถูกลบออกไปซึ่งมีคำโปรยว่า
"โครงสร้างหลักของอาคารสำนักงานตรวจสอบแห่งใหม่ของประเทศไทยได้สร้างยอดอาคารสำเร็จแล้ว" หายไปในเสี้ยวพริบตา(และผมก็ดึงภาพมาไม่ทัน)
ในบทความของกลุ่ม China Railway No. 10 Engineering Group Co., Ltd. (บริษัท ไชน่า เรลเวย์ 10th บูโร (ประเทศไทย) จำกัด) ได้อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ
"ที่(โคตร)พิถีพิถันและเข้มงวด" ของการก่อสร้างอาคาร รวมถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบสลิปฟอร์มขั้นสูง เทคโนโลยีการติดตั้งแบบหล่อยก และเทคโนโลยีนั่งร้านปีนอัตโนมัติเต็มรูปแบบ
2
2
ต้นฉบับยังอ้างว่ากลุ่มได้จัดตั้ง "ทีมวิจัยทางเทคนิค" พิเศษขึ้น และให้คำมั่นว่า
จะ "เอาชนะความยากลำบากในการก่อสร้างทั้งหมดและรับรองความปลอดภัยของอาคาร"
จนแผนการก่อสร้างในช่วงนั้นได้รับ "การประเมินอย่างเป็นทางการที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงงงงง"
2
และอื่นๆ อีกมากมาย อันนี้ไม่รวมถึงการส่งพนักงานเข้ามาไซด์งานก่อสร้างเพื่อขนเอกสารหลบหนีไป
2
ปัจจุบันพี่จีนได้ดำเนินโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการในต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง Belt and Road Initiative ( BRI หรือ B&R)) และแน่นอน...ต้องมีโครงการที่ห่วยแตกมากมาย ฮาาา
1
โดยทั่วไปอาคารสูงจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่จะไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
สามารถซ่อมแซมได้จากแผ่นดินไหวระดับปานกลาง และไม่พังทลายจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม หากคิดกลางๆ ผมคิดว่าการที่อาคารตรวจสอบในประเทศไทยถล่มนั้น
อาจไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหวที่เมียนมาร์ซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่าห้าร้อยกิโลเมตรก็เป็นได้ หรืออาจจะเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง
สาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ บริษัท China Railway No. 10 Engineering Group Co., Ltd. ตัดสินใจอย่างรีบเร่ง หรือเร่งรีบในการดำเนิน(หลาย)โครงการจนทำให้แล้วเสร็จ และรวมถึงคุณภาพของวัสดุต่างๆที่ได้มาจาก ”ซิน เคอ หยวน สตีล”
1
ส่งผลให้ความแข็งแรงในการแข็งตัวของคอนกรีตไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มันเป็นเพียงความบังเอิญในเรื่องเวลา
แต่เราเห็นเขาสร้างตึกสูง เราได้เห็นเขาต้อนรับแขก เราได้เห็นคำพูดสวยหรู เราได้เห็น"ราคา"ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และเราได้เห็นอาคารของพวกเขาถล่มลงมา..
2
https://www.youtube.com/watch?v=0dXAtX4miXE
และนี่...ไม่น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประวัติการทำงานของบริษัทจีน
และผมขอแถมด้วยสาเหตุการพังทลายของตึก สตง. ครั้งนี้ที่พวกเขาได้มีการวิเคราะห์(ข้อแก้ตัว)กันอย่างละเอียด (แสดงรายการความเป็นไปได้ต่างๆ แต่ไม่มีข้อสรุปใดๆนะครับ)รายละเอียดคือ..
นาทีที่ 05:49 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 1 มาตรฐานด้านแผ่นดินไหวไม่เข้มงวดเพียงพอ
นาทีที่ 06:19 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 2 ใช้การออกแบบพื้นแบบไม่มีคาน
1
นาทีที่ 07:54 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 3 ผลกระทบจากแอ่งน้ำในกรุงเทพมหานคร
นาทีที่ 08:57 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 4 การสั่นพ้องระหว่างโครงสร้างและคลื่นไหวสะเทือน
1
นาทีที่ 09:55 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 5 ความแข็งแรงของโครงสร้างที่ไม่เพียงพอ
นาทีที่ 10:26 สาเหตุของการพังทลายสาเหตุที่ 6 คุณภาพการก่อสร้างที่อาจไม่ดี สาธุครับ.....
แผ่นดินไหว
พม่า
ไทย
1 บันทึก
13
10
2
1
13
10
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย