1 เม.ย. เวลา 03:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เพราะเหตุใดโครงการฝึกอินทรีโจมตีโดรนจึงถูกยกเลิก?

นอกจากนกอินทรีจะเป็นมาสคอตในกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามกลางเมือง ตราลัญจกรของประเทศ และเป็นสัญลักษณ์ของกองทัพสหรัฐแล้ว ที่ผ่านมาหลายประเทศได้พิจารณาขีดความสามารถนกอินทรีสายพันธุ์อื่นๆ
ด้วยสัญชาตญาณนักล่า (Natural Hunting Instincts), สายตาที่เฉียบคม (Exceptional Vision), ความคล่องตัวสูง (Agility and Speed), ลดความเสี่ยงจากอาวุธยิง (Safer Alternative to Firearms) และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Approach) จึงมีความพยายามในการนำนกอินทรีมาฝึกเพื่อสกัดกั้นโดรน
ภาพ : ทหารหญิงกองทัพฝรั่งเศสกำลังฝึกใช้งานนกอินทรี ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=0VoBhaTZ3OA
เริ่มจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของเนเธอร์แลนด์เตรียมรับมือกับการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายโดยใช้โดรน ตัวอย่างเช่น เครื่องบินไร้คนขับสามารถบรรทุกระเบิด ก๊าซพิษ หรืออาวุธชีวภาพ และทิ้งลงบนคนหรืออาคารได้ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือผู้ก่อการร้ายอาจใช้โดรนเพื่อทิ้งเชื้อแอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ และกาฬโรคอย่างรวดเร็ว ตำรวจเนเธอร์แลนด์จึงจัดตั้งหน่วยที่มีชื่อว่า "ตำรวจฝึกนกเหยี่ยวเพื่อสกัดกั้นโดรน" เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าจะฝึกอินทรีเพื่อต่อสู้กับโดรน
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สาธิตและแสดงสถานการณ์หนึ่งซึ่งใช้นกเป็นอาวุธ นกอินทรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559 ขณะที่บุคคลสำคัญมาถึงภายใต้การคุ้มกันของรถจักรยานยนต์ ลงจากรถและจับมือกัน ก็มีโดรนบินมาทางเขา นกเหยี่ยวที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษบินเข้าหาทันทีและคว้าโดรนจากอากาศ การทดลองฝึกใช้นกอินทรีสกัดกั้นโดรนยังถูกนำมาใช้ในกองกำลังตำรวจในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การใช้นกอินทรีจับโดรนยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เช่น ความเสี่ยงต่อนกอินทรีเองหากโดรนมีใบพัดที่อาจทำให้พวกมันบาดเจ็บ (Risk of Injury) นกสามารถโจมตีโดรนได้ทีละลำเท่านั้น จึงไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่มีโดรนจำนวนมาก รวมถึงระยะเวลา ค่าใช้จ่ายในการฝึกและบำรุงรักษาสัตว์ (High Training Costs) ทำให้บางประเทศเลือกใช้วิธีอื่นกำจัดโดรนแทน เช่น โดรนสกัดกั้น (Interceptor drones), ปืนยิงตาข่าย (Net guns) หรือระบบรบกวนสัญญาณโดรน (Jammers) โครงการฝึกใช้นกอินทรีจึงถูกยกเลิกไปจากเหตุผลดังกล่าว
ภาพ : ผู้ฝึกนกโจมตีโดรนจากบริษัทในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มา : Andrew Testa for The New York Times
โฆษณา