Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TamJai
•
ติดตาม
1 เม.ย. เวลา 08:42 • ข่าวรอบโลก
การใช้สัตว์เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)
การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) คือการสื่อสารที่มุ่งเน้นชักจูงหรือโน้มน้าวความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจใช้ข้อมูลที่เป็นจริง ครึ่งจริง หรือบิดเบือนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
หนึ่งในโฆษณาชวนเชื่อที่เรารับรู้กันมานานในประวัติศาสตร์คือ ภาพวาดของนโปเลียนบนหลังม้าข้ามเทือกเขาแอลป์ (Napoleon Crossing the Alps) แท้จริงแล้วนโปเลียนโบนาปาร์ตได้ขี่ "ล่อ" ข้ามเทือกเขาแอลป์ โดยนักประวัติศาสตร์ระบุว่า ขณะกองทัพฝรั่งเศสบุกอิตาลี ในปี ค.ศ. 1800 นโปเลียนเลือกขี่ล่อซึ่งเหมาะกับภูมิประเทศที่สูงชันและอันตราย มากกว่าม้าศึกที่อาจไม่คล่องตัวพอ อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างภาพลักษณ์อันยิ่งใหญ่ ภาพวาดจึงถูกเปลี่ยนจากบนหลังล่อให้นโปเลียนนั่งบนหลังม้าศึกอันสง่างาม จนกลายเป็นภาพจำทางประวัติศาสตร์
นโปเลียนจึงได้ให้ศิลปินมีชื่อเสียง Jacques-Louis David วาดภาพตัวเขาบนหลังม้า เพื่อถ่ายทอดภาพลักษณ์ของความสำเร็จและความกล้าหาญ และใช้สัญลักษณ์ของจักรวรรดิ คือนกอินทรีทองคำ เพื่อแสดงถึงอำนาจและความรุ่งเรืองของฝรั่งเศส
นอกจากนี้แล้วนโปเลียนยังใช้วิธีการต่างๆเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ เช่น สร้างภาพลักษณ์ของผู้นำที่ได้รับการเลือกสรรจากโชคชะตาให้มากอบกู้ฝรั่งเศส, สั่งพิมพ์หนังสือพิมพ์ที่สนับสนุนรัฐบาลและตีพิมพ์เฉพาะข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง,ใช้ตำนานและสัญลักษณ์เพื่อสร้างความศรัทธาเปรียบตนเองกับจักรพรรดิโรมัน, ใช้ข่าวปลอมและข้อมูลที่เกินจริงเพื่อทำให้ข้าศึกหวาดกลัว, แจกเหรียญตรา เพื่อสร้างความภักดีและขวัญกำลังใจ และจัดขบวนพาเหรดและพิธีเฉลิมฉลองชัยชนะเพื่อเน้นย้ำถึงความแข็งแกร่งของกองทัพ เป็นต้น
การใช้สัตว์เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำโปสเตอร์เชิญชวนชักนำให้เหล่าชายหนุ่มสมัครเป็นทหารเข้าร่วมสงคราม
ภาพ : โปสเตอร์เชิญชวนให้เหล่าชายหนุ่มเข้าร่วมรบ ระบุว่า “แม้กระทั่งสุนัขยังเข้าร่วมรับใช้ชาติ แล้วทำไมคุณยังไม่เข้าร่วมกับกองทัพล่ะ” ที่มา : Moody, Mildred (designer), Galloway Litho Co San Francisco (printer) circa 1914 – 1918
ในแคมเปญการหาเสียงของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สมัยแรกของเขา ค.ศ. 2025 ทรัมป์ได้ถ่ายภาพลงบนนิตยสาร TIME โดยเขาเลือกถ่ายภาพร่วมกับนกอินทรีหัวขาวสัญลักษณ์ประจำชาติสหรัฐอเมริกา นกอินทรีที่ใช้ในภาพถ่ายมีชื่อว่า “Uncle Sam หรือ ลุงแซม” การถ่ายภาพนี้เกิดขึ้นเพื่อสื่อถึงความเป็นชาตินิยมและความแข็งแกร่งของทรัมป์ในฐานะผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี นกอินทรียังหมายถึงอำนาจ อิสรภาพ และจิตวิญญาณแห่งความกล้าหาญที่ยังคงอยู่เหนือกาลเวลาของชาวอเมริกัน
ระหว่างการถ่ายภาพมีช่วงหนึ่งที่นกอินทรีกระพือปีก และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อทรัมป์ โดยมีคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่านกพยายามจิกใส่เขาขณะนั่งอยู่ที่โต๊ะ ภาพดังกล่าวกลายเป็นมีมและถูกแชร์อย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพกับนกอินทรีก็ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของทรัมป์ในแง่ของการเป็นผู้ที่ไม่กลัวที่จะเสี่ยง และอาจตีความได้ว่าเขาคือ "นักธุรกิจที่ปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกา"
ภาพ : ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในห้องทำงานบนชั้น 25 ของอาคารทรัมป์ทาวเวอร์ในนิวยอร์กซิตี้ ถ่ายภาพร่วมกับนกอินทรีหัวโล้นชื่อลุงแซม ที่มา : มาร์ติน โชลเลอร์ (Martin Schoeller) นิตยสาร TIME
ทางด้านความขัดแย้งสมัยใหม่ทางดินแดนยุโรปตะวันออกรัสเซีย –ยูเครน นอกจากรูปแบบการรบโดยใช้กองกำลังปกติ (Regular Military Forces) แล้วยังมีการใช้แพลตฟอร์มโซเซี่ยมีเดียทำให้วิดิโอความยาวระยะสั้นแพร่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว ตามโซเชี่ยลมีเดีย ( Social Media ) ของทหารยูเครนเต็มไปด้วยพวกแมวเหมียว แมวช่วยเหลือทหารในฐานะสัตว์มาสคอต เสริมภาพลักษณ์ของทหารยูเครนที่มีความเมตตาต่อสัตว์ แมวช่วยดึงดูดเงินบริจาคให้กองทัพด้วยความน่ารักน่าชัง และยังช่วยต่อสู้กับผู้รุกรานซึ่งในกรณีนี้ก็คือหนูอีกด้วย
ภาพ : ภาพจากคลิปวิดิโอสั้น Oleksandr Liashuk ทหารยูเครนที่เป็นไวรัล ยูเครนส่งเพื่อนแมวไปร่วมต่อสู้กับรัสเซีย แมวที่ทหารรับเลี้ยงยังต้องต่อสู้กับศัตรูอย่างหนูที่คอยรบกวนสนามเพลาะ กัดแทะสายสื่อสารดาวเทียม Starlink และสายไฟในรถยนต์ ทำลายเสบียงอาหารและอุปกรณ์ทางการทหาร และแม้แต่กัดนิ้วของทหารที่กำลังนอนหลับอีกด้วย ที่มา : https://www.politico.eu/article/ukraine-russia-war-cat-army-social-media/
ประวัติศาสตร์
เรื่องเล่า
สหรัฐอเมริกา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย