Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ
•
ติดตาม
1 เม.ย. เวลา 10:42 • ข่าว
ชี้แจง!! มาตรการรับมือการเผาพื้นที่การเกษตรและหมอกควันข้ามแดน เพื่อแก้ไขปัญหา PM2.5
https://vt.tiktok.com/ZSrrMRYau/
รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้และดำเนินการอย่างเต็มที่ แม้จะควบคุมได้ไม่ 100% แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อเนื่องด้วยมาตรการระยะยาว มุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชนเป็นหลัก
โดยสาเหตุของ PM2.5 มี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การเผาในที่โล่ง การปล่อยควันจากรถและโรงงาน และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศ ภูมิประเทศ และทิศทางลม
ซึ่งหน้าที่ของ ก.ทรัพยากรฯ ไม่ใช่หน้าที่หลักในการดูแลทั้งประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่ ก็จะมีหน่วยงานดูแลในส่วนของตัวเอง ก.ทรัพยากรฯ มีหน้าที่ดูแลในฝั่งกลุ่มป่า โดยกรมป่าไม้ และกฎเกณฑ์ในการควบคุมควันดำ โดยกรมควบคุมมลพิษ
ส่วนของหมอกควันข้ามแดน เรามี "ยุทธการฟ้าใส" ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว-พม่า มีการตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อติดตามดำเนินการตลอดเวลา และในบางครั้งมีการต่อสายตรง ถึงผู้บริหารที่มีอำนาจ เพื่อให้ดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนของภาคอื่นๆ เช่น โรงงาน ไร่อ้อย สินค้าเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้ามาดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ซึ่งรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง "คณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ" โดยรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน และแบ่งแผนงานออกเป็น 3 ระดับ
1). ระดับประเทศ – กำกับนโยบายหลัก มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และผมรัฐมนตรีว่าการ ก.ทรัพยากรฯ เป็นรองประธาน ประสานงานเรื่องหมอกควันข้ามแดน การเผาไหม้ชายแดน หรือการงดนำเข้าสินค้าเกษตรที่เกิดจากการเผา
2). ระดับภูมิภาค – ให้แม่ทัพภาคเป็นผู้ประสาน เพื่อดูแลพื้นที่ป่าข้ามจังหวัด โดย ก.ทรัพยากรฯ แบ่งพื้นที่การดูแลเป็น 14 กลุ่มป่า เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ
3). ระดับจังหวัด – ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ควบคุมในพื้นที่ของตนเอง บังคับใช้กฎหมาย และประสานชุมชนในพื้นที่ เพื่อลดการเผาไหม้
ทั้งนี้ ในส่วนของ ก.ทรัพยากรฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ผมลงพื้นที่ไปมอบนโยบาย พูดคุย และตั้งศูนย์ป้องกันไฟป่าด้วยตนเอง โดยมีสิ่งที่เราดำเนินการ ดังนี้
- แบ่งพื้นที่ป่าเป็น 14 กลุ่ม เพื่อจัดการง่ายขึ้น
- ตั้งศูนย์ดับไฟป่า และฝึกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
- ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเรียนรู้ และได้ส่งผู้ชำนาญการของเราไปฝึกสอนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
- ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่แนวหน้า
และเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 รัฐบาลได้ อนุมัติงบ 620 ล้านบาท (ซึ่งจะใช้ได้ตั้งแต่ 1 ก.พ.) เพื่อป้องกันไฟป่า ก.ทรัพยากรฯ จะนำงบกลางส่วนนี้มาจัดสรรเพื่อป้องกันและลด PM2.5 อย่างเป็นระบบ เช่น
- การทำ MOU กับผู้นำท้องถิ่น รณรงค์ไม่เผาในที่โล่ง
- สร้างอาสาสมัครช่วยดับไฟป่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน โดยมีค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท ซึ่งเป็นพี่น้องในพื้นที่ ที่จะเข้ามาร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
- รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกร ลดการเผา และดำเนินคดีเด็ดขาดกับผู้เผาป่าโดยเจตนา "จับจริง" ดำเนินคดีทันที โดยก.ทรัพยากรฯ ตั้งเป้าหมายไว้ว่า เราจะลดพื้นที่เผาให้ได้ 25%
รวมทั้ง ผมได้เสนอต่อท่านนายกรัฐมนตรีว่า รัฐบาลควรตั้งงบประมาณนี้ เป็นงบประจำ (ไม่ใช่งบพิเศษรายปี) เพื่อให้หน่วยงานดำเนินงานได้รวดเร็ว และต่อเนื่อง จะสามารถรับเตรียมแผนรับมือได้อย่างทันท่วงที เหมือนอย่างปีนี้ ที่เราสามารถรับมือได้ก่อนเมื่อ67 ถึง 1เดือน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนและประชาชน เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปความยั่งยืน ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาระยะสั้น
#จริงจังทุกหน้าที่ #เต็มที่ทุกบทบาท
.
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
- หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
.
ตอบกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการรับมือปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรและหมอกควันข้ามแดนเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ของ สภาชิกวุฒิสภา ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 26 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ณ ห้องประชุมวุฒิสภา
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย