Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right Style by Bom+
•
ติดตาม
1 เม.ย. เวลา 17:34 • การเมือง
“สงครามยูเครน” เทียบกับ “สงครามเกาหลี”
“ทรัมป์” ควรคิดแบบเดียวกับ “ไอเซนฮาวร์”
การเดินนโยบายต่างประเทศที่สมดุลและถูกจังหวะจำเป็นต่อการสร้างสันติภาพในระยะยาว
ขณะที่ทรัมป์กำลังดิ้นรนเพื่อทำตามสัญญาตอนหาเสียงเพื่อยุติสงครามในยูเครให้ได้เร็วๆ เขากับทีมบริหารควรทบทวนสิ่งที่อดีตประธานาธิบดีอเมริกันคนหนึ่งทำเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกันเมื่อ 7 ทศวรรษก่อน
ในแคมเปญหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 1952 “ดไวต์ ไอเซนฮาวร์” ได้ให้คำมั่นว่าจะยุติสงครามนองเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 3 ล้านคนบนคาบสมุทรเกาหลี ในช่วงหกเดือนหลังจากเข้ามารับตำแหน่ง เขาทำสำเร็จจริงๆ... หากทรัมป์หวังที่จะทำลายสถิติของไอเซนฮาวร์ เขาเหลือเวลาอีกประมาณ 120 วันเท่านั้น
เครดิตภาพ: History’s Shadow
เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ในสมัยนั้น ก็ยากที่จะไม่ได้ยินเสียงสะท้อนของสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปูตินสั่งบุกยูเครนเมื่อกุมภาพันธ์ 2022 กองกำลังรัสเซียได้เปิดฉากโจมตี โดยรุกคืบอย่างรวดเร็ว ก่อนจะหยุดชะงักอยู่ที่ชานเมืองเคียฟ เมืองหลวง จากนั้นทหารยูเครนพร้อมอาวุธและกระสุนจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ผลักดันรัสเซียกลับไปอย่างไม่คาดคิด เพื่อยึดคืนพื้นที่ที่รัสเซียยึดครองไว้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งในการรุกครั้งแรก
ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาแปดเดือนนับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่ม กองทัพข้าศึกพบว่าพวกเขาติดอยู่ในแนวปะทะที่ไม่ได้ขยับไปไหนได้มากตั้งแต่นั้นมา นักวิเคราะห์การทหารชาวอเมริกันเรียกว่า “การรุกคืบทีละหน่อย” ของรัสเซีย ซึ่งเข้ายึดดินแดนยูเครนในอัตราประมาณ 100 ตารางไมล์ต่อเดือนในดอนบาส
4
ในช่วงสงครามเกาหลี เมื่อการเจรจาสันติภาพก็ถูกลากยาวออกไปเช่นกัน การปะทะดุเดือดเพื่อรออีกหนึ่งปีและเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินต่อไปเช่นกัน ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต แอดไล สตีเวนสัน สนับสนุนจุดยืนของทรูแมนเกี่ยวกับเกาหลีเป็นหลัก ส่วนไอเซนฮาวร์จากพรรครีพับลิกันได้ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญในช่วงหาเสียง เขาให้คำมั่นว่าจะใช้ความสามารถและอำนาจของเขาในฐานะผู้บัญชาการทหารเพื่อยุติสงครามโดยเร็ว
5
เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ทันทีที่การเลือกตั้งสิ้นสุดลงและเขาได้รับเลือก ไอเซนฮาวร์บินไปเกาหลี เพื่อพูดคุยโดยตรงและตรงไปตรงมากับผู้นำเกาหลีใต้ ประธานาธิบดี Syngman Rhee และผู้บัญชาการทหารของเขา ในเวลาเดียวกัน ไอเซนฮาวร์ยังใช้แรงกดดันเพื่อให้เกาหลีเหนือและจีนยินยอมและอ่อนข้อให้
3
ในที่สุดเมื่อตระหนักว่าเป้าหมายของเขาไม่ใช่แค่การยุติสงครามเท่านั้น แต่คือการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืน ไอเซนฮาวร์จึงร่าง “สนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้” ซึ่งรวมถึงการส่งกองกำลังสหรัฐอเมริกาไปยังกองบัญชาการร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ต่อไป
3
เครดิตภาพ: Center for East Asian Studies
เห็นว่าเหตุการณ์สงครามในสองยุคสมัยนี้มีความคล้ายคลึงกัน… เป็นสิ่งที่ให้ข้อคิด POTUS คนที่มารับช่วงต่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สร้างสันติภาพ เข้ามาโดยไม่อยากต้องมาแบกรับมรดกสงครามจากคนก่อน ด้วยเหตุนี้จึงหันขวับเปลี่ยนแปลงทิศทางแบบ 180 องศา
1
แน่นอนว่าย่อมถูกใจนักวิจารณ์ฝ่ายขวา แสดงถึงความยืดหยุ่นมากขึ้นในการประนีประนอมโดยไม่ถูกกล่าวหาว่าอ่อนแอต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำตามสัญญาในช่วงหาเสียงที่จะยุติสงครามเป็นข้อความสำคัญส่งถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันที่เบื่อหน่ายกับสงครามและไม่สนใจรายละเอียดมากนัก
2
กุญแจสำคัญในการทำให้ “ไอเซนฮาวร์” สามารถทำตามสัญญาได้สำเร็จนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทรัมป์เช่นกัน ไอเซนฮาวร์เด่นเรื่องการพยายามอย่างตรงไปตรงมาและมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อปิดดีล
2
หากทรัมป์สามารถทำตามไอเซนฮาวร์ได้ และใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อบรรลุข้อตกลงที่ทั้ง “เซเลนสกี” และ”ปูติน” ต่างก็ไม่ถูกใจทั้งคู่ แต่มันจะช่วยยุติทำให้เกิดการหยุดยิง ป้องกันการปะทุของสงครามอีกครั้ง และทำให้ชาวยูเครนสามารถเริ่มสร้างประเทศของตนขึ้นมาใหม่ได้ เขาก็จะอ้างได้ว่าเขาได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพแห่งศตวรรษแล้ว
1
เครดิตภาพ: RTE
ฝ่ายบริหารของทรัมป์จำเป็นต้องมี “ยุทธศาสตร์” ชัดเจนที่บูรณาการอนาคตด้านความมั่นคงของยูเครนเข้ากับอนาคตด้านความมั่นคงของยุโรป และทั้งสองอย่างจะต้องอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียโดยตรง แทนที่จะมองว่าการหยุดยิง 30 วันเป็นประตูสู่ความพยายามทางการทูตฝ่ายเดียวของสหรัฐฯ ที่จะวางแผนสันติภาพ ควรมองว่าการหยุดยิงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นและรักษาการเจรจาหลายระดับเพื่อรับมือกับความท้าทายที่ซับซ้อนนี้
กระบวนการทั้งหมดต้องอาศัยการประสานงานระหว่าง “สหรัฐ-ยุโรป” ทั้งสองฝ่ายจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าควรผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรใดบ้างเพื่อเริ่มกระบวนการดังกล่าว และหากกระบวนการดังกล่าวเริ่มขึ้น จะต้องใช้วิธีใดต่อไปเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการดังกล่าว ไม่ใช่เจรจากับรัสเซียฝ่ายเดียว ไม่เอายุโรปเข้ามาเอี่ยวด้วย มันจะไม่มีวันจบ
4
หากทรัมป์ไม่คิดที่จะละทิ้งความกังวลด้านความมั่นคงหลักที่สหรัฐฯ มีมายาวนาน และหาเหตุผลร่วมกับปูติน การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ก็ถือเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงสองด้าน นั่นคือ
2
●
ด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับการกลับไปจัดการด้าน “ข้อตกลงหรือพวกหลักนิยมทางนิวเคลียร์” ที่ซับซ้อนและอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีความซับซ้อนจากมิติใหม่ของจีน
●
อีกด้านหนึ่งของความท้าทายด้านความมั่นคงก็คือ “อนาคตของความมั่นคงในยุโรป”
ทีมทรัมป์อาจคิดถูกที่ว่าการยุติสงครามในยูเครนจะต้องทำในกรอบความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียที่ต้องมีการพัฒนาไปในทางบวก อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องจัดการกับมิติของยุโรปที่ความสัมพันธ์กำลังไปในทางลบด้วยเช่นกัน
เครดิตภาพ: Euronews / AP
ประวัติศาสตร์ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ “นาโตไม่มีทางถอยร่นอาณาเขต” ในทางกลับกันเป็นเพราะสงครามที่เกิดในยูเครนทำให้สวีเดนและฟินแลนด์จะก้าวขึ้นมาเป็นชาตินาโตที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในด้านการทหาร ในขณะเดียวกันยูเครนจะไม่ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมนาโต และชาวยูเครนก็รู้เรื่องนี้ดี ความเป็นจริงสองประการนี้ควรใช้เป็นกรอบบริบทเพื่อหล่อหลอมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียครั้งใหม่
สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในชั่วข้ามคืน องค์ประกอบบางอย่าง เช่น การเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศของยูเครน การเสริมสร้างนาโตที่นำโดยยุโรป การประสานนโยบายคว่ำบาตรให้สอดคล้องกัน และการจัดทำกรอบการเจรจาอาวุธนิวเคลียร์ ควรดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ และจริงจัง
ขั้นตอนที่มุ่งไปสู่เป้าหมายระยะยาวที่ใหญ่กว่า เช่น การเจรจาแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงของยุโรป การเจรจาจำกัดกองกำลังนิวเคลียร์ของ สหรัฐ-รัสเซีย-จีน และการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซียอย่างช้าๆ
การผนวกองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้เข้าด้วยกันในลักษณะที่สมดุลอาจเกินกำลังทางการทูตของสหรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ทว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวแค่ไหนมันก็ขึ้นอยู่กับความพยายาม
1
เครดิตภาพ: World Scientific Publishing
เรียบเรียงโดย Right Style
2nd Apr 2025
■
อ้างอิง:
https://nationalinterest.org/blog/politics/to-end-the-ukraine-war-trump-should-think-like-ike
https://nationalinterest.org/blog/politics/to-save-ukraine-trump-needs-to-think-bigger
https://nationalinterest.org/blog/politics/why-ukrainians-wont-give-up
<เครดิตภาพปก: (บน) Russia.Post (ล่าง) Rubryka>
สหรัฐอเมริกา
russia
ยูเครนรัสเซีย
1 บันทึก
29
6
9
1
29
6
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย