เมื่อวาน เวลา 06:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เมื่อสอบถามความนิยมการบริโภคเนื้อสุนัข ระหว่าง Chat GPT กับ Deep Seek !!!

“พวกเขากินสุนัข คนที่เข้ามา พวกเขากำลังกินแมว (They’re eating the dogs, the people that came in, they’re eating cats)” โดนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump) ได้กล่าวประโยคนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2025 ขณะที่กำลังดีเบต (Debate) เพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแข่งกับ กมลา เทวี แฮร์ริส (Kamala Devi Harris) ในสมัยที่ 47 ทรัมป์ได้กล่าวถึงผู้อพยพชาวเฮติ (Haitian immigrants) ในสปริงฟิลด์ รัฐโอไฮโอ ช่วงสี่ปีที่ผ่านมาชาวเฮติกว่า 15,000 คน ได้ตั้งถิ่นฐาน
แม้ว่าข้อกล่าวอ้างการกินสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริง แต่ก็ได้รับการกระจายไปทางโซเชี่ยลมีเดียอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้างมากขึ้น (Internet rumor) การที่คนอเมริกันผิวขาววางตำแหน่งตัวเองให้เหนือกว่าทั้งทางวัฒนธรรมและศีลธรรม เป็นกลวิธีการปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังและความกลัวแก่ผู้ย้ายถิ่นฐานโดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการรณรงค์แคมเปญ America First หรือ การให้ความสำคัญกับอเมริกาเป็นอันดับแรก มีส่วนทำให้ อดีตประธานาธิบดีทรัมป์จากพรรครีพลับรีกันได้รับชัยชนะ ด้วยคะแนนเสียง Popular vote 51% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ทรัมป์ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีอเมริกาได้อีกในครั้งที่ 2 เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวสหรัฐฯมีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมาย โดยปรากฏว่ามีจำนวนมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ข้อมูลจากสมาคม Humane Society International ชี้ว่า ประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสุนัขมากที่สุด ได้แก่ (1) ประเทศจีน มี (2) ประเทศเกาหลีเหนือ (3) ประเทศเวียดนาม (4) ประเทศเกาหลีใต้ (5) อินโดนีเซีย
ประเทศจีนเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มประชากรหลายชาติพันธุ์ ประชากรมีจำนวนมาก และทำสงครามกันภายในอย่างต่อเนื่องยาวนาน เกิดความขาดแคลนอาหาร การบริโภคเนื้อสุนัขจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารตามประเพณี พิธีกรรม ของประชากรบางชาติพันธุ์ แม้ว่าแนวคิดของลัทธิเต๋า ชาวทิเบตที่นับถือศาสนาพุทธ ความเชื่อของชาวแมนจู ชาวมองโกล จะค่อนข้างไม่สนับสนุนให้กินเนื้อสุนัขก็ตาม ปัจจุบันประเทศจีนยังไม่มีกฎหมายห้ามการบริโภคหรือการค้าเนื้อสุนัข การบริโภคเนื้อสุนัขในประเทศจีนยังคงเกิดขึ้นต่อไป
ซึ่งขัดกับความเชื่อของชาวตะวันตกมีตำนานเรื่องราวของสองพี่น้องฝาแฝดโรมูลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) ราว 753 ปีก่อนคริสตกาล เล่าสืบกันมาว่าทั้งสองสร้างกรุงโรมขึ้นบนพื้นที่ที่ทั้งคู่ได้รับการช่วยเหลือโดยนางหมาป่าที่ให้ทารกแฝดกินนมจนรอดชีวิต ต่อมาโรมุลุสได้เป็นกษัตริย์องค์แรกของโรม ชาวโรมันใช้งานสุนัขเพื่อเฝ้ายาม ล่าสัตว์ แม้กระทั่งสู้รบ ชาวตะวันตกจึงวางฐานะของสุนัขไว้ในบทบาทของการนำสุนัขมาผสมพันธุ์เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ
สำหรับชาวสยามแล้ว ได้รับความเชื่อ “พุทธศาสนา” จากวรรณคดีเรื่องแรกของไทย คือ ไตรภูมิพระร่วง แต่งโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ในสมัยสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1888 มีเนื้อหาเกี่ยวกับคติความเชื่อของพุทธศาสนา เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ เชื่อว่าการเกิดเป็นมนุษย์ หรือสัตว์ ขึ้นอยู่กับการกระทำกรรมในอดีตชาติ และการทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์ไทย คนไทยจึงมีความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด (Reincarnation) พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อ 10 อย่าง คือ เนื้อสุนัขบ้าน และเนื้อสุนัขป่า
การกินสุนัขจึงเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นบาป ชาวพุทธมักมีเมตตาต่อสุนัข มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดสำนวน “ตัดหางปล่อยวัด” ความเชื่อเรื่องการนำสุนัขไปปล่อยที่วัดของคนสมัยโบราณ เมื่อสุนัขได้ฟังธรรมจากพระ หรือเฝ้ายามอยู่ในวัดสุนัขจะกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์ได้
การแข่งขันอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับ สหภาพโซเวียต ที่มา https://www.britannica.com/story/timeline-of-the-space-race
หากย้อนกลับไปพิจารณาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐเมริกาได้เป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (United Nation) และการแข่งขันอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตมนุษย์คนแรกขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จอย่างปลอดภัย (Mission to the moon) ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศผู้คุมกฎ เป็นประเทศมหาอำนาจของโลก ส่งผลให้อิทธิพลด้านเทคโนโลยี การเมือง วัฒนธรรม สังคม วิถีชีวิต ความเชื่อแบบเสรีนิยมอเมริกันได้แพร่ขยายออกไปในวงกว้าง
ความเป็นเสรีนิยมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชากรโลกอย่างเสรี อาจเกิดผลดีในด้านเศรษฐกิจ แต่อาจนำไปสู่ผลเสียคือประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นอาจสูญเสียไป ปัญหาอาชญากรรม เกิดอาชีพไม่ปลอดภัย แย่งงานของคนในท้องถิ่น ภาระรัฐต่อสวัสดิการที่สูงขึ้น
การแบ่งขั้วของสังคมทำให้กระแสอนุรักษ์นิยมกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งจากผลการเลือกตั้งสหรัฐฯในปี ค.ศ. 2024 และจากผลการเลือกตั้งของประเทศเยอรมัน ปรากฎว่าพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมขวากลางก็ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะกระแสการต่อต้านผู้อพยพในยุโรป
การแข่งขันทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 การแข่งขันทางเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Deep seek กับ Open AI) เป็นที่น่าจับตามองว่านโยบาย America First การละเลยกิจการระดับโลกและการมุ่งเน้นเฉพาะผลประโยชน์ของชาวอเมริกันเท่านั้น อาจนำไปสู่การลดอิทธิพลของตนเองต่อประเทศอื่นๆ หรือกลายเป็น America Alone หรือ อเมริกาผู้โดดเดี่ยว และเกิดขยายอิทธิพลของสาธารณประชาชนจีนมายังประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แทน
ขณะที่โครงการเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่มีอยู่ของจีน มักเป็นโครงการที่จับต้องได้ เช่น โครงการพลังงานสะอาด โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการกำจัดทุ่นระเบิดในกัมพูชา ซึ่งมีความแตกต่างจากโครงการของสหรัฐฯ ที่เน้นโครงการด้านอุดมการณ์ สภาพภูมิอากาศ ประชาธิปไตย มนุษยธรรม LGBTQ ความหลากหลาย
สหรัฐอเมริกาอาจเลือกตัดงบประมาณช่วยเหลือต่างประเทศเพื่อนำมาช่วยเหลือประชาชนในชาติของตน มากกว่าการสร้างภาพลักษณ์เป็นผู้นำแห่งโลกเสรี นอกจากประเด็นการแข่งขันการขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงแล้ว ประเด็นความมั่นคงของชาติที่อาจถูกสั่นคลอนจากผู้อพยพ ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่เช่นเดียวกัน
เมื่อใช้ Chat GPT ตอบคำถาม ประเทศที่นิยมบริโภคเนื้อสุนัขมากที่สุด 10 อันดับ
เมื่อใช้ Deepseek ตอบคำถาม ประเทศที่นิยมบริโภคเนื้อสุนัขมากที่สุด 10 อันดับ
อ้างอิง
1. Claire Wang. (2024). ‘A very old political trope’: the racist US history behind Trump’s Haitian pet eater claim. Retrieved Feb 24, 2025, from https://www.theguardian.com/us-news/2024/sep/14/racist-history-trump-pet-eating-immigrant
2. World Population Review. (2024). Most Popular Pets by Country 2024. Retrieved Feb 24, 2025, from https://worldpopulationreview.com/country-rankings/most-popular-pets-by-country
4. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (๒๕๖๐). สิงสาราสัตว์ มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์และสัตว์ศึกษา. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. หน้า ๙๐ – ๙๑
5. กรุงเทพธุรกิจ. (๒๕๖๘). ‘อิทธิพลสหรัฐ’ อาจตายไปกับ USAID เปิดทาง ‘จีน’ ขยายอำนาจในอาเซียน. เข้าถึงเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ,จาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1166917
โฆษณา