3 เม.ย. เวลา 05:00 • ธุรกิจ

น้ำไม่ชนภูเขา: กลยุทธ์ชีวิตแบบซุนวู จากสงคราม สู่ธุรกิจ และตัวเรา

“兵之形,水之形也。水之行避高而趨下。”
“ลักษณะของการศึก เปรียบได้กับน้ำ น้ำย่อมหลีกที่สูง และไหลสู่ที่ต่ำ”
คำพูดนี้เคยฟังแล้วงงไหม?
ครั้งแรกที่ผมได้ยินคำว่า “น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ” ในตำราพิชัยสงครามซุนวู
ผมก็ยังนึกไม่ออกว่า… แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการทำศึก?
มันดูไม่มีกำลัง ไม่รุนแรง ไม่เร้าใจ
แน่นอนว่าในยุคนี้ใดๆก็ล้วนถามพี่ ChatGPT ก็ตั้งถามไปประมาณว่าให้คุณช่วยอธิบายและยกภาพเปรียบเทียบให้หน่อย ChatGPT ให้มาสี่ภาพเปรียบเทียบดังนี้
ภาพเปรียบเทียบจากธรรมชาติ:
1.น้ำไม่ฝืนทิศทาง : ถ้าเจอภูเขา น้ำไม่พุ่งเข้าชน แต่วงอ้อมเลาะไปตามช่องว่าง
เช่นเดียวกับกลยุทธ์ที่ดี → ไม่ฝืนชนกับสิ่งแข็งแรงกว่า แต่ใช้วิธีลื่นไหล วนไปยังจุดที่ศัตรูตั้งตัวไม่ทัน
4
2.น้ำไหลตามแรงโน้มถ่วง (ธรรมชาติ) : เปรียบได้กับ “การเลือกกระทำสิ่งที่ง่ายและใช้พลังงานน้อยที่สุด แต่ได้ผลมากที่สุด”
พอน้ำรวมกันมากพอ มันสามารถกัดเซาะภูเขาได้
3.เปรียบได้กับ “การสะสมพลัง – พอถึงเวลาจึงปลดปล่อย” → เหมือนการเปิดตัวแคมเปญ หรือการบุกตลาดใหม่อย่างมีจังหวะ
“น้ำที่มากพอ มันไม่ต้องชนภูเขา… แต่มันไหลอ้อมไปได้”
มันไม่เปลืองแรง มันไม่ฝืนธรรมชาติ แต่มันไปถึงจุดหมาย
และบางที… มันก็พังเขาได้ทั้งลูกในระยะยาว
ด้วยคำอธิบายนี้ช่วยทำให้เข้าใจประโยคนี้ของซุนวูได้เยอะขึ้นเลย เรามักชอบไปคิดหาวิธี หรือเคล็ดลับที่มันวิเศษเลิศหรูมากเกินไป แท้จริงหลักของซุนวูให้คิดง่ายๆเข้าไว้ก่อน หลักการง่ายๆบางทีมันน่าเบื่อ ไอ้ความน่าเบื่อนั่นแหละคือความยากของคนเรา
ผมเชื่อว่าเราเห็นตัวอย่างที่ล้มเหลวหลายตัวอย่างมากมาย และคงจะเห็นด้วยว่าหนึ่งในความผิดพลาดและล้มเหลวส่วนใหญ่มาจากความผลีผลามเกินไป วิธีการไม่ง่าย กลับกลายเป็นยุ่งยากเมื่อไม่เป็นไปตามแผน
1
ความลับของ “น้ำ” ที่นักยุทธศาสตร์รู้ แต่คนทั่วไปมองข้าม
ซุนวูไม่ได้แค่พูดเรื่องสงคราม
แต่เขาพูดถึง “วิธีการเอาชนะ” โดยไม่เสียเปล่า
• น้ำไม่ชนจุดแข็ง → แต่มุ่งไปยังช่องว่าง
• น้ำไหลจากที่สูง → เพราะมันรู้ทางที่ง่ายที่สุด
• น้ำรวมพลังได้ → แล้วปลดปล่อยในจังหวะเดียว
นี่แหละ “ลักษณะของการศึก” ที่ซุนวูต้องการให้เราเข้าใจ
3
ผมเคยใช้ “กลยุทธ์น้ำ” โดยไม่รู้ตัว
ตอนที่ผมกับภรรยาช่วยกันทำธุรกิจปล่อยเช่าเรือยอร์ช
เราไม่เก่งเรื่องการตลาดเลย และต้องพึ่งเอเจนต์ตลอด (กำไรก็หายไป)
แต่พอเรารู้ว่า “เราถนัดภาษาจีน”
เราก็เริ่มใช้ WeChat เขย่าย่านที่คนจีนเยอะๆ แล้วตั้งชื่อโปรไฟล์ให้ดูรู้เลยว่าถ้าต้องการท่องเที่ยวเรือยอร์ชติดต่อเราได้
ผลลัพธ์คือ…
เราขายตรงถึงนักท่องเที่ยวจีนโดยไม่ผ่านเอเจนต์ ได้มากขึ้น
เราไม่ต้องชนภูเขา แต่เราไหล “เข้าช่องว่าง” ที่คนอื่นมองข้าม
ชัยชนะในธุรกิจ คือการรู้ว่าอะไรคือ “ที่สูง” และ “ที่ต่ำ”
• “ที่สูง” คือสิ่งที่คู่แข่งเก่งกว่าเรามาก → อย่าไปชน
• “ที่ต่ำ” คือ Pain Point, ช่องว่างในตลาด → จงไหลเข้าไป
• “น้ำ” ไม่อวดเก่ง แต่มันไปถึงเสมอ ถ้าทางนั้น “เปิด”
เหมือนที่ผมเคยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
ที่เราคิดว่าเรื่องใหญ่โต แต่พอใช้กลยุทธ์ง่าย ๆ แค่ “คุย” สถานการณ์ก็คลี่คลาย
ทางออกบางทีไม่ได้อยู่ที่การชน
แต่อยู่ที่การ “ไหลอ้อมอย่างฉลาด”
กลยุทธ์น้ำของซุนวูสอนอะไรเราบ้างวันนี้? เริ่มจาก…
1. เข้าใจธรรมชาติของตัวเอง → จุดแข็ง จุดอ่อน เราไหลแบบไหนได้
2. ไม่เปรียบเทียบโดยไม่จำเป็น → เพราะน้ำไม่ต้องไหลให้เหมือนน้ำอื่น
3. เมื่อถึงจังหวะ… น้ำไม่รอ → ชัยชนะบางครั้งมาจาก “การไหลทันเวลา”
อีกภาพเปรียบเทียบจากน้ำ ที่น่าจดจำ:
“น้ำเมื่ออยู่ในแก้ว ก็เป็นรูปแก้ว เมื่ออยู่ในแม่น้ำก็เป็นรูปแม่น้ำ”
→ แปลว่า: ผู้นำที่ดีต้อง “ปรับตัวตามสถานการณ์” เหมือนน้ำ
→ เหมาะมากในโลกธุรกิจที่ทุกอย่างเปลี่ยนเร็ว (เทคโนโลยี, เทรนด์ผู้บริโภค, สถานการณ์โลก)
1
ถ้าคุณกำลังท้ออยู่… ซุนวูอาจไม่บอกให้คุณฮึดสู้
แต่เขาจะบอกให้คุณ “ไหลไปทางที่ควรไหล”
อย่าชนอีกเลย
ขอให้คุณไหลอย่างชาญฉลาด
ลองหาหนังสือเล่มดี ๆ อ่านดู
โฆษณา