Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 เม.ย. เวลา 04:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Reciprocal Tariff
🇺🇸 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเมื่อวันพุธ (2 เม.ย.) ประกาศใช้ทั้งมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) และมาตรการภาษีศุลกากรพื้นฐาน (Universal Tarriff)
โดยจะมีการเรียกเก็บภาษีศุลกากรพื้นฐานในอัตรา 10% จากทุกประเทศ และจะเก็บภาษีตอบโต้เพิ่มเติมกับบางประเทศ ซึ่งรวมถึงจีนที่ถูกเรียกเก็บ 34% (รวมของเดิม 20% เป็น 54%), อินเดีย 26%, เกาหลีใต้ 25%, ญี่ปุ่น 24% และสหภาพยุโรป (EU) 20% รวมถึงประเทศในอาเซียนอย่าง เวียดนาม 46%, ไทย 36%, อินโดนีเซีย 32%, มาเลเซีย 24%, ฟิลิปปินส์ 17% และ สิงคโปร์ 10% ทั้งนี้ Universal Tarriff จะมีผลบังคับใช้ในวันเสาร์ที่ 5 เม.ย. นี้
ขณะที่ภาษีศุลกากรตอบโต้ซึ่งมุ่งเป้าไปที่คู่ค้าของสหรัฐฯ ประมาณ 60 ประเทศนั้น จะมีผลบังคับใช้ในวันพุธที่ 9 เม.ย.
การขึ้นภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อสหรัฐฯ และต่อประเทศอื่นๆ ด้วย ในส่วนของสหรัฐฯ ราคาสินค้านำเข้า (เมื่อรวมภาษี) ที่สูงขึ้นส่งผลต่อเงินเฟ้อให้เร่งตัวขึ้น และกระทบต่อผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศ ซึ่งอาจมีการหันไปใช้สินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น (Substitution) แต่ผลโดยรวม (Net effect) จะเป็นลบต่อการบริโภคและเศรษฐกิจเสียมากกว่า ในส่วนของประเทศอื่นๆ จะกระทบผ่านการการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอลง แต่ก็อาจส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าได้ช่วยชดเชยผลกระทบจาก Tariff ได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประมาณ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2024 คิดเป็น 18.29% ของการส่งออกทั้งหมด และคิดเป็น 10.4% ของ GDP แต่ประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อยู่ประมาณ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 6.6% ของ GDP
ประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่อง คือ
1.
การบังคับใช้ภาษีที่ประกาศในครั้งนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ปธน. ทรัมป์ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาตรการต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง
2.
ท่าทีของรัฐบาลนานาประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศใหญ่ๆ เช่น กลุ่มประเทศ EU จีน หรือ อื่นๆ ซึ่งรวมถึงรัฐบาลไทยด้วย ว่าจะมีท่าทีที่แข็งกร้าวด้วยการขึ้นภาษีตอบโต้สหรัฐฯ หรือจะเข้าสู่โต๊ะเจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน หรือจะนิ่งเฉยอย่างมีกลยุทธ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
3.
แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ การขึ้น Tariff ซึ่งเป็นมาตรการที่สร้างผลเสียให้กับทุกฝ่าย (lose-lose)
ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำลง จึงอาจจะมีการลดดอกเบี้ยมากขึ้น หรือเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้เดิม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองในช่วงถัดไป
การตอบรับของตลาดหลังมีการประกาศภาษีต่างๆ เหล่านี้ค่อนข้างรุนแรงในช่วงแรก Dow Jones Futures ลดลงประมาณ 1,000 จุด (-2.5%), S&P500 Future -3.6%, Nasdaq Futures -4.5% แต่หลังจากนั้นก็ทยอยลดช่วงลบลง ขณะที่ตลาดหุ้นในเอเซียเปิดตลาดมาปิดลบเกือบทั้งหมด โดย Nikkei225 ติดลบแรงสุดที่ -2.86%, ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ KOSPI -1.08%, ตลาดหุ้นฮ่องกง Hang Seng -1.12% ขณะที่ดัชนีหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง CSI300 ติดลบไม่มาก เพียง -0.11% เท่านั้น (ณ วันที่ 3 เม.ย. เวลาประมาณ 9.00 น.)
นักลงทุนยังคงรอคอยความคืบหน้าในประเด็นที่ต้องติดตามที่กล่าวข้างต้น อีกทั้ง ตลาดก็ได้ “รับข่าว” การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ มาอย่างต่อเนื่องในระดับหนึ่งแล้ว ล่าสุดนาย Bessent รมว.คลัง สหรัฐฯ ออกมาเตือนประเทศอื่นๆ ว่าไม่ควรมีมาตรการตอบโต้ พร้อมทั้งกล่าวว่า “หากไม่มีการตอบโต้ นี่อาจเป็นจุดสูงสุดของสถานการณ์แล้ว” เราประเมินตลาดมีความผันผวนมากขึ้นในระยะสั้นจากแรงกระเพื่อมรอบใหม่นี้ แต่ก็มีมุมมองในเชิงบวกต่อความชัดเจนที่มากขึ้นของ Reciprocal Tariffs ว่าจะเก็บกับประเทศใดบ้างและในอัตราเท่าใด
ดร.สมชัย อมรธรรม
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.กรุงไทย
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย