3 เม.ย. เวลา 04:56 • ความคิดเห็น
1. เราขอเถียงหัวชนฝาข้างบ้านแฟนเก่า! คำว่าเหตุผล โดยตัวของมัน ไม่ใช่การปรุงแต่ง คำว่า "ปรุงแต่ง" ราชบัณฑิตไม่ได้บรรจุไว้ให้เป็นคำในภาษาไทยด้วยซ้ำ มีคำว่า "ปรุง" เท่านั้น ซึ่งให้ความหมายว่า ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน จะเห็นได้ว่าผู้คนในสังคมมักสร้างและยอมรับที่จะใช้วลี/ประโยคนี้ร่วมกัน รู้และเข้าใจแค่คนในสังคม ประดิษฐ์เพื่อให้เกิดความสละสลวย เราสันนิษฐานว่า คนในสมัยก่อนชื่นชอบโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ทำให้เกิดการประสมคำขึ้นมาอีกมาก ยิ่งใช้ศัพท์แสงยิ่งดูมีวรรณะเหนือชาวบ้าน อะไรทำนองนั้น!
คำว่าการปรุงแต่ง ในภาษาอังกฤษ มักจะใช้ว่า Dress up แต่คำนี้ใช้ได้ ทั้งหมายถึงแต่งสวย แต่งหล่อจัดเต็ม การปรุงแต่ง ไปจนถึง ปรุงแต่งอาหาร ในขณะที่คำว่า "เหตุผล" สำนักราชบัณฑิต จะมีบรรจุและให้ความหมายคำนี้ไว้ นอกจากนี้ในภาษาอังกฤษ จะมีคำที่เฉพาะเจาะจง เข้าใจตรงกันทั่วโลก คือคำว่า "Reason"
2. หากจะกล่าวตรงไปตรงมา แรกเริ่มเดิมทีมนุษย์มีเพียงความเชื่อ (Belief) จากนั้นโลกก็เกิดบุคคลที่เห็นต่าง และพยายามที่จะเสนอ "ความเห็น" ของตน แต่ความเห็นจะถูกต้องหรือไม่ บุคคลเหล่านั้น ก็จะต้องเสนอกระบวนการในการค้นคว้าทดลอง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ จนเมื่อผู้คนยอมรับในกระบวนการค้นคว้าทดลอง บุคคลเหล่านั้น ก็จะต้องดำเนินการตามกระบวนการและแสดงผลให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนก็เท่านั้นเอง และหากเราไม่ยอมรับเราก็ไม่ผิด แต่คนทั้งโลกต้องเห็นพ้องที่จะฉีกตำราวิทย์ทิ้งให้หมด 555
3. ในภาษาอังกฤษ มีคำว่า Informaition, Knowledge, Skill เมื่อคุณรู้อะไรบางอย่างมา ได้ยินมากับหู เห็นมากับตา เรียกว่า Information แต่สิ่งที่คุณได้ยินมากับหู เห็นมากับตา คุณจำเป็นต้องมี Knowledge เป็นเกราะป้องกันตัว เพื่อให้คุณรู้ว่าจะมันเขื่อถือได้หรือไม่ จะใช้ประโยชน์ หรือจะได้อะไรจาก Information เหล่านั้น นอกจากนี้ หากคุณได้ลงมือฝึกฝน ทั้งทางด้านการใช้ตรรกะความคิด และการทดลองปฏิบัติ คุณก็จะเกิด Skill นั่นเอง
4. ถ้าพูดกันด้วยภาษาคนพุทธฯ ก็ต้องไม่ลืมว่า มนุษย์รับสัมผัสผ่านอายตนะ ภายนอกและภายใน เพื่อให้เกิดการรับรู้ หรือรู้สึกกับ Information และถ้าพูดด้วยภาษาคนวิทย์ ก็ต้องไม่ลืมว่า มนุษย์รับสัมผัสผ่านกลไลระบบประสาทและสมอง เพียงแต่ภาษาคนวิทย์ จะไม่ค่อยได้พูดถึง "จิต" เหมือนในศาสนาพุทธ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีนายแพทย์ ซึ่งอยู่ในสายของคนวิทย์สนใจศึกษา จนกลายเป็นทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ เพราะยังไม่มีผู้ใดมาหักล้างทฤษฎีของเขาได้ เขาคนนี้ก็คือ Sigmund Freud เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และจิตวิทยาความฝันนั่นไงคะ
5. ต่อมาเราก็ต้องเข้าใจอีกว่า คำศัพท์วิทย์ในภาษาไทย มีคำว่ากฎ และทฤษฎี ซึ่งคนไทยเรา แปล 2 คำนี้มาจากคำว่า "Law" และ "Theory" สังเกตง่ายๆว่า เราใช้คำว่า "ทฤษฎีของ Sigmund Freud" เราจะไม่ใช้คำว่า "กฎของ Sigmund Freud" เพื่อแยกแยะให้เห็นว่า ทฤษฎีนั้นต่างจากกฎ อย่างเรื่อง Big Bang เราก็ยอมรับให้เป็นทฤษฎี ไม่ใช่กฎ เพราะทฤษฎีดังกล่าว เพียงต้องการอธิบายเรื่องจุดเริ่มต้นจักรวาล "ให้แคบลง" ก็เท่านั้นเอง
Theories are not guesses.
ทฤษฎีไม่ใช่การเดาสุ่ม
The phrase "just a theory" has no room in science.
ดังนั้นการพูดวา "เป็นเพียงทฤษฎี" ไม่มีในวิทยาศาสตร์
To be a scientific theory carries a lot of weight;
จะเป็นวิทยาศาสตร์จะต้องประกอบด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอ
it is not just one person's idea about something
มันจึงไม่ใช่แค่เพียงความคิด ความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
LiveScience
โฆษณา