3 เม.ย. เวลา 07:07 • สัตว์เลี้ยง

รู้หรือไม่? สุนัขก็มีลำดับความต้องการทางกายภาพและจิตวิทยา (Hierarchy of Dog Needs) เหมือนนุดเช่นกัน

🐶เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักพีระมิดสามเหลี่ยม แนวคิดเชิงจิตวิทยาที่เสนอทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ที่ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยา อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 ในงานเขียนชื่อ A Theory of Human Motivation และในหนังสือชื่อ Motivation and Personality เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่เสนอมนุษย์จะถูกกระตุ้นให้เติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานในลำดับต้นก่อนที่จะมีพัฒนาความต้องการนี้ออกไปจากด้านล่างสู่ด้านบน ซึ่งคือความต้องการด้านต่างๆ ระบุว่า
ความต้องการมีบทบาทสําคัญในการกระตุ้นให้บุคคลผู้หนึ่งประพฤติตนใน
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ยิ่งความต้องการอยู่ในขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะอยู่ขั้นล่างสุดของปีรามิด และเมื่อมีความ
ซับซ้อนขึ้นก็จะอยู่ในขั้นที่สูงขึ้นไปของปีรามิด ความต้องการที่อยู่ในระดับล่างของปีรามิดนั้น มีลักษณะเป็นความ
ต้องการทางกายภาพในขณะที่ความต้องการที่อยู่ในระดับบนของปีรามิดมีแนวโน้มเป็นความต้องการทางจิตวิทยา
และสังคมมากขึ้น เพื่อที่จะเคลื่อนลําดับขั้นปิรามิดขึ้นไปแต่ละขั้นจะต้องสําเร็จลุล่วงจากล่างขึ้นบน
ภาพโดย Plateresca / Getty Images
เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้้นฐานล่างสุดของพีระมิดกายภาพ (Physiological), ความปลอดภัย ความมั่นคง (Safety, Security), ความรัก หรือการเป็นเจ้าของ (Love, Sense of Belongings), ความเคารพ (Esteem) และการบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization)
ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมาแต่บุคคลนั้น ๆ จะรู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่าหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้
🐕สุนัขนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดมนุษย์ที่สุด จากความสามารถของพวกเขาแล้ว พวกเขาเข้ามาเติมเต็มมนุษย์ได้ การเลี้ยงสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เมื่อมนุษย์ได้เลี้ยงดูสุนัข พบว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์ เป็นมิตร อดทน ถ่อมตัว บางครั้งพวกเขามีความรู้สึกรับรู้ถึงจิตใจของมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง
นักจิตวิทยา ชื่อ ลินดา มิเชลล์(Linda Michaels) ได้คิดค้นทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของสุนัข (The Hierarchy of Dog Needs)โดยใช้การประยุกต์จาก ลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
🦮ลินดา มิเชลล์ปรับเปลี่ยนลําดับชั้นความต้องการของมนุษย์ให้เข้ากับความต้องการของสุนัข ความต้องการของสุนัขมีการระบุไว้ตามลําดับชั้นเพื่อความสะดวกในการทําความเข้าใจ โดยอันดับแรกเราจะตอบสนองความต้องการทางชีวภาพและกายภาพ (Biological and physiological needs) ความต้องการทางอารมณ์(Emotionalneeds) ความต้องการทางสังคม (Social needs)
อย่างไรก็ตาม ระดับต่างๆ จะไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกับคลื่นที่มีกระแสน้ําใต้และกระแสข้ามระหว่างแต่ละระดับ เมื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานแล้ว ต่อไปลําดับชั้นที่สูงขึ้นคือฝึกสอนแบบไร้การบังคับ (Force-free training needs) ใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่การจัดการ การปรับเปลี่ยนก่อนหน้านี้ การเสริมแรงเชิงบวกและความแตกต่าง การตอบโต้การปรับสภาพและการลดความรู้สึกไว หลักการล่วงหน้า และการเรียนรู้ทางสังคม
ลำดับขั้นของความต้องการของสุนัข สร้างสรรค์โดย Linda Michaels, MA, จิตวิทยา
ลําดับขั้นความต้องการของสุนัขมี 5 ลําดับ ดังนี้
1. ความต้องการทางชีวภาพ (Biological Needs) การตอบสนองความต้องการทางชีวภาพเป็นความต้องการขึ้นพื้นฐานของสุนัข สุนัขจะต้องพึ่งพาผู้เลี้ยงหรือเจ้าของในการจัดหาอาหาร (Proper Nutition) น้ําสะอาด (Fresh Water) อากาศที่บริสุทธิ์ (Air) อุณหภูมิที่อยู่ที่เหมาะสม (Temperature Control) สถานที่นอนหลับที่
ปลอดภัย (Indoor Shelter) การออกกําลังกาย (Sufficient Exercise) และการดูแลด้านสัตวแพทย์ (Gentle Veterinary)
ทั้งสําหรับการตรวจสุขภาพและในกรณีฉุกเฉิน ความสามารถในการจัดหาสิ่งจําเป็นทางชีวภาพของสุนัขเป็นก้าวแรกในการสร้างความผูกพันกับสุนัข เมื่อเจ้าของสุนัขจัดเตรียมอาหาร น้ําสะอาด ที่อยู่อาศัยมีการนอนหลับที่ไม่ถูกรบกวน การพาออกไปออกกําลังกาย และได้รับการดูแลทางการแพทย์ตามที่ต้องการ ในการทําสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด สุนัขจะรู้สึกปลอดภัยพอที่จะเริ่มเชื่อใจผู้เลี้ยง
2. ความต้องการทางอารมณ์(Emotional needs) ความต้องการทางอารมณ์ได้แก่ ความเชื่อใจ (Trust), ความรัก (Love) ความปลอดภัย (Security) มีความสําคัญพอๆ กับความต้องการทางกายภาพ ซึ่งหมายความว่าการสร้างความไว้วางใจและความรู้สึกปลอดภัยสําหรับสุนัขเป็นสิ่งสําคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของสุนัข ความสม่ําเสมอ
(Consistency) เป็นกุญแจสําคัญในเรื่องนี้และในทุกแง่มุมของความสัมพันธ์กับสุนัข ผู้เลี้ยงกําลังแสดงให้สุนัขเห็นผ่านการกระทําว่าสุนัขสามารถไว้วางใจผู้เลี้ยงได้
3. ความต้องการทางสังคม (Social needs) เมื่อสุนัขมีในสภาพกายภาพที่ดีและมีเข้าของที่เชื่อถือได้แล้วสุนัขจะต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยให้ออกไปสํารวจ นี่คือจุดที่ความต้องการทางสังคมของสุนัขที่สามารถตอบสนองได้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสุนัขตัวอื่นๆ (Bonding with people and dogs play) เป็นความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงที่จะต้องทําให้สุนัขพัฒนาทักษะทางสังคม และส่วนหนึ่งคือการเปิดโอกาสให้สุนัขได้เล่นอย่างเหมาะสม
4. การฝึกสอนแบบไร้การบังคับ (Force-free training needs) หากสุนัขได้รับความต้องการพื้นฐานแล้วสุนัขจะเริ่มเรียนรู้สัญญาณที่ผู้เลี้ยงต้องการเพื่อสื่อสารกับพวกมัน ทุกสิ่งที่ผู้เลี้ยงทํามาได้สอนสุนัขว่าผู้เลี้ยงสามารถไว้ใจได้
การฝึกสอนแบบไร้การบังคับได้แก่ การลดความรู้สึก (Desensitization) การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคและการวางเงื่อนไขกลับ (Classical and counter-conditioning) ความแตกต่างกันของการเสริมแรง (Differential reinforcement) การให้แรงเสริมเชิงบวก (Positive reinforcement) การปรับเปลี่ยนก่อนหน้า (Antecedent modification) และการจัดการ (Management)
5. ความต้องการทางสติปัญญา (Cognitive needs) ความต้องการด้านบนสุดของปิรามิด คือสุนัขต้องได้รับทางเลือก (Choice) โอกาสในการแก้ปัญหา (Problem Solving) และประสบการณ์ใหม่ๆ (Novelty) นอกจากการรับฟังคําสั่งขั้นพื้นฐานแล้ว ผู้เลี้ยงควรท้าทายสมองของสุนัขโดยฝึกให้เล่นของเล่นฟรีสไตล์เช่น ลูกบอล
คอง หรือเกมส์กีฬาเช่น การลากเลื่อน การชักเย่อ และอาจพาสุนัขไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ
ลําดับขั้นความต้องการของสุนัขนี้มีการใช้งานในระดับสากลโดยนักพฤติกรรมทางสัตวแพทย์ สัตวแพทย์ ครูฝึกสุนัข (รวมถึงครูฝึกสุนัขทํางานและสุนัขตํารวจ) ช่างตัดแต่งขน สถานสงเคราะห์ กู้ภัย ผู้ให้การสนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงพ่อแม่สัตว์เลี้ยง โดยขณะนี้มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส , สเปน, โปรตุเกส, จีน, เดนมาร์ก,เยอรมัน, เอสโตเนีย, เกาหลี, อารบิก และยังมีการแปลอื่นๆ ที่กําลังดําเนินการอยู่
อ้างอิง
โฆษณา