4 เม.ย. เวลา 02:37 • ข่าวรอบโลก

แม้ไม่ไหว ทำไมอังกฤษยังช่วยอูเครน

นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
ค.ศ.1609 หรือเมื่อ 416 ปีที่แล้ว มีการก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า New River Company บริษัทผ่านการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลายครั้ง
จน ค.ศ.1989 หรือเมื่อ 36 ปีที่แล้ว ได้ถูกแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจมาเป็นบริษัทเอกชน และเปลี่ยนชื่อเป็น Thames Water ถือว่าเป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ
1
หน้าที่ของเทมส์วอเตอร์คือบำบัดน้ำเสีย 4.6 พันล้านลิตรต่อวัน และจัดหาน้ำดื่มให้ประชาชนกรุงลอนดอนและพื้นที่ใกล้เคียง 16 ล้านคน 2.5 พันล้านลิตรต่อวัน
สำนักงานใหญ่ของบริษัทอยู่ที่เมืองรีดดิง มีพนักงานประมาณ 7 พันคน
บริษัทประปามหานครกรุงลอนดอนเป็นโมโนโพลี ไม่มีคู่แข่ง ถ้าบริหารดีก็ไม่มีหนี้สิน
1
แต่เพราะองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการมีไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทของอังกฤษหลายแห่งมีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประปาเทมส์วอเตอร์
ทันทีที่เกิดปัญหา หลายประเทศเข้าไปแก้ไขทันที จนปัญหาใหญ่กลายเป็นปัญหาเล็ก ปัญหาเล็กกลายเป็นไม่มีปัญหา
แต่ผู้บริหารของเทมส์วอเตอร์กวาดขยะไปไว้ใต้พรม การเป็นผู้จัดหาน้ำแต่เพียงเจ้าเดียวทำให้เทมส์วอเตอร์มองผู้รับบริการชาวอังกฤษเป็นหมูในอวย จะหกขะเมนตีลังกาบริหารยังไงก็ได้
ขยะที่อยู่ใต้พรมสะสมไว้นานๆก็เน่าเหม็น มีหนี้สะสมมากถึง 15 พันล้านปอนด์ ต้องบากหน้ามาขอความช่วยเหลือทางการเงินและขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยเอาผู้บริโภคชาวลอนดอนและผู้คนบริเวณใกล้เคียงเป็นตัวประกัน
1
สมัยก่อนตอนที่เป็นเจ้าอาณานิคม คนอังกฤษใช้ชีวิตหรูหราหมาเห่า ปล้นเอาทรัพยากรและแรงงานจากทั้งโลกมาใช้ในประเทศตัวเอง
ประเทศอื่นจะลำบากยากแค้นยังไงช่างมัน ประเทศและประชาชนของฉันต้องสุขสบายไว้ก่อน
1
ลัทธิอาณานิคมหายไป 60 ปี อังกฤษไม่มีทรัพยากรและแรงงานฟรีเหมือนเดิม ต้องพึ่งพาตัวเอง ทำงานก็มีกิน ไม่ทำงานก็อดตาย
ถึงตอนนี้อังกฤษชักจะไม่ไหว เงินเฟ้อสูง ค.ศ.2025 อาจจะพุ่งสูงถึงร้อยละ 3.8 รัฐบาลจึงต้องขึ้นภาษี
ศาลช่วยด้วยการออกคำสั่งให้เทมส์วอเตอร์กู้ฉุกเฉิน (ศาลเองก็คงกลัวไม่มีน้ำประปาใช้เหมือนกัน)
เรียนไปหลายครั้งแล้วว่า เทศบาลของอังกฤษหลายแห่งประกาศล้มละลาย ทุกวันนี้อังกฤษอยู่ได้ด้วยชื่อเสียงและเครดิตเก่าเท่านั้น
ขณะที่ประชาชนคนอังกฤษกำลังนอนผะงาบเหมือนปลาขาดออกซิเจน จำเป็นต้องขยับตัวเพื่อหาน้ำ อังกฤษกระดิกหางอย่างไร้ทิศทาง ผิวหนังเริ่มแห้ง ตาเริ่มโปนและขุ่นมัวเพราะความเครียด...
แต่รัฐบาลก็ยังทำเป็นหน้าใหญ่ใจโต ยังไปหาเงินมาให้อูเครนกู้อีก 2.26 พันล้านปอนด์ เมื่อประชาชนทักท้วง รัฐบาลก็บอกว่า อ้า นี่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
อูเครนได้สตางค์ก็เอามาจ้างโรงงานผลิตอาวุธในประเทศของเรา คนอังกฤษจะได้มีงานทำ ที่ออกมาคัดค้าน คนพวกนั้นไม่รู้ดอกว่า ประเทศอย่างพวกเราจำเป็นต้องสร้างสงครามเพื่อให้บริษัทผลิตอาวุธมีรายได้ ประชาชนก็จะมีงานทำ
อูเครนเป็นประเทศที่มีแผ่นดินขอบเขตของแท้แน่นอน ถ้าอูเครนแพ้สงคราม เราก็จับอูเครนมาเซ็นสัญญาใช้หนี้ ไม่มีสตางค์ก็ใช้เป็นแร่ธาตุหรือทรัพยากรธรรมชาติ หากชนะสงคราม เราก็ได้เข้าไปใช้ทรัพยากรธรรมชาติในรัสเซีย
การลุ้นหนุนโอบอุ้มและหลอกใช้ให้อูเครนทำสงครามไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำให้สถานะของอังกฤษตกต่ำเลย
เศรษฐกิจทั้งหลายที่ไม่ดีอยู่ในขณะนี้ จะกลายเป็นดี หากมีสงครามมากขึ้น เราก็สามารถผลิตและขายอาวุธได้
มีนาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรเสด็จออกทรงรับการเข้าเฝ้าของประธานาธิบดีอูเครน นายเซเลนสกี
นอกจากนั้น นายเซเลนสกีก็ยังเข้าพบนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ พร้อมทั้งลงนามขอรับเงินกู้ 2.26 พันล้านปอนด์
เซเลนสกีสัญญากับอังกฤษว่า จะนำทรัพย์สินของรัสเซียมาชำระคืน ถ้าอูเครนชนะก็จะยึด ยึด ยึด ทรัพย์สินรัสเซียเอามาประเคนใช้ให้อังกฤษ
นายกฯอังกฤษคงจะคิดอยู่ในใจ ว่า อ้า ถ้าอูเครนแพ้ ข้าก็จะยึด ยึด ยึด สมบัติของเอ็งเอามาใช้หนี้ให้ข้าเหมือนกัน.
โฆษณา