เมื่อวาน เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์

• รู้ไหมถ้าให้เอกภพมีอายุเท่ากับหนึ่งปี มนุษย์ปัจจุบันจะถือกำเนิด 31 ธันวาคม เวลา 23:53 น.

หลายคนน่าจะทราบว่า เอกภพของเราถือกำเนิดขึ้นมาจากสิ่งที่เรียกว่า บิกแบง (Big Bang) อันเป็นทฤษฎีการกำเนิดเอกภพที่เป็นที่แพร่หลายและถูกยอมรับมากที่สุด และจากทฤษฎีบิกแบงได้ให้คำตอบกับเราว่า ตั้งแต่จุดที่จักรวาลถือกำเนิดจนถึงปัจจุบันในวินาทีนี้ เอกภพได้มีอายุมากถึง 13,800 ล้านปี
และด้วยระยะเวลาที่ยาวนานจนอยากจะจินตนาการนี้ จึงทำให้มีการสร้างสิ่งที่เรียกว่า ปฏิทินจักรวาล หรือ Cosmic Calendar โดย Cosmic Calendar ก็คือการนำเอาระยะเวลา 13,800 ล้านปีของเอกภพ มาปรับสเกลให้เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มนุษย์อย่างเรา ๆ สามารถเข้าใจในช่วงเวลาอันแสนยาวนานนี้ได้
โดยระยะเวลาหนึ่งวินาทีของปฏิทินจะเท่ากับ 437.5 ปี ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงจะเท่ากับ 1.575 ล้านปี และระยะหนึ่งวันจะเท่ากับ 37.8 ล้านปี
และจากข้อมูลของ Cosmic Calendar ก็ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
• เอกภพและเวลาถือกำเนิด 1 มกราคม เที่ยงคืนตรง
• ดาวดวงแรกถือกำเนิด 13 มกราคม
• กาแล็คซี่แรกถือกำเนิด 16 มกราคม
• กาแล็คซี่ทางช้างเผือกถือกำเนิด 15 มีนาคม
• โลกถือกำเนิด 1 กันยายน
• สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มอุบัติขึ้นบนโลก 28 กันยายน
• การสังเคราะห์แสงถือกำเนิด 2 ตุลาคม
• ออกซิเจนกระจายในชั้นบรรยากาศโลก 26 ตุลาคม
• สิ่งมีชีวิตหลายเชลล์ถือกำเนิด 1 ธันวาคม
• สัตว์บกชนิดแรก 20 ธันวาคม
• ไดโนเสาร์ปรากฏตัวบนโลก 25-30 ธันวาคม
• มนุษย์สปีชีส์ปัจจุบัน (Homo sapiens) ถือกำเนิด 31 ธันวาคม เวลา 23.53 น.
ทั้งหมดนี้เราจะเห็นว่า ช่วงเวลาทั้งหมดของเอกภพมีความยาวนานจนยากจะจินตนาการได้จริง ๆ และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ของเอกภพได้เป็นอย่างดี
ติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Histofun Deluxe
อ้างอิง
• National Geographic. The Cosmic Calendar | Cosmos: Possible Worlds. https://www.youtube.com/watch?v=Bl-s4tqR8Bc
#HistofunDeluxe
โฆษณา