เมื่อวาน เวลา 14:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

สามเหลี่ยม​เบอร์มิวดา​ บนอวกาศ​

ไม่ใช่​ Fiction​วิทยาศาสตร์​มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง​ ▪️◾💢🌫️
เหนือพื้นโลกที่ระดับความสูงประมาณ 480 กม.
แถบประเทศบราซิล​ เป็นเขตห้ามเข้ายานอวกาศ
ดาวเทียมทึ่ผ่านเข้าไปอาจเสียหาย​ ปรากฏการณ์ที่​เรียกว่า "ความผิดปกติในแอตแลนติกใต้"
(South Atlantic Anomalyหรือ SAA) มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง และได้รับฉายาว่า​"สามเหลี่ยมเบอร์
มิวดาแห่งอวกาศ" บริเวณนี้เป็นจุดที่สนามแม่เหล็กโลกอ่อนแอ ทำให้รังสีที่มีอนุภาคประจุสูงสามารถเข้ามาใกล้โลกได้มากกว่าปกติอยู่ในรอยบุ๋มและสามารถวนเวียนอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายปี​ ก่อให้เกิดความโกลาหลต่อ
▪️ดาวเทียมมักทำงานผิดปกติเมื่อเคลื่อนผ่าน
▪️กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่สามารถเก็บ
ข้อมูลได้อย่างปกติ
▪️นักบินอวกาศบน​ ISS ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในการปฏิบัติภารกิจนอกสถานี
โปรตอนพลังงานสูงสามารถสร้างความเสียหายต่อยานอวกาศได้ หากอนุภาคกระทบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ละเอียดอ่อน อาจทำให้ข้อมูลสูญหาย อุปกรณ์ทำงานผิดพลาด หรือเสียหายถาวร นอกจากนี้ การสะสมของประจุบนพื้นผิวยานอวกาศยังอาจเป็นอันตรายต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
หน่วยงานอวกาศและบริษัทเอกชนมีมาตรการป้องกัน โดยการปิดดาวเทียมเมื่อเคลื่อนที่ผ่านบริเวณ SAA (South Atlantic Anomaly) และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศในบริเวณดังกล่าว ความผิดปกติของ SAA เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
หลุมยุบในอากาศ
▪️▪️◾🔲💢 🌫️
SAA คือบริเวณที่แถบแวนอัลเลน เป็นเกราะป้องกันรังสีรอบโลก มีความอ่อนแอลง แถบแวนอัลเลนประกอบด้วยแถบรังสีรูปโดนัท 2 ชั้น ที่เต็มไปด้วยอนุภาคพลังงานสูง
บริเวณ SAA เกิดจากความไม่สมมาตรของสนามแม่เหล็กโลก ทำให้อนุภาคพลังงานสูงเข้ามาใกล้โลกมากขึ้น โดยเฉพาะโปรตอนและอิเล็กตรอนที่สามารถเข้าใกล้พื้นผิวโลกได้ถึง 200 กิโลเมตร เป็นระดับเดียวกับวงโคจรต่ำของโลก (LEO) ที่ดาวเทียมและสถานีอวกาศนานาชาติโคจรอยู่่
แม้ SAA จะเป็นอันตรายต่อยานอวกาศ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศ หากไม่มี SAA รังสีอันตรายจะแผ่กระจายไปทั่วชั้นบรรยากาศโลก" นั่นเป็นเพราะ SAA ทำหน้าที่เป็น "อ่างรับ" อนุภาคพลังงานสูง ช่วยลดปริมาณรังสี
ในบริเวณอื่น ๆ ทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมปลอดภัยยิ่งขึ้น
ความผิดปกติ​ ▪️▪️◾🔲💢
ในการเคลื่อนที่ของ SAA​ 🌫️
SAA มีการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ทุก 5 ปี และเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ "การวิจัยจากหินงอกในถ้ำ" เพื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ แร่ธาตุก่อตัวขึ้นจากน้ำที่หยดลงมาจากด้านบนและสะสมอยู่บนพื้นถ้ำสามารถวางแผนประวัติศาสตร์ของสนามแม่เหล็กโลกได้โดยการหั่นหินงอกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้เครื่องวัดสนามแม่เหล็กวัด
เหมือนกับการดูวงปีของต้นไม้เพื่อประเมินอายุ
แสดงให้เห็นว่า SAA มีมานานถึง 11 ล้านปี และไม่ได้เริ่มต้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ แต่เริ่มต้นในแอฟริกาตะวันตก และค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกการเคลื่อนที่ของ SAA เกี่ยวข้องกับความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างแกนโลกชั้นนอกและชั้นแมนเทิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใต้ทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ แอฟริกาไม่มีแผ่นเปลือกโลกมุดตัวทำให้บริเวณขอบแกนโลก-แมนเทิลร้อน ในขณะที่อเมริกาใต้มีแผ่นนาซกา​ทำให้บริเวณขอบ
แกนโลก-แมนเทิลเย็นลง
ความแตกต่างของอุณหภูมินี้เป็นสาเหตุให้เกิด SAA และการเคลื่อนที่ บันทึกทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า SAA เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยเริ่มจากแอฟริกา และเคลื่อนตัวไปยังอเมริกาใต้ เป็นวัฏจักรที่อาจ
มีมานานนับล้านปี"
ความสำคัญ​ต่อชีวิต
▪️▪️◾🔲💢 🌫️
สนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร และบางครั้งขั้วแม่เหล็กก็สามารถสลับตำแหน่งกันได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่า
การกลับขั้วจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ พบว่าสนามแม่เหล็กกำลังอ่อนตัวลง แต่ยังไม่ถึงระดับที่น่ากังวล
แม้ความผิดปกติของสนามแม่เหล็ก เช่น SAA อาจสร้างความท้าทายต่อดาวเทียมและการสื่อสาร แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามันเชื่อมโยงกับการกลับ
ขั้วแม่เหล็กในอนาคต นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสำคัญในแกนโลกต้องเกิดขึ้นก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานนับร้อยปี
แมกนีโตสเฟียร์มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตบนโลก
ช่วยปกป้องชั้นบรรยากาศและรักษาวัฏจักรของน้ำ หากไม่มีสนามแม่เหล็ก โลกอาจสูญเสียน้ำและบรรยากาศไปในระยะยาว ในปัจจุบัน สนามแม่เหล็กยังคงทำหน้าที่ปกป้องโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ ▪️▪️◾🔲🌐
➖➖➖➖➖➖➖➖194/2025​➖➖➖➖➖
(Fram2​▪️▪️◼️🔲 ภารกิจบุกเบิก​ 🧑‍🚀🧑‍🚀 🧑‍🚀🧑‍🚀
ครั้งแรกในการสำรวจพื้นที่ขั้วโลก​ จากอวกาศ)​
เมื่อวิทยาศาสตร์​ไขปริศนา🌐🧭⛴️✈️ 🌪️
สามเหลี่ยม *เบอร์มิวดา* ปรากฎว่า▪️▪️▪️
แค่​ *หลุมอากาศ​* หรือ​ 🌫️🌫️❓❓
จะพาไปรู้จัก​ *แม่น้ำบนท้องฟ้า*
เรื่องราว​ของ​ Point​ Nemo
สุสานยานอวกาศ​ 🛰️🛰️ ▪️▪️▪️
โฆษณา