เมื่อวาน เวลา 14:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ฟ้าแลบเหนือป่าฝนอเมซอน​ 🌳🌳🌱

มุมมองจากอวกาศ บน ISS ⚡⚡
วิดีโอ 🎥 มอบมุมมองอันน่าตื่นตาตื่นใจของ
แสงแฟลชลึกลับในชั้นบรรยากาศ ช่วยเผยให้เห็นสภาพอากาศอันซับซ้อนของป่าฝนอะเมซอน
https://www.facebook.com/share/p/1BNSyrpnXe/ มุมมองที่ไม่เคยมีมาก่อนในอวกาศ
ระหว่างการสังเกตการณ์จากสถานีอวกาศนานาชาติ ดอน เพททิต วิศวกรการบินภารกิจ Expedition 72 และนักบินอวกาศของ NASA
https://www.facebook.com/share/v/1BngaVFtQF/ ได้บันทึกภาพปรากฏการณ์ฟ้าแลบในบรรยากาศชั้นบนที่น่าทึ่ง รู้จักกันในชื่อ Transient Luminous Events (TLEs)
เหนือแอ่งอเมซอน
วิดีโอนี้นำเสนอ มุมมองแนวดิ่ง จากด้านบนลงไปยังพื้นโลกเผยให้เห็นปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นสูงกว่าพายุฝนฟ้าคะนองทั่วไป ปรากฏการณ์ TLEs มีหลายรูปแบบ
⚡ สไปรท์ (Sprites) การปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ปรากฏเป็นแสงสีแดงหรือสีส้มเหนือกลุ่มเมฆพายุ โดยเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50–90 กิโลเมตร
⚡ บลูเจ็ต (Blue Jets) การปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นลำแสงสีฟ้าทรงกรวยพุ่งขึ้นจากยอดเมฆพายุ สามารถไต่ระดับขึ้นไปสูงถึง 50 กิโลเมตร
⚡ เอลฟ์ (Elves) แหวนแสงที่ขยายตัวออกอย่างรวดเร็วจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดขึ้นในระยะ
เวลาเพียงไม่กี่ไมโครวินาทีที่ระดับความสูง
ประมาณ 100 กิโลเมตร
การศึกษาปรากฏการณ์จากอวกาศช่วยให้
นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกการเกิด TLEs
รวมถึงบทบาทในระบบไฟฟ้าของชั้นบรรยากาศโลก การวิจัยยังมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจ
ผลกระทบของ TLEs ต่อสภาพอากาศ เคมีของชั้นบรรยากาศ และไอโอโนสเฟียร์
Expedition 72▪️▪️▪️
🎥 NASA's Johnson Space Center
เผยแพร่ 27 มีนาคม 2025
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
ยาน Dragon ของ SpaceX
ถ่ายภาพทิวทัศน์ขั้วโลก จากภารกิจ Fram2
แสงฟ้าผ่า "สไปรต์แดง" (Red sprites)
ที่หายากเหนือเทือกเขาหิมาลัย 🌩️⚡💢
ภาพสุดตะลึงจาก ISS บันทึกภาพฟ้าแลบขนาดยักษ์ ที่หายากคล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นในไทย ⚡⚡🌩️
แค่ *หลุมอากาศ* หรือ 🌫️🌫️❓❓
จะพาไปรู้จัก *แม่น้ำบนท้องฟ้า*
โฆษณา