เมื่อวาน เวลา 23:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การก่อเกิดเม็ดดิน ( Soil Aggregation ) และการกักเก็บน้ํา ( Water Retention )

เคยสงสัยไหมว่าทําไมดินบางแห่งร่วนซุยอุ้มน้ําเหมือนฟองน้ํา ในขณะที่อื่นน้ำแห้งเร็วหรือถูกน้ำกัดเซาะในเวลาที่ฝนตกหนัก?
คําตอบอยู่ที่การก่อเกิดเม็ดดิน - กระบวนการทางธรรมชาติที่อาศัยอินทรีย์วัตถุเปลี่ยนดินให้เป็นอ่างกักเก็บน้ํา
การก่อเกิดเม็ดดิน
การก่อเกิดเม็ดดินเกิดขึ้น เมื่ออนุภาคดินขนาดเล็กเกาะรวมเป็นกลุ่มที่แข็งแรงคงทน มีสร้างโครงสร้างรูพรุนที่กักเก็บน้ํา ขณะเดียวกันก็สามารถระบายน้ำส่วนเกินได้ดี
อินทรีย์วัตถุ ทําหน้าที่เสมือนกาวธรรมชาติ ที่ยึดเชื่อมอนุภาคดินเล็กๆเหล่านั้น เข้าด้วยกัน และเสริมสร้างโครงสร้าง ทําให้เนื้อดิน มีสุขภาพที่ดีและ ยืดหยุ่นมากขึ้น
เศษซากพืชตกค้าง ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ จะปลดปล่อยสารเหนียว (polysaccharides และ glomalin) ออกมา ช่วยสร้างการรวมตัวของอนุภาคดิน ได้อย่างดี
ได้สมดุลในระหว่าง ไมโครพอร์และแมคโครพอร์
ไมโครพอร์ ( Micropores ) รูช่องว่างขนาดเล็ก ที่กักเก็บน้ําไว้สําหรับรากพืชได้ดูดใช้
 
แมคโครพอร์ ( Macropores ) รูช่องว่างขนาดใหญ่ ซี่งข่วยระบายน้ําส่วนเกิน ป้องกันน้ําท่วมขัง
ดินร่วนซุยอุ้มน้ำ ช่วยกักเก็บความชื้นไว้ในช่วงแล้งและต้านทานการกัดเซาะในช่วงฝนตกหนัก สร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศและรักษาผลผลิตภายใต้สภาพอากาศที่รุนแรง ในดินที่รวมกันลงตัวอย่างดี
ฝนตกน้ําฝนชุ่มฉ่ำดินเก็บน้ำไว้ แทนที่จะไหลออก
รากเจริญเติบโตหยั่งได้ลึกขึ้น เข้าถึงความชื้นที่กักเก็บเอาไว้ จุลินทรีย์เจริญเติบโต ช่วยเสริมโครงสร้างดิน
ปลูกพืชคลุมดิน ใส่ปุ๋ยหมัก และ ลดการไถพรวน
คลุมดินด้วยเศษใบไม้ใบหญ้า ป้องกันการกัดเซาะและหน้าดินถูกทำลาย ใส่จุลินทรีย์และเชื้อราไมคอไรห์ซ่า ร่วมด้วยช่วยเสริมสร้างการก่อเกิดของเม็ดดิน
ดินที่ดี = กักเก็บน้ําได้ดีกว่า = พืชที่ยืดหยุ่นทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น
โฆษณา