6 เม.ย. เวลา 05:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เราจะทำ Transformation ใน Product Operating Model อย่างไรในยุค AI?

(AI กับศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลง)
ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของธุรกิจ คำศัพท์อย่าง “Product-led”, “AI-first” หรือ “Digital Transformation” ยิ่งกลายเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย แต่การใช้คำเหล่านี้อย่างพร่ำเพรื่อจนกลายเป็นกระแสอาจทำให้เกิดความสับสน
ตอนนี้หลายผู้รู้ ได้มีการเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่ดูเหมือนต้องทำทันทีท่วมท้นเข้ามา - บ้างก็เป็น consults หรือเจ้าทฤษฏีเดิมๆ นั่นแหละที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อให้ขายของ ขายคำปรึกษา หรือมีงานทำต่อ? สิ่งเหล่านี้สร้างความท้าทายให้กับองค์กรที่พยายามหาจุดสมดุล ท่ามกลางความวุ่นวายนี้ การกลับไปสู่ “หลักการพื้นฐาน” จึงเป็นทางออกที่ช่วยตัดผ่านความสับสนและนำพาองค์กรสู่ความสงบและยั่งยืน
ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทบทวนว่า “หลักการพื้นฐาน” มีความหมายอย่างไรต่อการสร้าง Product team ในองค์กร และทำความเข้าใจบริบทของ “Product Operating Model” หรือโมเดลการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ เพราะเหตุใด? AI สามารถเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง แต่หากปราศจากการควบคุม มันอาจกลายเป็นพายุที่พัดพาความไม่มั่นคงมาสู่กลยุทธ์ธุรกิจ โดยเฉพาะในด้าน Product development นั้น “AI จะช่วยเพิ่มความเร็วในการสร้างผลงาน แต่ขณะเดียวกันก็ขยายช่องว่างในกระบวนการทำงานที่มีอยู่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น?”
คำถามสำคัญคือ “ผู้นำจะหาจุดศูนย์กลางท่ามกลางพายุนี้ได้อย่างไร? พวกเขาจะควบคุมศักยภาพของ AI เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรโดยไม่ทำให้ปัญหาในกระบวนการแย่ลงได้อย่างไร?” คำตอบอยู่ที่ “Product Operating Model” ซึ่งเปรียบเสมือนรากฐานที่ช่วยให้องค์กรยืนหยัดได้อย่างมั่นคงทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงจาก AI
โมเดลการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ (Product Operating Model) คืออะไร?
“Product Operating Model” = “เป็นกรอบการทำงานเชิงกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อจัดโครงสร้าง กระบวนการ และวัฒนธรรมขององค์กรให้มุ่งเน้นการส่งมอบคุณค่าอย่างต่อเนื่องผ่านผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน แทนที่จะเป็นเพียงโครงการชั่วคราว”
โมเดลนี้เปลี่ยนจุดสนใจจาก “ผลผลิต” (Output) เช่น การส่งมอบฟีเจอร์ตามกำหนดเวลา เป็นต้น ไปสู่ “ผลลัพธ์” (Outcome) เช่น ความพึงพอใจของลูกค้าและผลกระทบต่อธุรกิจ
หลักการพื้นฐานของโมเดลนี้ประกอบด้วย คือ
* การเน้นลูกค้าและคุณค่า - แก้ปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าและธุรกิจ แทนการมุ่งส่งมอบฟีเจอร์
* ผลลัพธ์มากกว่าผลผลิต (Outcome over Output) - วัดความสำเร็จจากผลกระทบ เช่น การรักษาลูกค้า หรือการลดต้นทุน แทนการนับจำนวนฟีเจอร์ที่ส่งมอบ
* การทำงานแบบสไตล์ Agile - เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปรับตัวรวดเร็วตามข้อมูลและความต้องการของลูกค้า (แต่ไม่ใช่ยก framework ที่เป็น Agile ใดหนึ่งมาครอบงำกระบวนการทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนไว้จำนวนมาก สามารถหาบทความย้อนหลังอ่านในเพจ “วันละเรื่องสองเรื่อง” https://medium.com/@two-stories-a-day)
ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่มักมองว่าโมเดลนี้เป็นทางเลือกที่ชัดเจน “บริษัทที่ก่อตั้งมานานจำนวนมากยังคงยึดติดกับการทำงานแบบควบคุมจากบนลงล่างที่เน้นผลผลิตและโครงการเป็นหลัก”
“โมเดลแบบดั้งเดิมนี้อาจให้ภาพลวงตาของการควบคุมผ่านกำหนดการและงบประมาณที่แน่นอน แต่ในความเป็นจริง มันมักไม่สามารถส่งมอบผลลัพธ์ตามที่คาดหวังได้”
ทำไมต้องมีพื้นฐาน (Foundation ที่แข็งแกร่งก่อนใช้ AI?
การนำ AI มาใช้ในองค์กรที่ไม่มี “Product Operating Model” เป็นรากฐานอาจนำไปสู่ความวุ่นวาย เช่น กระบวนการทำงานที่ไม่เป็นระบบ การตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ AI ไม่ใช่เครื่องมือที่สร้างความมั่นคงในตัวเอง มันจะขยายสิ่งที่มีอยู่ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อน หากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังขาดประสิทธิภาพ การใช้ AI อาจเปรียบเสมือนการขับรถที่มีพลังสูงแต่พวงมาลัยเสีย ซึ่งย่อมนำไปสู่อุบัติเหตุได้
“ในทางกลับกัน องค์กรที่มี Product Operating Model ที่แข็งแกร่งจะสามารถใช้ AI เป็นตัวเร่งในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง”
ตัวอย่างจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำแสดงให้เห็นว่า การมีพื้นฐานที่มั่นคงช่วยให้พวกเขานำ AI มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ ขณะที่องค์กรที่ขาดรากฐานนี้มักเผชิญกับความล้มเหลวในการปรับตัวและแข่งขันในตลาด
หลักการพื้นฐานของ Product Operating Model
เพื่อให้เข้าใจว่าโมเดลนี้ทำงานอย่างไร นี่คือหลักการสำคัญที่องค์กรควรยึดถือ
1. เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง - ผลิตภัณฑ์ต้องตอบโจทย์ปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า
2. ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ - วัดความสำเร็จจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ปริมาณงาน
3. ทีมงานข้ามสายงานที่มีอำนาจ - รวมทีมผลิตภัณฑ์ ออกแบบ เทคโนโลยี และธุรกิจให้ทำงานร่วมกันอย่างมีอิสระและรับผิดชอบ
4. การพัฒนาแบบต่อเนื่อง - ทำงานในวงจรสั้น (Iteration and Incremental) ทดลอง และปรับปรุงตามข้อมูล
5. การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล - ใช้ตัวชี้วัดนำทางในการตัดสินใจและติดตามความก้าวหน้า
“หลักการเหล่านี้ไม่ใช่กฎตายตัว แต่สามารถปรับให้เหมาะกับบริบทของแต่ละองค์กรได้ โดยแก่นสำคัญคือการเปลี่ยนจากแนวคิดที่เน้นโครงการมาเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยลูกค้าและข้อมูล”
ควบคุมพลังของ AI ด้วยโมเดลที่มั่นคง (Sustainable Model)
AI กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเรา ไม่ว่าจะเป็นการทำให้งานบางอย่างเป็นอัตโนมัติ เร่งนวัตกรรม หรือเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้า แต่การที่องค์กรจะใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มที่นั้น ต้องเริ่มจากการวางรากฐานด้วย “Product Operating Model” ก่อน เพราะหากปราศจากพื้นฐานนี้ ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอาจกลายเป็นเพียงการปรับผิวเผินที่ไม่ยั่งยืน
โมเดลนี้ช่วยให้องค์กรพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม แก้ปัญหาที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบผลลัพธ์ที่ต้องการ ด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การมีรากฐานที่แข็งแกร่งยังสร้างความสามารถในการปรับตัว ซึ่งเปรียบเสมือน “สติขององค์กร” ที่ช่วยให้ยืนหยัดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
เส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืน?
การเดินทางสู่ “Product Operating Model” ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่ง แต่เป็นการสร้างรากฐานที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI องค์กรที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้จะไม่ใช่ผู้ที่นำ AI มาใช้ได้ล้ำหน้าที่สุด แต่เป็นผู้ที่มีพื้นฐานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งที่สุด การยึดมั่นในหลักการพื้นฐานของโมเดลนี้ไม่เพียงช่วยให้องค์กรแข่งขันได้ในปัจจุบัน แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วย
ความท้าทายและโอกาส?
ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การสร้างคุณค่าผ่านความเป็นเลิศด้านผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ นี่ไม่ใช่แค่การคิดเชิงผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนของธุรกิจในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
#วันละเรื่องสองเรื่อง
โฆษณา