Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ค
คนไม่ใช่คน
•
ติดตาม
6 เม.ย. เวลา 17:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
GE
🇺🇸
หมี ที่ราคา 166.81
ราคาปิด 4 เม.ย. 2025
กลายเป็น มหากาพย์หุ้น 5 เด้ง ภายใน 3 ปีแล้ว สำหรับ GE หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ
ย้อนแย้งกับภาพในอดีต ที่หุ้นตัวนี้เคยประสบวิบากกรรมอย่างหนักตั้งแต่ปี 2008 ลากยาวมาถึงโควิด
เพราะทำธุรกิจหลายอย่าง ตั้งแต่การเงิน พลังงาน รวมไปถึงธุรกิจสารพัด ”เครื่อง” ทั้งหลาย ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์รถไฟ เครื่องยนต์เครื่องบิน ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์
พอปี 2008 มีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ธุรกิจการเงินก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
เท่านั้นยังไม่พอปี 2015 ไปซื้อโรงไฟฟ้าฝรั่งเศส ก็ขาดทุนย่อยยับ
บริษัททนแบกขาดทุนไปเรื่อยๆ พร้อมกับการจับปลา หลายมือแบบนี้ต่อไป จนถึงปี 2018 บริษัทเริ่มทนแรงกดดันจากผู้ถือหุ้นไม่ไหว
ต้องยอมตัดขายธุรกิจหลายส่วนออกไป ทั้งการเงิน พลังงาน เครื่องยนต์รถไฟ เหลือไว้แต่ 3 ธุรกิจกำไรงาม
คือ 1. GE Aerospace ผลิต และให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เครื่องบิน (ก็คือหุ้น GE ตัวนี้ในปัจจุบันแหละ) ธุรกิจนี้ margin ดีที่สุด
2. GE Vernova ผลิต และให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น ใบพัดกังหันผลิตไฟฟ้าพลังงานลม
3. GE Healthcare ผลิตเครื่อง CT scan และเครื่อง mri รวมถึงเครื่องมือแพทย์อื่นๆ ที่ชื่อไม่คุ้นหูผมเท่าไรนัก
พอขายธุรกิจอื่นทิ้งไปหมด GE ก็ดัน 3 บริษัทนี้เข้าตลาดหุ้น แยกส่วนการบริหารธุรกิจออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
ภาษาธุรกิจ เราเรียกกลยุทธ์นี้ว่าการ “spin off” เหมือนกับที่ SCC เอาบริษัทลูกอย่าง SCGP เข้าตลาดนั้นแหละครับ
แต่ของ GE จะต่างจาก SCC ตรงที่ เขา spin off แล้วแยกขาดออกจากกันเลย GE Aerospace ไม่ได้ถือหุ้น GE Vernova และ GE Healthcare อีกต่อไป
ข้อดีของการ spin off นอกจากจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจแล้ว ยังทำให้นักลงทุนให้ valuation ในบางธุรกิจสูงขึ้นด้วย
เพราะนักลงทุนสามารถมองเห็นผลประกอบการแยกตามธุรกิจได้ชัดขึ้น และหน่วยธุรกิจดีๆ ก็ไม่ต้องทนแบกรับขาดทุนจากหน่วยธุรกิจที่ไม่ทำกำไรอีกด้วย
และในช่วงที่ spin off ธุรกิจอื่นออกไป ก็เป็นช่วงที่โลกของเราฟื้นตัวจากโควิดพอดี ฟ้าเปิดให้มีการเดินทางกันด้วยเครื่องบินอีกครั้ง
ความต้องการซื้อฝูงบินใหม่ก็กลับมา ทำให้ GE ที่ตอนนี้คือ GE Aerospace อย่างเดียวแล้ว ก็เป็นคนที่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ
กลายเป็นหุ้น 5 เด้ง นับตั้งแต่ปี 2022 - 2025
สัดส่วนรายได้ของ GE Aerospace ก็น่าสนใจไม่น้อย
รายได้ประมาณ 30% มาจากการขายเครื่องยนต์เครื่องบินเท่านั้น ส่วนอีก 70% มาจากการให้บริการหลังการขาย
การให้บริการหลังการขาย ก็คือ การให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของ GE โดยมีลูกค้าคือ สายการบินต่าง ๆ
การมีรายได้ 70% มาจากการซ่อมบำรุง แปลว่ารายได้ของ GE ค่อนข้างมีความคงที่ ไม่ผันผวนตามคำสั่งซื้อเครื่องบินมากนัก
แต่ที่ทำให้ผมตกใจที่สุดก็คือ เมื่อผมเทียบรายได้จากการขายเครื่องยนต์ กับต้นทุนขายเครื่องยนต์ดูแล้ว มันเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมากเลย
แปลว่า GE Aerospace ขายเครื่องยนต์แบบไม่เอากำไรเลย แต่ไปเก็บค่าบริการซ่อมบำรุงแทน เพราะคงรู้อยู่เต็มอกว่า เมื่อสายการบินใช้เครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ของ GE Aerospace แล้ว จะไม่สามารถไปใช้บริการซ่อมบำรุงจากบริษัทอื่นได้เลย
และจังหวะนี้แหละ คือจังหวะตีหัวเข้าบ้านของ GE ที่สามารถขึ้นราคาค่าบริการซ่อมบำรุงได้เรื่อย ๆ จนบริษัทสามารถมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 20% ได้แบบสบาย ๆ แม้จะยอมขายเครื่องยนต์แบบขาดทุนก็ตาม
ส่วน Market share ของ GE Aerospace ก็สูงมาก บริษัทเคลมว่า เครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลก 3 ใน 4 เครื่อง ใช้เครื่องยนต์ของ GE (แต่ตรงนี้ผมยังงง ๆ อยู่ เพราะทาง Roll Royce บริษัทคู่แข่ง ก็เคลม market share ที่สูงเหมือนกัน)
แล้วบริษัทนี้ไม่ได้ขายเครื่องยนต์ให้แค่เครื่องบินพาณิชย์เท่านั้นนะ เพราะรายได้ 25% มาจากลูกค้าที่เป็นกองทัพ คือขายเครื่องยนต์ให้พวกเครื่องบินรบด้วย
ที่ดัง ๆ ก็เครื่องบิน Gripen Jas 39 E/F ที่กองทัพอากาศไทยพึ่งสั่งซื้อมา ก็ใช้เครื่องยนต์ของ GE
ความขี้โกงของบริษัทนี้อีกอย่างคือ งบ R&D ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ตรงนี้ผมเดาว่าสหรัฐฯ ต้องการคุม supply chain ของอุตสาหกรรมการบินโลก
แล้วเผลอๆ บริษัทนี้อาจจะได้ประโยชน์จาก trade war ด้วยก็ได้ เพราะหลายประเทศที่ต้องการชดเชยการเกินดุลการค้าให้อเมริกา อาจจะต้องสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ หรือเครื่องบินรบจากสหรัฐฯ เหมือนที่รัฐบาลไทยกำลังวางแผนจะทำอยู่..
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย