6 เม.ย. เวลา 18:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ทำไมถึงต้องต่อระบบแบบนี้ เพราะอะไร

เพราะ N (นิวตรอน, neutral) กับ G (กราวด์, ground) ต่อถึงกัน 1 จุด (และต้องหนึ่งจุดเท่านั้นนะ อย่าไปต่อที่อื่นอีก) ก่อนเข้าเมนเบรกเกอร์
ดังนั้น
V(L-N) = 220V
V(G-N) = 0V
V(L-G) = 220V
สายกราวด์ (G) ที่จะต้องต่อไปหารูกราวด์ของเต้ารับต่างๆ และไปตัวถังของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องลงกราวด์ (เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า) ต่างๆ จะต้องต่อมาจากจุด ① ในรูป
สายไฟ G ไม่ได้มีไว้ต่อโหลดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานนะ (นั่นเป็นหน้าที่ของสาย N) เราจะรักษาสาย G ให้มีกระแสเป็น 0A, ศักย์เป็น 0V คือ “ดิน” ตลอดเวลาและตลอดทั้งเส้นทั้งบ้าน ยกเว้นเมื่อมีไฟรั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าไหลผ่านมันไปลงดินผ่านบาร์ G (ต่างจาก N ที่เมื่อมีโหลดเยอะๆ น่ะ ศักย์ของ N บางจุดในตัวบ้านไม่ใช่ 0V หรอกนะ)
และ (อีก) เมื่อสาย G มันมีศักย์เป็น 0V เท่ากับดิน (ที่เราเหยียบด้วย) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟรั่วไหลลงตัวถัง (ซึ่งต่อกับ G) มันก็ทำให้ตัวถังมีศักย์เป็น 0V ด้วย คือไม่มีความต่างศักย์ระหว่างตัวถังของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกับดินที่เราเหยียบ เราจะไม่โดนไฟดูด  รวมทั้งจะมีความต่างของกระแสที่ไหลใน L และ N (บริเวณที่ผ่านเมนเบรกเกอร์มาแล้ว) ได้มาก (เพราะกระแสที่รั่วมันไหลผ่านเส้น G ไปลงดินที่บาร์ G ตรงๆ
เลยไม่ต้องรอให้คนมาจับและโดนดูดก่อน และกระแสนี้ยังไม่ยุ่งกับ/ไม่ผ่าน leakage breaker RCBO, RCCB, ELCB ทั้งหลายด้วย) ทำให้เบรกเกอร์พวกนี้ตัดไฟได้ดี
ทุกอย่างจึงมีเหตุผลว่าทำไมถึงต้องต่ออย่างนั้นอย่างนี้ ลงจุดนั้นจุดนี้ ดังนั้นเพื่อนๆ ช่างก็อย่าไปว่า วิศวกร คนออกแบบหรือการไฟฟ้าเลยนะครับว่าเรื่องเยอะยุ่งยาก ทั้งหมดก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนนั่นเองครับ 
#แชร์ไว้เผื่อเป็นแนวทาง
**หากไม่ถูกต้องหากไม่ถูกต้องตรงไหน พี่ๆ ก็ลงเพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ เพื่อประโยชน์กับช่างที่หาข้อมูลต่อๆไป**
โฆษณา