Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Journaling Our Journey
•
ติดตาม
7 เม.ย. เวลา 02:04 • สุขภาพ
เวลาที่หลายคนมีเรื่องขัดแย้งกับคนอื่น
และพวกเขาตัดสินใจที่จะยอมรับผิด (แม้พวกเขาไม่ได้มองว่าตัวเองผิดก็ตาม)
พวกเขาตัดสินใจแบบนั้นเพราะต้องการให้ความขัดแย้งจบลงเร็วๆ
และความขัดแย้งก็จะจบลงเร็วจริงๆครับ
แต่หากจะมองกันในระยะยาว การตัดสินใจเช่นนี้จะทำให้คู่ขัดแย้งของพวกเขาเกิดการเรียนรู้ว่า “หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอนาคตขึ้นมาอีก ขอเพียงแค่ฉันไม่ยอมซะอย่าง ในที่สุดแล้ว ฉันก็จะสมหวังแน่ๆ เพราะเธอจะทนความขัดแย้งนี้ไม่ไหวและยอมรับผิดเพื่อให้ความขัดแย้งจบลงเร็วๆ”
การยอมรับผิดในลักษณะนี้จึงเป็นการตัดสินใจที่ “ได้อย่างเสียอย่าง”
สิ่งที่พวกเขาได้คือการที่ความขัดแย้งจบลงอย่างรวดเร็วในครั้งนี้ สิ่งที่พวกเขาเสียคือการที่พวกเขามีโอกาสที่จะตกเป็น “เป้าหมาย” การ bully ของคู่ขัดแย้งในอนาคต (ซึ่งก็จะนำมาสู่ความขัดแย้งเพิ่มเติม…และอาจจะจบลงด้วยการที่พวกเขายอมรับผิดไปเรื่อยๆอีก)
ฉะนั้น ความสามารถในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง (ซึ่งแตกต่างจากการแสวงหาความขัดแย้ง) จึงถือเป็น “ทักษะ” ที่สำคัญ
เราสามารถพัฒนา “ทักษะ” นี้ได้ด้วยการฝึกที่จะไม่โอนอ่อนผ่อนตามในสถานการณ์ที่มี “ความเสี่ยงต่ำ” ก่อน (เช่น ฝึกที่จะกล่าวคำปฏิเสธกับคนที่เราวางใจได้ว่าเขาจะไม่มีปฏิกิริยาทางลบกับคำปฏิเสธของเรา)
พอเราคุ้นชินกับการไม่โอนอ่อนผ่อนตามในสถานการณ์ที่มี “ความเสี่ยงต่ำ” แล้ว เราจึงค่อยขยับมาลองฝึกในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงขึ้นทีละนิดๆๆ
จนกระทั่งเรามีความมั่นใจมากเพียงพอที่จะ “ยืนหยัด” ต่อคู่ขัดแย้งของเราในท้ายที่สุด
และเมื่อเราสามารถ “ยืนหยัด” ได้ มันก็จะเป็นการส่งสัญญาณให้คู่ขัดแย้งของเรารู้ว่า ณ ตอนนี้ เราไม่ใช่คนที่เขาจะ bully ได้ง่ายๆเหมือนเดิมอีกแล้ว
มันจะทำให้คู่ขัดแย้งมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติกับเราเปลี่ยนไป…จนอาจถึงขั้นที่คู่ขัดแย้งไม่เข้ามา “จุดชนวน” ความขัดแย้งกับเราอีกเลยก็เป็นได้!
กล่าวโดยสรุปก็คือ หากเราไม่มี “ทักษะ” ในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง เรามีแนวโน้มที่จะเจอกับความขัดแย้งเป็นระยะ แต่หากเรามี “ทักษะ” ในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง เรามีแนวโน้มที่จะเจอกับความขัดแย้งน้อยลง (จนอาจถึงขั้นไม่เจอเลย)
จิตวิทยา
psychology
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย