7 เม.ย. เวลา 09:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ

โลกอาจเข้าสู่ “วิกฤติเศรษฐกิจ” ครั้งใหม่แล้ว แบบไม่ทันตั้งตัว /โดย ลงทุนแมน

วันนี้ 7 เม.ย. 2025 ดัชนีฮั่งเส็ง ฮ่องกง -13.22%
ถ้าไปดูย้อนหลัง รอบ 30 ปี วันที่ดัชนีลบมากสุดคือ
9
- 28 ต.ค. 1997 ดัชนี -13.70% เป็นวันวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือ ต่างประเทศเรียกกันว่า Asian Financial Crisis
- 27 ต.ค. 2008 ดัชนี -12.70% เป็นวันวิกฤติซับไพรม์
ถ้าไปดู Vix Index ซึ่งเป็นดัชนีความกลัวของตลาด วันนี้ได้ไปแตะระดับ 60 สูงเทียบเท่าวิกฤติซับไพรม์ปี 2008 แล้วเช่นกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นฮ่องกง และ Vix Index
ถ้าให้พูดตรง ๆ แบบไม่ต้องอ้อมค้อม แต่มันจะตกใจนิดนึง คือมันตีความได้ว่า
เรากำลังอยู่ในวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหม่ ที่เทียบเท่า วิกฤติต้มยำกุ้งของฝั่งเอเชีย และวิกฤติซับไพรม์ของฝั่งตะวันตก เรียบร้อยแล้ว แบบไม่ทันตั้งตัว..
1
จนถึงตอนนี้เราต้องรู้อะไรบ้าง ?
แล้ววิกฤติครั้งนี้มีหนทางจะรอดพ้นหรือไม่ ?
ประเทศไทยจะกระทบหนักขนาดไหน ?
อะไรจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจต่อไป ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
วันนี้ 7 เม.ย. Bill Ackman เพิ่งออกมาเตือนว่าสหรัฐฯ กำลังเปิดฉากสงครามนิวเคลียร์ ทางเศรษฐกิจ ถ้าไม่แก้ไข เรากำลังมุ่งหน้าสู่ ฤดูหนาวทางเศรษฐกิจ
ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องใหญ่มากของเศรษฐกิจโลก ที่ใคร ๆ ออกมาแสดงความกังวล
สาเหตุหลักคือทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ซึ่งทำให้อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ สูงที่สุดในรอบ 100 ปี ทำให้มีการคาดการณ์ว่าการค้าขายทั่วโลกจะลดลงแบบฉับพลัน
1
ถ้าสินค้ามีความต้องการน้อยลง ขณะที่การผลิตไม่ได้ลดตาม สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ “ราคาจะลดลง”
ลองมาดูราคาสินทรัพย์ทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดิบ WTI ราคาน้ำมันดิบ ลดลง 17% อยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี
สังกะสี -8.4%
แพลเลเดียม -10.0%
นิกเกิล -10.1%
แพลทินัม -11.8%
เงิน -13.3%
ทองแดง -13.6%
แม้แต่ ทองคำ -3.4%
1
และสิ่งที่กระทบหนักสุดก็คือดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกวันนี้
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ -5.6%
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -7.7%
ตลาดหุ้นอินเดีย -4.1%
ตลาดหุ้นสหราชอาณาจักร -4.7%
ตลาดหุ้นฝรั่งเศส -5.2%
ตลาดหุ้นเยอรมนี -5.8%
2
​จากข้อมูลล่าสุด UBS คาดการณ์ว่าการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ จะลดลงมากกว่า 20% ในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการนำเข้าต่อ GDP กลับไปอยู่ในระดับก่อนปี 1986
นอกจากนี้ UBS ยังปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP สหรัฐฯ สำหรับปี 2025 ลงเหลือเพียง 0.4%
1
ที่น่าสนใจคือในสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ตลาดพันธบัตรไม่ได้กลัวเรื่องเงินเฟ้อจากภาษีนำเข้าแล้วทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว
1
ตลาดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบ และ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ กลับต้องลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อรับมือ นอกจากนั้นนักลงทุนได้ย้ายเงินลงทุนจากสินทรัพย์เสี่ยง ไปยังพันธบัตรรัฐบาลอีกด้วย ทำให้ Yield พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 1 ปี ลดลง 7.8% ในหนึ่งสัปดาห์
3
ถ้า FED ลดดอกเบี้ย ทุกธนาคารกลาง รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยก็น่าจะลดดอกเบี้ยตามกัน
1
นอกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาแล้ว วันนี้ 7 เม.ย. ทางการจีนก็ได้ออกมาตรการเพื่อพยุงตลาดหุ้นด้วยการแทรกแซงของ Central Huijin Investment ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีน โดยเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้น
2
นอกจากนั้นจีนกำลังพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการขยายการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและรักษาเสถียรภาพของตลาดทุน
4
แล้วประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ?
แน่นอนว่าถ้าทรัมป์ยังไม่เปลี่ยนใจเรื่องภาษีนำเข้า ตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบตามตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มส่งออก กลุ่มธนาคาร แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นอาจไม่ลดมากเท่าต่างประเทศ เพราะที่ผ่านมาลงมาเยอะแล้ว
3
นอกจากนั้นในภาคเศรษฐกิจจริง ผู้ส่งออกที่เน้นส่งออกไปสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบ โดยคู่ค้าอาจมีการชะลอการซื้อ ลดจำนวนการสั่งซื้อ แต่สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริโภคในประเทศก็อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ถ้าหุ้นไทยที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง แล้วราคาหุ้นลดลงมามาก ก็อาจเป็นโอกาสได้เช่นกัน
3
นอกจากนั้นหากรัฐบาลไทยยอมตกลงลดภาษีนำเข้าในสินค้าบางชนิดกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจกระทบภาคเศรษฐกิจจริงในประเทศได้เช่นกัน เพราะอาจมีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ มาในราคาที่ถูกกว่าที่ผลิตโดยผู้ประกอบการในประเทศ
1
แล้วค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นอย่างไร ?
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีความผันผวน เพราะมี 2 มุม
มุมแรก ตลาดอาจคิดว่าผู้คนจะค้าขายกับสหรัฐอเมริกาน้อยลง และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลกน้อยลง
2
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ตลาดก็อาจคิดว่าจะมีหลายประเทศที่เข้ามาเจรจากับสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นผู้ค้าขายหลักของโลกนี้อยู่ดี ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งขึ้น
จากวันที่ประกาศ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลงเล็กน้อย ซึ่งยังไม่ชัดเจนนักว่าจะไปทางไหน
1
แล้ววิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้มีหนทางจะรอดพ้นหรือไม่ ?
ลงทุนแมนยังเชื่อว่า ทุกอย่างจะต้องมีการเจรจา ไม่ว่าช้าหรือเร็ว และเชื่อว่าโลกไม่สามารถถูก Deglobalized ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะทุกประเทศสัมพันธ์กันไปหมด
3
เพียงแต่การเคลื่อนไหวของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ค่อนข้างแข็ง และรุนแรง จนตลาดตกใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ Globalization ในระเบียบใหม่ แต่ไม่ถึงขนาดที่ทุกประเทศต้องแยกจากกัน
1
แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกจะเป็นอย่างไร ต่อไป ?
จากนี้ไปให้เตรียมใจไว้ว่า ตลาดอาจเด้งลง เด้งขึ้น เป็นลูกปิงปอง
ตอนนี้ตลาดแย่ ทุกคนกลัวเต็มที่ตลาดจึงลงหนัก
พอมีวันที่มีข่าวในมุมบวก ตลาดก็จะกลับมาเด้งขึ้น
และพอมีความกังวลใหม่ ก็อาจกลับมาลงหนัก
ตลาดจะไม่ได้มีข่าวร้ายไปตลอด จะมีข่าวดีสลับกับข่าวร้ายไป จนเข้าสู่สมดุล
6
ตลาดไม่ชอบความคลุมเครือ
ตอนนี้มีแต่ความคลุมเครือเต็มไปหมด
และถ้าวันหนึ่งที่มันชัดเจนขึ้น ถึงแม้ว่ายังมีภาษีพวกนี้ มันก็อาจจะไม่ได้ลงหนักอีกต่อไป
ต้องยอมรับว่าเหตุการณ์นี้อาจเป็นหนึ่งในวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงสุดครั้งหนึ่ง ในชั่วชีวิตคนหนึ่งคนในยุคนี้
1
เราก็คงจะเห็นไปพร้อม ๆ กัน ว่ามันจะจบ หรือเปลี่ยนชีวิตพวกเราไปอย่างไร
1
ในตอนนี้ คงได้แต่เตรียมพร้อมให้ตัวเบา และทำใจไว้ว่า ปัจจัยพวกนี้ มันอยู่เหนือนการควบคุมของเรา
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
กำมือไว้ให้แน่น แล้วเตรียมรับแรงกระแทก พร้อมเข้าสู่ฤดูหนาวไปด้วยกัน..
“วิกฤติเศรษฐกิจทุกครั้ง มักจะเข้ามาหาเรา โดยไม่ทันตั้งตัวเสมอ เรามักจะชะล่าใจ บอกว่าครั้งนี้คงไม่เป็นไร แต่กว่าจะรู้ตัวอีกที เราก็อยู่ในวิกฤตินั้นแล้ว”
2
โฆษณา