7 เม.ย. เวลา 13:05 • หนังสือ

รีวิวสรุปจากหนังสือ ”Writing is not Magic, it’s Design” ที่อ่านแล้วทำให้ไฟในการเขียนลุกโชน 🔥🔥🔥

(ใครอยากอ่านแบบคลีน ๆ บนเว็บไซต์ไปที่นี่ได้เลยครับ https://bit.ly/4cikm1a)
“I write entirely to find out what I’m thinking, what I’m looking at, what I see and what it means” Joan Didion
📍 ทักษะการเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับปัจจุบันและอนาคต ถามว่าในเมื่อปัจจุบันเรามีตัวช่วยการเขียนมากมายอย่าง AI ที่เป็น large language models ต่าง ๆ ทำไมเรายังต้องฝึกการเขียนครับ? 🤔
1
หนังสือเล่มนี้จะมาบอกเราว่า การเขียนนั้นก็คือการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ยิ่งเราเขียนได้ดี นั่นคือเราสามารถเรียบเรียงความคิด logic ของเรา และถ่ายทอด สื่อสารไปยังคนอื่นได้ดี อย่างที่ Joan Didion นักเขียนชื่อดังได้กล่าวไว้ในประโยคข้างต้นครับ
1
👉🏻แต่ก่อนอื่นเลย ผู้เขียน Joao Batalheiro Ferreira บอกว่าขั้นตอนแรกที่เราจะเขียนให้ได้ดีต้องเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการเขียนก่อนเลยครับ
“First step is to changing how you think about writing”
หลายคนอาจจะเข้าใจว่าการเขียนคือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์หรือเว้นวรรคประโยคให้ถูกต้องสวยงาม แต่ผู้เขียนบอกว่า การเขียนมันคือการสื่อไอเดียของเราให้คนอื่นทราบ
✅ เป้าหมายของการเขียนคือ การสื่อสารไอเดียของเราให้คนอื่นทราบโดยการใช้คำต่างๆ ที่เราเขียนออกไปและการที่เราจะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ดี เราจำเป็นต้องสามารถสื่อเข้าไปอยู่ในใจของเขาให้ได้
“Writing is about reaching someone else’s mind, and sometimes their heart as well”
แต่การที่เราจะสื่อสารไอเดียของเราออกไปได้ดี เราจำเป็นต้องเข้าใจไอเดียของเราเองที่ต้องการจะสื่อออกไปก่อน
Bob Dylan บอกว่า “I’ll know my song well before I start singing”
Joao Ferreira บอกว่า การเขียนก็เหมือนการออกแบบ ทั้งการเขียนและการออกแบบเป็น creative efforts ของมนุษย์
ดังนั้นการเขียนก็จะมีกระบวนการอยู่ 5 stage คล้ายคลึงการกระบวนการออกแบบที่จะใส่เปรียบเทียบไว้ในวงเล็บ
Stage 1: Gather information (กระบวนการออกแบบก็ Gather information เหมือนกัน)
Stage 2: Take notes (Sketch)
Stage 3: Outline (Design Specifications)
Stage 4: Draft (Model)
Stage 5: Edit (Prototype)
การะบวนการเขียนและการะบวนการออกแบบเป็นกระบวนการที่ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือ “gradual process” ไม่ว่าเราจะเขียนสั้นหรือยาว เราต้องทำตามกระบวนการนี้ หากเราอยากให้งานเขียนเราออกมาอย่างมีคุณภาพ
1
ความแตกต่างของนักเขียนอาชีพกับมือใหม่คือ มือใหม่มักจะทำตามกระบวนการข้างต้นทีเดียวทั้งหมดเลยในงานเขียน ซึ่งในความเป็นจริงยากมาก ที่จะทำแต่ละ stage เสร็จหมดทีเดียว แต่มืออาชีพจะแบ่งงานเขียนออกเป็นชิ้นย่อย ๆ หรือใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Modular Writing”
==================
🟢 Modular Writing 🟢
“We never do the work nor give up. We postpone it.”
1
ปัญหาหลักที่หลาย ๆ คนเจอเวลาจะเริ่มเขียนอะไรขึ้นมา (ผมก็ด้วย) คือ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรกับกระดาษหน้าเปล่า ๆ (blank page) หรือที่เขาเรียกว่า “Writer’s block”
ด้วยความที่เราคิดว่าการเขียนคือการทำงานชิ้นใหญ่ ๆ ชิ้นหนึ่งให้จบในทีเดียว แต่ความเป็นจริงแล้วเราสามารถแบ่งออกเป็นชิ้นย่อย ๆ หรือส่วนย่อย ๆ ได้ หรือที่ Joao เรียกว่า “Modular Writing” นั่นเองครับ
Reading และ Writing การอ่านและการเขียนเป็นกระบวนการที่ไม่เหมือนกัน โดยการอ่านนั้นเป็น linear เริ่มอ่านจากจุดเริ่มต้นไปเรื่อย ๆ จนจบตามลำดับ แต่การเขียนนั้นไม่ใช่
การเขียนเป็น non-linear process และ flexible เราสามารถเขียนส่วนไหนก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากส่วนตั้งต้น และไม่จำเป็นต้องเขียนให้เสร็จเป็นส่วน ๆ เราอาจจะแค่เขียนดราฟของส่วนหนึ่งไว้ก่อน แล้วก็ไปเริ่มอีกส่วนก็ได้ (ง่ายขึ้นมาเลยมั้ยครับ)
 
พูดง่าย ๆ การเขียนก็เปรียบเหมือนการทำหนังภาพยนตร์ที่เราอาจจะถ่ายทำส่วนไหนก่อนก็ได้ ก่อนที่จะเอาไปตัดต่อให้เรียบร้อย แล้วก็เอามาเรียบเรียง จัดลำดับประกอบกันเป็นหนังที่เสร็จสมบูรณ์อีกที
==================
🟣 Four stages of writing process 🟣
ผู้เขียนเอาขั้นตอนการเขียนมาสรุปให้จำง่ายๆ โดยเรียกว่า “NODE”
ซึ่งก็คือ Note – Outline – Draft - Edit
1) ขั้นตอนแรกคือการจด Note เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเขียน แค่เราจดโน้ต และเอาโน้ตมาเริ่มเขียนเราก็ไม่ต้องเริ่มด้วยหน้าที่ว่างเปล่าแล้วววว
David Allen เจ้าพ่อ productivity เจ้าของหนังสือดังอย่าง “Getting Things Done” กล่าวไว้ว่า “The mind is for having idea, not holding them”
การจดโน้ตคือการช่วยเอาเรื่องที่เราเจอบันทึกลงไปเพื่อแบ่งเบาสมองเรา เพราะสมองเรานั้นมีไว้คิดมากกว่า ไม่ได้เอาไว้จดจำทุกอย่างครับ หากเราฝึกการเขียนโน้ตอย่างเป็นระบบระเบียบ มันจะช่วยให้เราหาข้อมูลเวลาที่ต้องการใช้ได้ดีเลยครับ หนังสือที่มีเทคนิคการจดโน้ตอย่างเป็นระบบเลยก็คือ Building a Second Brain ของ Tiago Forte
หากเราจด note อย่างเป็นระบบ มันจะช่วยให้เราเกิด creative thinking ได้กระบวนการ observe -> notice -> connect -> create
1
2) การเขียนที่ไม่มี outline ก็เหมือนการเดินเรือที่ไม่มีแผนที่ โดยปล่อยให้เรือแล่นไปตามที่ลมพัดนั่นเอง outline จะเป็นโครงสร้างของการเขียนที่จะช่วยจัดการความคิดของเราให้เป็นระเบียบ
1
Typical Outline หรือ outline ที่เราใช้กันบ่อย ๆ ก็คือ เริ่มต้นด้วย Introduction -> Body แล้วก็ -> Conclusion ใครคิดอะไรไม่ออกให้เริ่มแบบนี้เลย
แต่ Joao บอกเราสามารถทำได้ดีกว่านั้น โดยการออกแบบ outline ให้น่าดึงดูดมากขึ้น เช่น การออกแบบ outline งานเขียนให้เป็นแบบ storytelling
3) Joao บอกว่าการ draft งานเขียนขึ้นมานั้นทำได้ง่ายมาก หากเราทำตามกระบวนการ NODE ข้างต้น เราแค่เอาโน้ตที่เราจดมาแปะ วาง ก็จบแล้ว 😂😂😂
Golden Rule ของการ draft ก็คือ ให้เราแยกการ drafting ออกจากกระบวนการ editing ไปเลย อย่าไปพยายาม edit ในขณะที่เรากำลัง draft อยู่
วิธีการเขียนที่ดีคือต้องมี readability คือทำให้ผู้อ่านอ่านได้เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสนต้องอ่านกลับไปกลับมา เราต้องเขียนราวกับว่าเราจับมือผู้อ่านพาไปเล่าเรื่องที่เราจะเขียนให้ฟัง
4) ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการ edit หรือ แก้ไขที่ผิด ปรับปรุงประโยคให้ดียิ่งขึ้นและดูว่าทุกอย่างโอเค make sense
สุดท้ายไม่ว่าเราจะเขียนเพื่อการศึกษา เขียนเป็นการส่วนตัว เป็นอาชีพหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรากำลังสื่อสารไปสู่คนอื่น และกับตัวเอง การเขียนจะช่วยให้เราเข้าใจ และควบคุมความคิดเราได้ดียิ่งขึ้น ✅
📌 ในโลกปัจจุบันที่มี distraction มากมายนั้นเป็นสังคมที่ทำให้ยากที่จะสร้างสรรค์งานที่ creative เราจำเป็นต้องตั้งสติ และคิดให้ช้าลง เพื่อให้เรามีสมาธิ หรือ “mindfulness” ซึ่งการใช้วิธี NODE ในการเขียนนั้นเป็นการฝึกให้เรารู้จักคิดให้ช้าลง slower skills ที่หาได้ยากในปัจจุบัน และสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพได้
“Writing slows you down and that’s a good thing.”
1
💡 Joao สรุปท้ายสุดไว้ว่าการที่เราสามารถควบคุมและเรียบเรียงความคิดเราได้อย่างมีสมาธินั้นเป็น 21st century superpower เลยครับ
โฆษณา