7 เม.ย. เวลา 14:13 • ข่าว

เมียนมาระทึก!! ภูเขาไฟโคลนในรัฐยะไข่ประทุ ชาวบ้านหนีกันให้วุ่น

เกิดเหตุภูเขาไฟโคลนประทุ ในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่าน ภูเขาไฟโคลนปะทุ (Mud Volcano Eruption) ไม่ได้เกิดจากแมกมาร้อนแบบภูเขาไฟทั่วไป แต่เกิดจาก แรงดันใต้ดินที่ดันเอาโคลน ผสมกับก๊าซ หรือของเหลวขึ้นมาสู่ผิวดิน คล้ายกับการเดือดของหม้อแรงดัน
สาเหตุเกิดจากแรงดันก๊าซใต้ดินมักเป็น ก๊าซมีเทน (CH₄) หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ที่สะสมอยู่ใต้พื้นดิน เมื่อแรงดันสูงพอ มันจะดันโคลนและน้ำใต้ดินให้พุ่งขึ้นมาบนผิวโลก ชั้นดินอุ้มน้ำ (Sediment + น้ำ + ความร้อน) ดินเหนียวหรือโคลนจากชั้นตะกอนลึกที่อุ้มน้ำเอาไว้ พอได้รับแรงกดหรือความร้อนจากใต้เปลือกโลก ก็จะกลายเป็นของเหลวหนืด และถูกดันขึ้นมาด้วยแรงดัน
แผ่นดินไหวหรือการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การสั่นสะเทือนใต้ดินหรือเปลือกโลกเคลื่อนที่ สามารถกระตุ้นให้เกิดการปะทุได้แบบทันทีทันใด ลักษณะของภูเขาไฟโคลน ไม่ร้อนเท่าภูเขาไฟแมกมา (บางแห่งอุณหภูมิแค่ 20-100°C) มักไม่เกิดลาวา แต่จะพ่น โคลนหนืด ผสมก๊าซ ฟองอากาศ และน้ำออกมา
เหตุการณ์แบบนี้พบจะพบบ่อยในพื้นที่ที่มี น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแหล่งชั้นตะกอนหนาแน่น บางแห่งสามารถปะทุเป็นเวลานานหลายวัน หลายเดือน หรือเป็นร้อยปีแบบสม่ำเสมอ เช่น Blanagan (อาเซอร์ไบจาน) ใหญ่ที่สุดในโลก, Lusi (อินโดนีเซีย) เคยปะทุต่อเนื่องหลายปี
โฆษณา