12 เม.ย. เวลา 05:22 • อาหาร

ค้นพบเรื่องราวของ ซอสปรุงรส ที่ต้องมีติดเอาไว้ทุกครัวเรือน

ซีอิ๊วถั่วเหลือง อาจจะเป็นเครื่องปรุงรสชาติอาหารเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับเราแล้วมันไม่ใช่เพียงแค่นั้น มันกลับสะท้อนความอยากลำบากของผู้คน วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี ใช่ครับ ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเรื่องปรุงรสที่มีชื่อว่า ซีอิ๊วขาว ให้มากยิ่งขึ้นนั้นเอง
หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เรื่องราวของ ซอสปรุงรสถั่วเหลือง เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล และมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนในช่วงนั้น เกลือเป็นสิ่งของที่หายากและมีราคาสูงมาก ทำให้ชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถซื้อได้ บางบ้านถึงต้องหาวิธีการใช้เกลือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อเวลาผ่านไปถึงยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่น ประมาณ 220 ปีก่อนคริสตศักราช ศาสนาพุทธ เริ่มขยายเข้าสู่ประเทศจีน และในศีล 5 ตามหลักคำสอนของชาวพุทธ มีข้อหนึ่งที่ต้องละเว้นจากการทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้น ซอสหมักสูตรดั้งเดิม จึงถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุสงฆ์และฆราวาสรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ จึงเกิดเป็นน้ำปลาและ "เจียง" (jiàngyóu) หรือที่เรียกกันว่า ซีอิ๊ว ซึ่งกลายเป็นซอสทางเลือกสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ
ด้วยเหตุนี้ ซีอิ๊วขาว จึงเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง เนื่องจากในยุคสมัยนั้น วัตถุดิบที่ใช้ทำ ซอสปรุงรส มีอยู่ไม่มาก "เจียง" เป็นหนึ่งในวัสดุที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารที่จืดชืดได้อย่างดี นอกจากนี้ ผักที่มีกลิ่นฉุนสูง เช่น หัวหอม กระเทียม และหอมแดง ถูกละเว้นโดยนักบวช เนื่องจากมีความเชื่อว่าสารในผักเหล่านี้สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสและเพิ่มความต้องการทางเพศได้ ดังนั้นการเลือกใช้ ซีอิ๊วจึง เป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มรสและกลิ่นหอมทดแทนได้อย่างดี
ในช่วงใกล้สิ้นศตวรรษที่ 7 พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นที่เรียนรู้วิธีการผลิต ซีอิ๊ว จากประเทศจีนได้กลับมาที่ญี่ปุ่นและนำคำสอนทางพุทธศาสนาและวิธีการทำ ซอสถั่วเหลือง (เจียง) กลับมาด้วย โดยเริ่มผลิตภายในวัดในเมืองยัวสะในญี่ปุ่น หลังจากปี ค.ศ. 1254 การผลิต ซีอิ๊ว ในญี่ปุ่นได้รับการพัฒนา จนกลายเป็น "โชยุ"
ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสเฉพาะของญี่ปุ่น ในช่วงราชวงศ์ยามาโตะ (ค.ศ. 250 - ค.ศ. 710) เมื่อพุทธศาสนาเริ่มรุ่งเรือง และในปลายทศวรรษที่ 1600 โชยุ ถูกผลิตในเมืองโนดะและกลายเป็นที่มาของแบรนด์ Kikkoman ซึ่งเป็น ซอสถั่วเหลือง ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
ช่วยปรับรสชาติอาหาร: ซีอิ๊วถั่วเหลือง ใช้เป็นเครื่องปรุงรสในการทำอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมและเข้มข้นขึ้น เช่น ในการทำอาหารจีน, ญี่ปุ่น, หรือไทย
แหล่งโปรตีนจากพืช: ซีอิ๊วถั่วเหลือง มีโปรตีนจากพืช ซึ่งช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในร่างกายและช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ: ซีอิ๊วถั่วเหลือง มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและมะเร็ง
ลดระดับคอเลสเตอรอล: การบริโภค ซีอิ๊วถั่วเหลือง ในปริมาณที่พอเหมาะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
ช่วยให้ผิวพรรณดี: การบริโภค ซีอิ๊วถั่วเหลือง ช่วยให้ผิวพรรณดูสุขภาพดี เพราะมีสารที่ช่วยต่อต้านการแก่ชราและบำรุงผิวพรรณ
อ้างข้อมูลจากเว็บไซต์
โฆษณา