9 เม.ย. เวลา 10:56 • เกม

L.A. NOIRE then… do the write things. #

คำนำ
สวัสดีครับ L.A. NOIRE มันคือ เกมในปี 2011 ครับ ผมไม้ได้จะมารีวิวเกมแค่เล่นเกมนี้จบแล้วอยากเขียนอะไรสักอย่าง ไม่ใช่เขียนให้เกมเมอร์แค่เขียนไปเรื่อยให้คนที่ชอบอ่านเพราะผมอยากเขียน คำนำสำหรับผมคงขอแค่นี้พอครับเขียนไม่เป็น….ยินดีที่ได้รู้จักครับ
Chapter 0 : เล่นเกมจบแล้วอยากรู้อะไรที่มากขึ้นแค่นั้นแหละ
เป็นเกมที่รู้สึกว่า ใครที่เป็นเกมเมอร์ต้องเล่นให้ได้ก่อนตาย แล้วเป็นสุดยอดเกมUnderateจริงๆของ ROCKSTAR รู้สึกได้ถึงความทะเยอทะยานในการทดลอง เทคโนโลยี motion scan ในยุคนั้นทำได้ถึงเนื้อ Acting สุดๆ ทำเผื่อให้เราได้จับโกหกบนสีหน้าของตัวละครทั้งหลายที่เราจะได้เจอ L.A. NOIRE มันเป็นการจับแนวทางเกมสืบสวนได้มาก่อนกาลจริงๆ ตั้งแต่การเน้นเกมเพลย์ไปที่การสอบปากคำ เอาจริงๆกระบวนการทำงานของนักสืบจริงๆส่วนตัวความรู้ที่มีก็น้อยนิด โตมาอาจจะเข้าใจแค่ว่านักสืบมันเท่มันฉลาด จากการเสพสื่อมา ทั้งโคนัน, โฮมส์,
คินดะอิจิ หรือภาพคนใส่สุดคลุมยาวๆพร้อมหมวกบวกกับสูบไปร์เท่ๆ เอาจริงๆ ทั้งสามชื่อที่หยิบขึ้นมา มันต่างเป็น นักสืบเอกชน หรือ ไม่ก็นักสืบในนิสัยสะมากกว่า แต่กับ เกม L.A. NOIRE เราจะได้เล่น Cole Phelps (ตัวละครเอก) มันคือ ‘ตำรวจสายสืบ’ (Detective) ซึ่งตำรวจเขามียศมีตำแหน่ง มีหน้าที่ชัดเจน ทำกันเป็นระบบเป็นขั้นตอนของคนทำงานกันอยู่แล้ว นั้นเลยวนกลับมาที่กระบวนการทำงานในเกมที่เราจะได้สัมผัส ไปที่เกิดเหตุ หาหลักฐาน สืบของเท็จจริง คุยกับพยาน สอบปากคำผู้ต้องสงสัย
ทั้งหมดที่ว่าคือสิ่งที่จะได้เล่นในเกมนี้ และนอกจากเกมเพลย์การเล่าเรื่องและสร้างสรรค์บทตัวละครในโลกของเกมนี้ก็ทำได้โครตเทสดี ตามยุค หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวเอก Cole Phelps ตำรวจน้ำดีมีไฟที่วิ่งแก้ไขคดีแลกผลงานพร้อมรับคำชมของหัวหน้าที่เห็นแววในตัวเขาจนนำพาไปถึงจุดที่โดนเจาะลึกตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนในอดีตกับหน้าที่ในเมืองแสงสีแห่งนี้ ที่บางครั้งเขาก็พยายามทาสีขาวให้เมืองสะอาดขึ้นแต่จมูกก็โดนเตะทุกครั้งจาก
กลิ่นคำว่า ‘NOIR’ ที่ลอยฟุ้งให้สูบดมจนสำลักออกมาในลำคออยู่ทุกย่างก้าวในบรรยากาศทั้งหมดของลอสแอนเจลิส in L.A. NOIRE
Chapter 1
Chapter 1 : เข้าใจแค่ว่า Noir แต่ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไงเหมือนกัน
What is NOIR ?
คำว่า "Noir" มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "สีดำ" (black) ซึ่งถูกนำมาใช้ในเชิงวรรณกรรมและภาพยนตร์เพื่อนิยามแนวเรื่องที่มืดมน ลึกลับ และมีบรรยากาศฉากหลังที่หม่นหมองโสมม
ในช่วง ทศวรรษที่ 1920-1930 ได้มีวรรณกรรมอาชญากรรมแนว Hardboiled Fiction เป็นงานเขียนวรรณกรรมแนวอาชญากรรมเข้มข้น มืดมนแบบไม่อ่อนข้อได้ถือกำเนิดขึ้น เน้นนำเสนอโลกความเป็นจริงที่มืดมนมักคู่กับตัวละครเป็นนักสืบและผู้หญิงทรงเสน่ห์หรือนักเลงในโลกอาชญากรรมที่โหดร้าย ซึ่งต่อมา ในปี 1945 สำนักพิมพ์ฝรั่งเศส ได้เริ่มใช้คำว่า "Noir" และ “Flime Noir”
เพื่ออธิบายวรรณกรรมและหนังแนวนี้ นักวิจารณ์ใช้คำนี้เพราะภาพยนตร์อเมริกันแนวอาชญากรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโทนมืดมน ไม่เหมือนภาพยนตร์ฮอลลีวูดปกติ ซึ่งแนว Noir ทั้งหมดที่ว่ามา ก็เลยได้รับอิทธิพลจากพวกวรรณกรรม Hardboiled Fiction นั้นแหละ เอาจริงคำว่า "Noir" พวกศิลปะ สื่อใดๆ ที่มีบรรยากาศหม่นหมองและมืดมน ก็เรียก นัวร์ กันหมดนอกจากนี้ปัจจุบันก็จะมีพวก “Neo-Noir” ก็คือให้เข้าใจง่ายสุดก็คือพวกนัวร์สมัยใหม่ ใส่ประเด็นความเป็นปัจุบันหรือพวกอนาคต เทคโนโลยีใดๆให้มันซับซ้อนเข้าไปฟีลนั้น …..
But L.A. NOIRE with “E” Why not Noir ? wtf ผมแค่ขี้สงสัยแล้วไงมึงใส่ตัวEวะ Noir or Noire ? จากที่หาข้อมูลคิดว่าอาจเป็นลูกเล่นทางภาษาตามหลักไวยากรณ์ฝรั่งเศส คือมันมีเรื่องคำคุณศัทพ์ เพศหญิงชายอีก จะบ้า หรือจริงๆอาจถูกใช้เพื่อให้ฟังดูเหมือนภาษาฝรั่งเศสแบบเก่า หรือเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับชื่อเกม การเติม "e" เข้าไป อาจช่วยให้ชื่อเกมดูหรูหรา ลึกลับ และสะท้อนกลิ่นอายของยุค 1940s โอเครตามนั้นแหละ No fact อด Cool .
Chapter 2
Chapter 2 : ยุค 40’s ใน L.A. รู้แค่ว่ามันเป็นกลิ่นอายที่มีเสน่ห์มาก ควันบุหรี่ เหล้า สูท รถคลาสิค
40’s in L.A. NOIRE
ยุคทองที่เต็มไปด้วยคราบสีดำ
ลอสแอนเจลิส (L.A.) ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่าเป็นยุคทองของเมืองนี้ที่เกมเลือกมานำเสนอ เป็นยุคที่การเติบโตของเมืองที่พุ่งทะยาน อัตราการเกิดของประชาชนที่มากขึ้นหลายเท่า เศรษฐกิจขยายตัว เมืองนี้เติบโตจากอุตสาหกรรมสงคราม L.A. เป็นหนึ่งใน ศูนย์กลางการผลิตอาวุธและเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงคราม อดีตทหารจำนวนมากย้ายมาตั้งรกรากใน L.A. อุตสาหกรรมภาพยนตร์ มี Hollywood กำเนิดขึ้นเป็นศูนย์กลางสื่อความบันเทิง
Golden Age of Hollywood พวกสตูดิโอใหญ่ๆ Warner Bros., Paramount ผลิตหนังแนวสงครามกับพวก Film Noir ออกมาเยอะ มีการสร้าง ฟรีเวย์และระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับคนจำนวนมาก วัฒนธรรมยุคนั้นเน้นไปคลับแจ๊สไม่ก็ไนต์คลับ แนวดนตรี Jazz, Swing, Big Band แฟชั่นผู้ชายใส่สูทคลาสสิคพร้อมหมวก Fedora ร้องเท้าขัดมัด ผู้หญิงสวมเดรสผมลอนคลื่นถุงมือหนังทรงเสน่ห์ สถาปัตยกรรมตึกจากคลาสสิคก้าวเข้าโมเดริน ทุกอย่างในยุคนั้นโครต Dream City ที่ดูดีไปหมดแต่กลบกันเมืองนี้ไม่สามารถ ลบกลิ่นความโสมมดำมืดไปได้
LAPD กรมตำรวจเต็มไปด้วยเรื่องอื้อฉาวคอร์รัปชัน เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสัมพันธ์กับมาเฟีย ธุรกิจผิดกฎหมาย บ่อนการพนันยาเสพติดเลยล่องลอยมอมเมาผู้คนในเมืองแห่งแสงสีนี้ อุดมการตำรวจดี นักข่าวตามล่าความจริงไม่ว่าหน้าไหนก็ไปไม่รอดถ้าไปยุ่งกับอำนาจมาเฟีย ไม่ถูกข่มขู่ก็ไม่พ้นข้อเสนอที่ไม่อาจ Say No ได้ Fact นั้นจึงเป็นเหตุผลให้อาชญากรรมพุ่งสูงขึ้นเพราะระบบกฎหมายทำอะไรไม่ได้รวยก็รอด จนก็จบ บางคดีนักสืบอิสระต้องเข้าไปสืบเพราะตำรวจสืบไม่ได้หรือไม่ก็ไม่อยากสืบ นโยบายกีดกันเชื้อชาติ คนผิวสี, ชาวเม็กซิกัน และเอเชีย
ถูกปฏิเสธไม่ให้ซื้อบ้านในบางย่านของ L.A. ธุรกิจและร้านค้าหลายแห่งปฏิเสธให้บริการคนที่ไม่ใช่คนผิวขาว และคดีฆาตกรรมที่โด่งดังในโลกจริงที่เกมนำเอาไปนำเสนอ Black Dahlia Murder คดีฆาตกรรม Elizabeth Short ที่ศพถูกหั่นเป็นสองท่อนและกลายเป็นคดีปริศนามาจนทุกวันนี้ L.A. ในยุค 1940s คือทั้ง แสงสีและเงามืด ที่สะท้อนความรุ่งเรืองและด้านมืดของอเมริกาในยุคนั้น
Chapter 3
Chapter 3 : เป็นประสบการณ์นั่งเล่นเกมที่ต้องสังเกตและเบียวตั้งใจฟังแบบนักสืบในหนังจริงๆ
Motion Scan vs สอบปากคำ
ฉันหวังว่าคุณจะรับผิดชอบกับคำพูดที่กล่าวหาว่าฉันโกหกนะ
ตามหาหลักฐาน วิ่งไล่ผู้ร้าย ยิงปืน แอ็คชั่นพวกนี้มันทั่วไปมากๆในเกมหรือหนังที่นำเสนอตำรวจหรือนักสืบ แต่จุดเด่นที่สุดสิ่งนึงที่ L.A.Noire เลือกหนึ่งกระบวนการทำงานที่สำคัญอีกอย่างนึงก่อนที่จะหยิบปืนขึ้นมาชี้กันนั้นก็คือ “การสอบปากคำ” Interrogation System เป็นหนึ่งในไฮไลท์หลักของระบบเกมเพลย์ เราเล่นเป็นนักสืบ Cole Phelps และต้องสอบปากคำพยานหรือต้องจับผิดคำโกหกของพวกเขาผ่านการสังเกตสีหน้าและภาษากายของตัวละครคิดดูดิมันน่าสนุกขนาดไหน….
แต่นี้มันคือเกมในยุค 2011 Motion Capture มันดีแล้วในการจับกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหว แต่กับสีหน้า ? มันยังไม่ดีพอ นั้นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้พัตนา Team Bondi และ Rockstar Games ต้องหาวิธีสร้างอนิเมชันใบหน้าที่สมจริงที่สุดในอุตสาหกรรมเกม ณ เวลานั้น “Motion Scan” นำนักแสดงมานั่งในสตูดิโอที่ล้อมรอบด้วยกล้อง 32 ตัว กล้องเหล่านี้ถูกตั้งค่าให้จับ ใบหน้าของนักแสดงจากทุกมุมในแบบ 360 องศา แต่ละกล้องสามารถบันทึกภาพที่ความละเอียด 30 เฟรมต่อวินาที บันทึกแมร่งไปเลยทุกสีหน้า ทุกอณูของกล้ามเนื้อ
ตอนพูดบทสนทนา ภาพที่ได้จาก MotionScan จะถูกนำไป ใส่ลงบนโมเดล 3D ของตัวละคร การเคลื่อนไหวของปาก, คิ้ว, ตา, และรอยยิ้มจะ ตรงกับของจริง 100% เหมือนเอาวิดีโอภาพการแสดงคนจริงๆไปใส่ในโมเดลหน้าของตัวละคนในเกมแล้วก็ปรับภาพแสงสีให้เขากับกราฟฟิคโมเดลส่วนอื่นๆ การจับภาพสีหน้าและการสอบสวน: L.A. Noire เป็นเกมแรก ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการจับภาพสีหน้าตัวละครอย่างละเอียด ทำให้การแสดงอารมณ์ของตัวละครดูสมจริงและมีมิติ ผู้เล่นต้องสังเกตสีหน้า ท่าทาง และคำพูดของพวกเขา เพื่อหาหลักฐานและจับผู้กระทำผิด
การแสดงออกทางสีหน้า (Facial Microexpressions)
ภาษากาย (Body Language)
การวิเคราะห์น้ำเสียง (Voice Stress Analysis - VSA)
ทั้งหมดที่ยกกล่าวขึ้นการเล่นของเกมจะทำให้เรารู้สึกถึงความสมจริงมากๆจนน่าตกใจแต่เอาเข้าจริงๆแล้วในโลกความเป็นจริงกับพบว่า มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ความสามารถของมนุษย์ รวมถึงตำรวจ ในการจับโกหกจากพฤติกรรม สีหน้า หรือภาษากาย มักจะมีความแม่นยำต่ำกว่าที่คาดการณ์ และอาจไม่ได้ดีกว่าการเดาสุ่มมากนัก
ศาสตราจารย์ Aldert Vrij นักจิตวิทยาชื่อดังด้านการตรวจจับการโกหก พบว่า แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์ก็มี อัตราความแม่นยำในการจับโกหกเฉลี่ยเพียง 54% หลายคนเชื่อว่าภาษากาย เช่น การหลบตา การกระสับกระส่าย หรือเหงื่อออกเป็นสัญญาณของการโกหก แต่แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากความเครียดหรือปัจจัยอื่นๆ ได้ การมองหาการเปลี่ยนสีหน้าหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ มักไม่น่าเชื่อถือพอในทางวิทยาศาสตร์. อ้างอิงจาก Detecting Lies and Deceit: Pitfalls and Opportunities. Vrij, A. (2008)
“ตำรวจไม่ได้เก่งกว่าคนทั่วไปในการจับโกหก”
อ้างอิงจาก Accuracy of deception judgments. Personality and Social Psychology Review. Bond, C. F., & DePaulo, B. M. (2006) งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกว่า 200 การศึกษา ที่เกี่ยวกับความสามารถของมนุษย์ในการจับโกหกพบว่า อัตราความแม่นยำโดยเฉลี่ยของมนุษย์อยู่ที่ 54% ซึ่งแทบไม่ดีกว่าการเดาสุ่ม (50%)
ผู้เข้าร่วมที่เป็นตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงก็มีอัตราความแม่นยำใกล้เคียงกับคนธรรมดาทั่วไป
การสังเกตภาษากายในการจับโกหกนั้นไม่ได้แม่นยำมาก เพราะ คนโกหกสามารถฝึกฝนให้ควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ คนที่พูดความจริงอาจมีพฤติกรรมที่ดูเหมือนโกหกได้ เพราะความเครียดหรือแรงกดดัน เทคนิคที่มีประสิทธิภาพกว่าคือ
การวิเคราะห์เนื้อหาของคำพูด (Statement Analysis) เช่น การตั้งคำถามที่ต้องใช้รายละเอียดเชิงลึก (Cognitive Load Approach) ผู้ที่โกหกมักจะ ให้รายละเอียดที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลอาจเตรียมคำตอบมาไม่ทัน หรือมีความขัดแย้งในคำพูดของตนเองในระหว่างการสอบปากคำ อ้างอิงจาก Why do lie-catchers fail? A lens model meta-analysis of human lie judgments. Psychological Bulletin. Hartwig, M., & Bond, C. F. (2011)
เพราะฉนั้นไม่แปลกที่เรามักจะเห็นตัวละครในโลกภาพยนต์หรือสื่ออื่นๆที่สามารถโกหกหน้าตายได้แบบเนียนๆหรือแม้กระทั่งหลอกเครื่องจับเท็จได้คงไม่แปลกที่การแค่จะสังเกตสีหน้าท่าทางจะไม่ใช่วิธีการหลักในการจับโกหกผู้ต้องสงสัยในโลกความเป็นจริง
การโกหก คือสิ่งที่เหล่าตำรวจต้องการและการรับผิดชอบในการที่คิดว่าเราได้คำโกหกนั้นก็คือ เหตุผลและหลักฐานไม่ใช่แค่จับได้ว่าใครโกหก
"ถาม" vs. "กล่าวหา": ระหว่างการสอบสวน ผู้เล่นสามารถ "ถาม" คำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หรือ "กล่าวหา" ผู้ต้องสงสัยว่าโกหก การเลือกวิธีการที่ถูกต้องโดยพิจารณาจากท่าทางของผู้ต้องสงสัยแล้ว จำเป็นต้องมีหลักฐานที่รวบรวมได้เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเกิดคุณกล่าวหาพลาดมันจะไม่ถูกต้องอาจทำให้ชื่อเสียงของ Cole เสียหายและขัดขวางการสืบสวน
บางครั้งเราจะไม่ได้คำสารภาพหรือข้อมูลสำคัญที่จะชี้นำเราไปต่อในเกมหนักข้อสุดๆคือจับคนร้ายผิดตัวเข้าตารางก็อาจเป็นได้ L.A. Noire นำเสนอภาพงานตำรวจสืบสวนในลอสแองเจลิสยุค 1940s ได้อย่างสมจริง โดยผู้เล่นจะได้
  • สำรวจสถานที่เกิดเหตุ: เก็บหลักฐาน ถ่ายภาพ ตรวจสอบร่องรอย
  • สัมภาษณ์ผู้ต้องสงสัยและพยาน: วิเคราะห์สีหน้าท่าทาง เพื่อตัดสินว่าพวกเขาพูดความจริงหรือโกหก
  • เชื่อมโยงหลักฐาน: นำหลักฐานที่พบมาเชื่อมโยงกันเพื่อไขคดี
  • ติดตามความซับซ้อนของคดี: จากคดีเล็กๆ ไปสู่คดีใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันในระดับสูง
ทั้งหมดที่ทีมงานคิดและสร้างมามันคือรายละเอียดอันสุดน่าจดจำในสื่อในฐานะเกมนั้นคือ ความท้าทายในการเล่นเป็น “ตำรวจ”
Chapter 4
Chapter 4 : ตำรวจที่ว่ามันคืออะไรเอาจริงยังไม่เข้าใจขนาดนั้น
‘ตำรวจ’สืบสวน
ทำไมยอดนักสืบจิ๋วโคนันมักโดนตำรวจตำหนิในการช่วยไขคดีทุกครั้ง
ก่อนอื่นอยากที่จะเจาะไปที่ ตำรวจสืบสวน และ นักสืบเอกชน ทั้งสองนั้น มีหน้าที่ที่คล้ายกันในบางแง่มุม แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านอำนาจ หน้าที่ และขอบเขตของการทำงาน ซึ่งในเกม L.A. Noire นั้น ผู้เล่นจะไม่ได้เล่นเป็น ‘นักสืบ’ นะครับ แต่จะเล่นสัมผัสกับคำว่า ‘ตำรวจสืบสวน’ มากกว่า เอาเข้าจริงๆ ในเกม Cole Phelps มักจะถูกเรียกคุณ Detective = นักสืบ อยู่ดีมันเป็นเรื่องภาษานิดหน่อยที่ใช้เรียกสรรพนามตัวคน กับ ตำแหน่งหน้าที่นะครับ
ตำรวจสืบสวน (Detective / Criminal Investigator)
ตำรวจสืบสวนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำงานในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วยพิเศษด้านอาชญากรรม
หน้าที่หลัก :
  • สืบสวนคดีอาชญากรรม เช่น ฆาตกรรม ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
  • เก็บหลักฐานจากสถานที่เกิดเหตุ
  • สอบสวนพยานและผู้ต้องสงสัย
  • ทำงานร่วมกับพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดี
  • มีอำนาจจับกุมและออกหมายค้นได้ตามกฎหมาย
จุดเด่นของตำรวจสืบสวน:
มีอำนาจทางกฎหมาย
ทำงานภายใต้หน่วยงานรัฐ
มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลสำคัญ เช่น ประวัติอาชญากรรม
นักสืบเอกชน (Private Investigator - PI)
นักสืบเอกชนเป็นบุคคลหรือบริษัทที่รับงานสืบสวนโดยอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ
หน้าที่หลัก :
  • สืบหาข้อมูลตามคำขอของลูกค้า เช่น ติดตามบุคคล ตรวจสอบพฤติกรรม
  • สืบคดีนอกเหนือจากอาชญากรรม เช่น คดีนอกใจ คดีทรัพย์สิน
  • ใช้กล้องวงจรปิดหรืออุปกรณ์ดักฟัง (ในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต)
  • ทำงานร่วมกับทนายหรือบริษัทเอกชน
จุดเด่นของนักสืบเอกชน:
รับงานได้หลายประเภท ไม่จำกัดเฉพาะคดีอาชญากรรม
ทำงานอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับรัฐ
ไม่มีอำนาจจับกุม ต้องทำงานภายใต้ขอบเขตกฎหมาย
เพราะโคนันทำตัวให้เป็นนักสืบเอกชนเหมือนโมริโคโกโร่มักใช้ช่องทางการสืบสวนแบบฟรีสไตล์โดยไม่คำนึงถึงขอบเขตหรือกฏหมายแบบตำรวจสืบสวนแต่บังเอิญทั้งสองมักอยู่ในสถานการณ์เดียวกันเป็นประจำ ทำให้บางครั้งการสืบสวนทางโคนันมักมุทะลุรวดเร็วมากกว่าแต่ก็ไม่พ้นการโดนดุโดนจับลากออกเมื่อโดนจับได้ในขั้นตอน ไม่แน่ใจว่าโดนลากออกเพราะขัดต่อกฏหรือเพราะเป็น ‘เด็ก’ กันแน่…แต่คิดว่าทั้งสองนั้นแหละ สุดท้าย ทั้งสองอาชีพต้องอาศัยทักษะการสังเกต ความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาความจริง
ลงลึกไปอีกกับ ตำรวจสืบสวน ขออิงมาจาก ในสหรัฐอเมริกาตำรวจสืบสวนในอเมริกาสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับใหญ่ๆ ขอเอามาทุกยศถาบรรดาศักดิ์นะครับ
ระดับท้องถิ่น (Local & State Law Enforcement)
ตำรวจสืบสวนภาคสนาม ทำคดีอาชญากรรม Detective (Det.) / Investigator
ระดับรัฐบาลกลาง (Federal Law Enforcement - FBI, DEA, ATF, etc.)
FBI (Federal Bureau of Investigation) – สืบสวนคดีใหญ่ระดับชาติ เช่น การก่อการร้าย
DEA (Drug Enforcement Administration) – สืบสวนคดียาเสพติด
ATF (Bureau of Alcohol, Tobacco, Firearms and Explosives) – สืบสวนเกี่ยวกับอาวุธปืนและวัตถุระเบิด
U.S. Marshals Service – สืบสวนและติดตามผู้ต้องหาหลบหนี
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพิเศษ (Specialized Law Enforcement)
Secret Service – สืบสวนอาชญากรรมทางการเงินและปกป้องบุคคลสำคัญ
Homeland Security Investigations (HSI - ICE) – สืบสวนคดีข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์
Postal Inspectors (USPIS) – สืบสวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับไปรษณีย์
ในสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับ "Detective" ในระดับท้องถิ่น และ "Special Agent" ในระดับรัฐบาลกลาง ซึ่งทั้งสองแบบมีอำนาจและขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกัน ใน L.A. Noire เราคือ กรมตำรวจลอสแองเจลิส LAPD ระดับท้องถิ่น เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ระดับท้องถิ่น
ควบคุมดูแลโดย เมืองลอสแองเจลิส หัวหน้าสูงสุดคือ Chief of Police ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย นายกเทศมนตรีลอสแองเจลิส (Mayor of Los Angeles) รับผิดชอบ ดูแลพื้นที่ในเขตเมืองลอสแองเจลิสเท่านั้น ไม่มีอำนาจเหนือเขตอื่นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในเกม Cole Phelps อดีตทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามาเป็นตำรวจและไต่เต้าขึ้นไปเป็น Detective (นักสืบ) เรามาดูลำดับยศของตำรวจสืบสวนกันดีกว่าขอเรียงจากในเกมให้เห็นภาพ
เริ่มต้นเกมในฐานะเจ้าหน้าที่สายตรวจ (Patrol Officer) ออกลาดตระเวนและจัดการคดีเล็กๆ เช่น การปล้นหรือการจี้ สวมเครื่องแบบตำรวจและใช้ปืนลูกโม่มาตรฐานของ LAPD หลังจากนั้นจะเลื่อนตำแหน่งจากสายตรวจ Cole Phelps จะกลายเป็น Detective (นักสืบ) ใส่หมวกพร้อมสูทเทสดีและถูกส่งไปทำงานในแผนกต่างๆ ดังนี้
Traffic Desk (แผนกจราจร) คดีที่รับผิดชอบ: อุบัติเหตุบนท้องถนน, รถยนต์ถูกขโมย, อาชญากรรมเกี่ยวกับยานพาหนะ
Homicide Desk (แผนกฆาตกรรม) คดีที่รับผิดชอบ: คดีฆาตกรรม โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับ Black Dahlia Killer
Vice Desk (แผนกอาชญากรรมรอง) คดีที่รับผิดชอบ: การค้ายาเสพติด, การพนันผิดกฎหมาย, อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับมาเฟีย
Arson Desk (แผนกวางเพลิง) คดีที่รับผิดชอบ: คดีวางเพลิง, ระเบิด, อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
ในเกมเราจะเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจากสายตรวจไปเป็นนักสืบระดับต่างๆ แต่ในโลกความเป็นจริง นักสืบต้องใช้เวลาหลายปีก่อนจะเลื่อนตำแหน่งขึ้นไป และต้องสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนระดับเริ่มต้นเป็น Police Officer I & ll (ตำรวจสายตรวจ) ผ่านการฝึกที่ Los Angeles Police Academy ออกปฏิบัติหน้าที่สายตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 3-5 ปี เลื่อนเป็น Police Officer III ต้องมีประสบการณ์และได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม สอบเพื่อเป็น Detective I
ต้องผ่านการทดสอบความสามารถในการสืบสวน ไต่ระดับเป็น Detective II และ III ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และจำนวนคดีที่ประสบความสำเร็จ แค่เห็นก็เห็นถึงอายุของพวกตำรวจรุ่นเก๋ามากมายที่นั่งแท่นตำแหน่งใหญ่โตแต่ไม่ใช่กับเกม แค่เราทำคดีให้ได้หลายดาว ไม่ขับรถชนสร้างความเสียหาย และเลือกคนร้ายที่ถูกเป้าหรือถูกใจ เราก็พร้อมจะได้รับคำชื่นชมจากตำรวจผู้หลักผู้ใหญ่และพร้อมที่จะดีดนิ้วโยกเราให้ขึ้นในวันที่ผลลัพธ์มันดีต่อภาพรวมของกรม หรือ ดีดนิ้วให้เราลงกับวันที่ผลลัพธ์ไม่สมควรกับความถูกต้องของคนภายใน
การปรับลดส่งอำนาจในกรมตำรวจสื่อให้เห็นได้ชัดในระบบการทำงานที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของกรมบางทีอาจจะไม่สนผลลัพธ์ของความถูกควรในคดีเลยด้วยซ้ำ
Chapter 5
Chapter 5 : พูดถึงสื่อตำรวจสืบสวนมักเห็นว่ามันต้องมีคู่หูสะส่วนใหญ่มันมาจากอะไรวะ?
DUO DETECTIVE สองที่มากกว่าหนึ่ง
การเป็นตำรวจหน้าใหม่เข้ามาในกรมแน่นอนต้องมีพี่เลี้ยง ซึ่งในนามของการเป็นตำรวจสืบสวนยังไงก็ต้องโดนจับให้ไปคู่กับอีกคน ออกมาเป็นสูตรคู่หูตำรวจที่มักเห็นผ่านสื่อมากมาย ซึ่งความสนุกของในช่วงที่ได้เล่น L.A. NOIRE คือ การผจัญภัยของ Cole Phelps ที่เริ่มไต่เต้าตั้งแต่เป็นแค่สายตรวจไปจนถึงเป็นหน่วยสืบสวนคดีใหญ่ๆ ทุกช่วงแผนกแน่นอนจะได้เจอกับการเปลี่ยนคู่หูอยู่ทุกครั้งไป
บางคนสุขุมไม่ค่อยมีปากเสียง
บางคนก็ติดตลกพูดตรงไปตรงมา
หยาบกระด้างติดเหล้าไม่ค่อยเอาจริงเอาจังเอางาน (งานที่ว่าคือมึงเป็นตำรวจนะ)
หรือแม้กระทั่ง เจ้าเล่ห์ ฉ้อโกง สนใจแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง
ใช่ครับคู่หูที่แต่ละครั้งได้เจอการันตีได้เลยว่าน่าจดจำทุกตัว พวกเขาจะมีหน้าที่ช่วยการสอน เล่าเรื่อง เปิดโลกความเป็นไปหรือเพิ่มมิติตัวละครเอกตั้งแต่ต้นจนจบ สะท้อนออกมาแทบจะทุกบทสนทนา การกระทำ หรือ การแสดงความคิดเห็น mindset ต่างๆนาๆ แต่ๆที่ผมสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับ คู่หูตำรวจ ทำไมต้องสอง ทำไมไม่สาม ไม่สี่ หรือ มันกำเนิดมาจากอะไร…. พวกคุณต้องเคยเห็นสิ
ตัวอย่าง
Rush Hour (1998-2007) – คู่หูตำรวจ สารวัตรลี & นักสืบเจมส์ คาร์เตอร์
Bad Boys (1995-2024) – คู่หูตำรวจ ไมค์ โลว์รี & มาร์คัส เบอร์เน็ตต์
Men in Black (1997-2019) – คู่หูเจ้าหน้าที่พิเศษ Agent J & Agent K
Sherlock Holmes – คู่หูนักสืบ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ & ดร.วัตสัน
True Detective (2014-ปัจจุบัน) คู่หูนักสืบ แต่ละซีซันมีคู่หูตำรวจต่างกัน เช่น รัสต์ โคล & มาร์ตี้ ฮาร์ท
คิดว่าที่ยกมาน่าจะแมสสุดๆทุกคนน่าจะเคยเห็น
เอาละกลับมาที่ข้อมูลต้นกำเนิดอะไรยังไงบ้าง
ในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อหน่วยงานตำรวจสมัยใหม่เริ่มก่อตั้งขึ้นในยุโรป หนึ่งในหน่วยตำรวจสมัยใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งโดย เซอร์โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลอนดอน Scotland Yard ได้เริ่มนำระบบนักสืบ (Detective) มาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1842 ในระยะแรก นักสืบมักทำงานเป็นรายบุคคลหรือตัวคนเดียว แต่ด้วยความซับซ้อนของคดีและความต้องการในการตรวจสอบและเรื่องการถ่วงดุลอำนาจ จึงเริ่มมีการทำงานเป็นคู่มากขึ้น
น่าสนใจนะคือถ้าปล่อยให้นักสืบคนเดียวทำงานกับคดีซับซ้อนๆหรือยากเราในฐานพสมมุติว่าเป็นหัวหน้างานจะตรวจสอบยังไงว่า ไอ่หนุ่มโคนันนี้มีวิธีการปฏิบัติงานยังไงบ้างที่ให้ผลลัพธ์ของการไขคดีออกมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้าเราเป็นนักสืบเดี่ยว จะสามารถแอบใช่วิธีการโกงๆ ผิดกฏหมายเนียนๆ ใช้อำนาจความเป็นตำรวจแบบแปลกๆได้โดยที่พยานในคราบผู้ถือกฏหมายแทบจะมองไม่เห็น
การทำงานเป็นคู่เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เมื่อหน่วยงานสืบสวนเริ่มมีโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น การจับคู่นักสืบที่มีประสบการณ์กับนักสืบรุ่นใหม่กลายเป็นวิธีปฏิบัติที่แพร่หลาย ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการสืบสวนจากรุ่นสู่รุ่น ในยุคแรก ตำรวจยังไม่มีรถยนต์ การลาดตระเวนด้วยการเดินจึงจำเป็นต้องใช้คู่หู
ยุค 1920-1930: เริ่มมีรถตำรวจ ระบบคู่หูกลายเป็นมาตรฐาน โดยมีคนขับและคนดูแลวิทยุ
ยุค 1960: การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมทำให้ระบบคู่หูได้รับความสำคัญมากขึ้น
ยุค 1980-ปัจจุบัน: ระบบคู่หูตำรวจถูกใช้ทั่วโลก และยังคงพัฒนาผ่านเทคโนโลยี เช่น ตำรวจคู่หูในระบบดิจิทัล (AI หรือ Drone คู่หู)
ตำรวจต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันอาชญากรรม
หลักการ "Peelian Principles" โดย เซอร์ โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel)
หลักการพื้นฐานของการทำงานแบบ Duo Detective
(1) เสริมซึ่งกันและกัน (Complementary Skills) แนวคิดสำคัญของการทำงานเป็นคู่คือการจับคู่นักสืบที่มีทักษะและความสามารถต่างกัน เพื่อให้เสริมจุดแข็งและชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกัน รูปแบบที่พบบ่อยก็คือ
คู่ระหว่างนักวิเคราะห์กับนักปฏิบัติ: นักสืบคนหนึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐาน ในขณะที่อีกคนมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการภาคสนาม
ตัวอย่าง Rust Cohle & Marty Hart จาก True Detective Ss1
ทำไมคู่นี้ถึงเป็น "นักวิเคราะห์ vs. นักปฏิบัติ"?
Rust Cohle คิดวิเคราะห์และใช้ตรรกะในเชิงลึก ขณะที่ Marty Hart ลงมือทำและเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง
Marty เชื่อในการใช้สัญชาตญาณตำรวจ ขณะที่ Rust เชื่อในหลักฐานและแนวคิดทางจิตวิทยา Rust เป็นคนที่คิดลึกเกินไปและมองเห็นสิ่งที่คนอื่นมองข้าม ขณะที่ Marty ใช้วิธีสืบสวนแบบคลาสสิก
Rust Cohle = นักวิเคราะห์ (Theorist)
Marty Hart = นักปฏิบัติ (Pragmatist)
คู่หูนี้ทำให้ True Detective ซีซั่นแรกเข้มข้นและโดดเด่น เพราะการสืบสวนของพวกเขามีทั้งความคิดเชิงลึกและการลงมือจริงอย่างสมดุล ทั้งคู่ต้องร่วมมือกัน แม้จะมีวิธีคิดและบุคลิกที่แตกต่างกันสุดขั้ว
คู่ระหว่างผู้มีประสบการณ์กับมือใหม่: นักสืบอาวุโสถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ร่วมงานที่อายุน้อยกว่า
ตัวอย่าง
Detective William Somerset(Morgan Freeman)
& Detective David Mills (Brad Pitt) Se7en (1995)
นักสืบอาวุโส: Detective William Somerset
เป็นตำรวจนักสืบมากประสบการณ์ ใกล้เกษียณ
รอบคอบ ใช้ตรรกะและวิธีคิดแบบคลาสสิกในการสืบสวน
มีแนวคิดว่าโลกเต็มไปด้วยความโหดร้าย พยายามแนะนำและปกป้องคู่หูมือใหม่
มือใหม่ไฟแรง: Detective David Mills (Brad Pitt)
ตำรวจหนุ่มไฟแรงที่เพิ่งย้ายเข้ามาในเมือง
ใจร้อน อารมณ์รุนแรง พร้อมเผชิญหน้ากับอาชญากรโดยตรง
มีความหวังและเชื่อว่าความยุติธรรมสามารถเอาชนะความชั่วร้ายได้
มองโลกแบบขาว-ดำ ต่างจาก Somerset ที่เห็นความซับซ้อนของมนุษย์
"Se7en" เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของแนวนี้ เพราะมันไม่ได้แค่เล่าเรื่องนักสืบไขคดี แต่ยังเป็นเรื่องราวของคนสองคนที่มีมุมมองต่อโลกแตกต่างกันและต้องมาประสานงานกันในสถานการณ์ที่โหดร้ายสุดขั้ว!
คู่ระหว่างผู้รอบคอบกับผู้กล้าเสี่ยง: ความสมดุลระหว่างความระมัดระวังกับความกล้าได้กล้าเสีย ตัวอย่างที่1
Levi Ackerman & Eren Yeager (Attack on Titan - อนิเมะ/มังงะ*)
ผู้รอบคอบ: Levi Ackerman – ใช้กลยุทธ์และพยายามลดความสูญเสีย
ผู้กล้าเสี่ยง: Eren Yeager – พร้อมทุ่มสุดตัว ไม่สนว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
ตัวอย่างที่2
James Bond & Q (James Bond Series - หนัง/นิยาย)
ผู้รอบคอบ: Q – นักพัฒนาอุปกรณ์สายลับ วางแผนทุกอย่างให้แน่นอน
ผู้กล้าเสี่ยง: James Bond – ลุยเดี่ยว บุกเข้าไปกลางดงศัตรูโดยไม่ลังเล
จริงๆแล้วตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมด สามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งนิยามหลักการคู่หูบางคู่ยังผสมกันทั้งหมดในทุกสถานการณ์ หลักการพวกนี้เป็นแค่การแยกประเภทให้เห็นสัดส่วนของการทำงานสองคนให้เห็นได้ชัด คุณว่า โมริโคโกโร่ กับ โคนัน เป็นคู่หูแบบไหน?
(2) การตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) การทำงานเป็นคู่ช่วยป้องกันความผิดพลาดและการใช้อำนาจในทางที่ผิด เนื่องจาก:
  • นักสืบแต่ละคนสามารถตั้งคำถามและท้าทายมุมมองของอีกฝ่าย
  • การตัดสินใจสำคัญต้องผ่านความเห็นชอบของทั้งสองคน
  • ลดความเสี่ยงจากการคอร์รัปชันเนื่องจากต้องมีการสมรู้ร่วมคิดกัน
  • เป็นพยานในการปฏิบัติงานและการสอบปากคำซึ่งกันและกัน
สิ่งนี้คือกลไกที่ทำให้เคมีของทั้งสองคนมีมิติมากขึ้นขึ้นชื่อคำว่า ‘คู่หู’ แท้ๆแต่ถ้ามองจริงๆมันเทียบจะมีความคัดแย้งในตัวของการทำงานเป็นคู่สะส่วนใหญ่แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับการใช้หลักการนี้กับอาชีพที่มีการใช้อำนาจ เพราะถ้าเลวก็ควรมีดีในนั้น แต่ถ้าดีทั้งสองก็คงจะมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจ สุดท้ายถ้าเลวทั้งคู่ละ…...
(3) แบ่งงานและประสิทธิภาพ (Division of Labor) การทำงานเป็นคู่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบสวนโดย แบ่งงานตามความเชี่ยวชาญเฉพาะก็จะสอดคล้องกับหลักการเสริมกันโดยตรงคู่ระหว่างนักวิเคราะห์กับนักปฏิบัติ สามารถดำเนินการสืบสวนในหลายแนวทางพร้อมกันช่วยกันวิเคราะห์และประมวลข้อมูลจำนวนมากเพิ่มความปลอดภัยในสถานการณ์อันตรายระวังหน้าและหลังกันในทุกสถานการณ์
เอาจริงๆ มันคือหลักการทำงานที่ใช้ได้เทียบจะทุกงาน ถ้าปลายทางคือ 1 ชิ้นงานร่วมกันการแบ่งงานตามความเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ฉลาดอยู่แล้วแต่สำหรับงานตำรวจบางครั้งก็ต้องหลังชนการอยู่ในบางสถานการณ์ เพราะความยากของงานพวกนี้มักจะพ่วงมาด้วยความเสี่ยงจนความตาย ลองคิดดูถ้าถ้าอยู่หน้าบ้านผู้ต้องสงสัยการที่คุณบุกเข้าไปคนเดียวโดยฝากอีกคนรอหน้าประตูก็คงจะเป็นอะไรที่ตลกใช่เล่น
มิติเชิงปรัชญาและจิตวิทยาของ Duo Detective คือ การสะท้อนแนวคิดทวิลักษณ์ (Dualism) คู่นักสืบมักเป็นตัวแทนของความคิดสองขั้วที่ตรงข้ามกันเหมือน หยินและหยาง ความขัดแย้งระหว่างแนวคิดเหล่านี้ไม่เพียงสร้างพลวัตที่น่าสนใจ แต่ยังเปิดโอกาสให้มีการสำรวจคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงความจริงและความยุติธรรม
พัฒนาการของความสัมพันธ์ที่หลากหลายในคู่นักสืบ
ความสัมพันธ์ระหว่างนักสืบคู่หูมักมีพัฒนาการที่ซับซ้อนเมื่อเวลาผ่านไป:
  • 1.
    จากความขัดแย้งสู่การยอมรับ: เริ่มต้นจากความไม่ลงรอยและพัฒนาสู่การเคารพซึ่งกันและกัน
  • 2.
    การสร้างความไว้วางใจ: ผ่านวิกฤติและสถานการณ์ที่ท้าทายร่วมกัน
  • 3.
    การขยายความสัมพันธ์นอกเหนือจากงาน: จากความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงานสู่มิตรภาพในชีวิตส่วนตัว
แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่การทำงานแบบ Duo Detective ก็มีข้อจำกัดและความท้าทาย:
  • ต้นทุนทรัพยากรบุคคลที่สูงขึ้น
  • ความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่อาจบั่นทอนประสิทธิภาพ
  • ความเสี่ยงจากการเกิดกลุ่มย่อยภายในองค์กร
  • ความท้าทายในการจับคู่บุคลิกและทักษะที่เหมาะสม
แนวคิดการทำงานแบบ Duo Detective มีรากฐานที่ลึกซึ้งทั้งในประวัติศาสตร์การสืบสวนสอบสวนและในวัฒนธรรมป๊อป ความสำเร็จของรูปแบบนี้ไม่เพียงอยู่ที่ประสิทธิภาพในการสืบสวน แต่ยังอยู่ที่ความสามารถในการสะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการทั้งความเป็นอิสระและการเชื่อมโยงกับผู้อื่นไม่ว่าจะในโลกของความเป็นจริงหรือในโลกของบันเทิง
นักสืบคู่หูยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและการผสมผสานมุมมองที่แตกต่างเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน พลวัตอันซับซ้อนและความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างนักสืบคู่หูจะยังคงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครและเรื่องราวที่น่าจดจำต่อไปในอนาคต
Chapter 5.5
Chapter 5.5 : ขอโทษข้อมูลเยอะไปแต่เราแค่เจอแล้วน่าสนใจเลยลากยาวขอต่ออีกนิดกลบมาในเกม
คืองี้จากที่บอกไปว่าในเกมจะได้เจอคู่หูหลายคนนั้นคือส่วนสำคัญของการสร้างสีสันของเกมจริงๆไปต่อตามนี้โยงกับข้อมูลก่อนหน้านั้นออกมา
คู่หูในสายตรวจ (Patrol Desk) Ralph Dunn & Cole Phelps
หลักการคู่หูแบบ: อาวุโส vs. มือใหม่ Ralph Dunn เป็นตำรวจสายตรวจที่มีประสบการณ์มากกว่า Phelps และคอยแนะนำเรื่องการทำงานในกรมตำรวจ มีแนวทางการทำงานแบบดั้งเดิม ไม่ได้ทะเยอทะยานเหมือน Phelps ทำหน้าที่แนะนำ Phelps เกี่ยวกับงานตำรวจเบื้องต้น
Phelps เป็น "มือใหม่" ที่เพิ่งเริ่มต้นอาชีพตำรวจ ในขณะที่ Dunn เป็น "อาวุโส" ที่ช่วยปูพื้นฐานให้เหมือนช่วงtutorialเกมนั้นเอง
คู่หูในแผนกคดีจราจร (Traffic Desk) Stefan Bekowsky & Cole Phelps
หลักการคู่หูแบบ: ผู้รอบคอบ vs. ผู้กล้าเสี่ยง Bekowsky เป็นตำรวจที่มีประสบการณ์ และมีแนวทางการทำงานที่รอบคอบมากกว่า Phelps มองว่า Phelps เป็นพวกบ้างานและทะเยอทะยานเกินไป พยายามเตือน Phelps ไม่ให้พาตัวเองเข้าไปในสถานการณ์อันตราย เข้ากับ Phelps ได้ดี เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นตำรวจที่ต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง
Phelps เป็น "ผู้กล้าเสี่ยง" ที่มุ่งมั่นไขคดีอย่างเต็มที่ ขณะที่ Bekowsky เป็น "ผู้รอบคอบ" ที่พยายามรักษาสมดุลของปฏิบัติการ
คู่หูในแผนกคดีฆาตกรรม (Homicide Desk) Rusty Galloway & Cole Phelps
หลักการคู่หูแบบ: อาวุโส vs. มือใหม่ & นักปฏิบัติ vs. นักวิเคราะห์ Galloway เป็นนักสืบที่ทำงานในแผนกฆาตกรรมมานานและมอง Phelps เป็นมือใหม่ที่ยังต้องเรียนรู้และยังเป็นตำรวจสายภาคสนามที่ไม่ค่อยสนใจรายละเอียดและชอบใช้วิธีการตรงไปตรงมาเดินหน้าเข้าลุยมักใช้สัญชาตญาณและมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมแล้วรีบตัดสินอะไรง่ายๆไปก่อนช่วงนี้ Phelps เลยเป็นฝ่ายคิดวิเคราะห์มากกว่าและพยายามใช้หลักฐานในการสืบสวน
Galloway เป็น "อาวุโส" และ "นักปฏิบัติ" ที่ทำงานตามแบบตำรวจยุคเก่า ขณะที่ Phelps เป็น "มือใหม่" และ "นักวิเคราะห์"
คู่หูในแผนกคดีรอง (Vice Desk) Roy Earle & Cole Phelps
หลักการคู่หูแบบ: ผู้รอบคอบ vs. ผู้กล้าเสี่ยง & คู่หูที่ขัดแย้งกัน Earle เป็นนักสืบที่เต็มไปด้วยคอนเนคชันและรู้วิธีเล่นเกมการเมืองในกรมตำรวจไม่สนใจเรื่องความถูกต้อง สนใจแต่ผลประโยชน์และอำนาจตรงกันข้ามกับ Phelps ที่ต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอมักพยายามทำให้ Phelps ไม่ยุ่งกับเรื่องที่อาจเป็นอันตรายต่ออำนาจของกรมตำรวจ
Phelps เป็น "ผู้กล้าเสี่ยง" ที่ต้องการเปิดโปงความจริง ส่วน Earle เป็น "ผู้รอบคอบ" ที่สนใจแต่การรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง
จะเห็นได้ว่าการที่ผู้พัฒนาเกมเลือกที่จะเปลี่ยนหน้าคู่หูไปเรื่อยๆเป็นการเลือกที่ถูกต้องเอามากๆ นอกจากรสชาติที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยตามแผนกคดี
การเล่าเรื่องในรูปแบบของเกมก็มีจังหวะที่เปลี่ยนไป สะท้อนโลกความเป็นจริงในการทำงานว่า เราไม่อาจเรื่องเพื่อนร่วมงานได้ เราอาจจะเจอดีหรือร้าย ก็ต้องเป็นสิ่งที่เราต้องผจญภัยเองในโลกใบนี้ แต่ทุกคนที่เข้ามามักมาทำให้เราเรียนรู้อะไรซักอย่างแบบไม่ต้องสงสัย ถึงแม้ว่าคู่หู พี่เลี้ยง ใดๆ จะโหดร้ายเลวทรามยังไง ผมก็เชื่อว่าต้องมีอะไรให้เรียนรู้แน่ๆ เช่น การเลือกที่จะไม่ทำแบบเขาในอนาคต….
Chapter 6
Chapter 6 : แค่อยากเขียนอะไรซักอย่างนะครับ…
จริงๆแค่เกมๆนึง ยังสามารถแตกเรื่องราวความรู้ได้อีกหลายความสงสัยเลยครับ แต่คิดว่าเท่านี้ก่อน มันเริ่มจะเยอะไปแกรมม่างานเขียนก็อาจจะไม่เหมือนชาวบ้านเขานะครับ ผมแค่เป็นคนธรรมดาที่ขี้สงสัย และชอบหมกมุ่นอยู่กับอะไรเป็นพักๆ คุณรู้ไหมช่วงที่ผมเล่นเกม L.A. Noire คือช่วงเดียวกับที่ผมได้ดูซีรีส์ Mad Man ซี่งเป็นซีรีส์ที่เซ็ทอัพในยุคใกล้ๆกันเลยยิ่งทำให้อิน ผมนั่งฟัง Jazz Noire เพราะติดมาจาก ดนตรีในเกม L.A. Noire
ใครได้เล่นก็ต้องบอกว่ามันดีมากๆจนถึงขั้นเอาชนะรางวัล 2012 Winner BAFTA Games Award Best Original Music จาก Andrew Hale และ Simon Hale
ผมนั่งหาเกมสืบสวนขำๆในStream อยากเล่นฟีลนี้อีกแต่กับพบว่าหาได้ยากยิ่งนัก ผมนั่งหาหนังสืบสวนนึกถึง la confidential (1997) เปิดดูได้แปปเดียวหลับ….นั้นแหละครับแค่ทั้งหมดที่เขียนที่หาความรู้มาเกิดจากอารมณ์อยากเขียนล้วนๆ ทุกสิ่งที่เป็นข้อมูลผิดหรือถูกรบกวนบอกกันแก้ไขกันด้วยนะครับ อย่านำตัวหนังสือของผมไปอ้างอิงกับอะไรเลย เพราะผมแค่หามาแชร์เล่าสู่กันฟังในท่าที ตั้งคำถามนั้นเอง สุดท้าย ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ
L.A. Noire เป็นมากกว่าแค่เกม มันเป็นประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน ซึ่งจะนำผู้เล่นไปสู่ยุคที่เต็มไปด้วยความมืดมนและอาชญากรรม กลไกการเล่นเกมที่เป็นนวัตกรรม ผสมผสานกับเรื่องราวที่น่าสนใจและโลกที่มีรายละเอียดมากมาย ทำให้มันเป็นชื่อที่น่าจดจำอย่างแท้จริง.
do the write things.
อ้างอิง ChatGPT และ อินเทอร์เน็ต
Thank you
โฆษณา