Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Journaling Our Journey
•
ติดตาม
10 เม.ย. เวลา 01:00 • สุขภาพ
หนึ่งในสิ่งที่สามารถสร้างความทุกข์ใจให้กับเราได้มากที่สุด
คือนิสัย “เดาใจคนอื่น” (หรือที่นักจิตวิทยาสาย Cognitive Behavioral Therapy เรียกว่า Mind Reading)
ยกตัวอย่างเช่น
เรากำลังวิ่งออกกำลังกายอยู่ในสวนสาธารณะ และเราเห็นว่ามีคุณป้าคนเดิม (ที่ขายของอยู่ในร้านค้าภายในสวน) กำลังจ้องมองเราอยู่
ตอนนั้นเองที่นิสัย “เดาใจคนอื่น” ของเราทำงานขึ้นมา และทำให้เราเกิดความคิดขึ้นมาว่า “ป้าเขาต้องส่ายหัวอยู่ในใจแน่ๆเลยว่า ฉันมาวิ่งออกกำลังกายที่สวนนี้ตั้งนานแล้ว แต่ฉันก็ยังอ้วนอยู่ ฉันมันไม่ได้เรื่องเอาซะเลย” ส่งผลให้เรารู้สึกผิดหวัง เสียใจ หดหู่
เป็นต้น
ข้อสังเกตข้อหนึ่งของนิสัย “เดาใจคนอื่น” ก็คือ เรามีแนวโน้มที่จะ “เดาใจคนอื่น” ในลักษณะที่ติดลบ (มากกว่าบวก)
นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นิสัย “เดาใจคนอื่น” สร้างความทุกข์ใจให้กับเราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อที่จะเริ่มต้นแก้นิสัย “เดาใจคนอื่น” นี้ ไม่ใช่เพียงแค่การตระหนักรู้ถึงนิสัย “เดาใจคนอื่น” ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฝึกสร้างความคิด “เดาใจคนอื่น” ในลักษณะที่เป็นบวกเพิ่มเติมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น
นอกจากเราจะตระหนักว่าตัวเองกำลัง “เดาใจคนอื่น” ในช่วงที่เกิดความคิดขึ้นมาในใจว่า “ป้าเขาต้องส่ายหัวอยู่ในใจแน่ๆเลยว่า ฉันมาวิ่งออกกำลังกายที่สวนนี้ตั้งนานแล้ว แต่ฉันก็ยังอ้วนอยู่ ฉันมันไม่ได้เรื่องเอาซะเลย” แล้ว
เราอาจจะต้องฝึกสร้างความคิด “เดาใจคนอื่น” ในลักษณะที่เป็นบวกเพิ่มเติมด้วย (เช่น “ป้าเขาคงชื่นชมฉันอยู่ในใจนะ เพราะฉันสามารถมีความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายติดต่อกันได้แบบนี้”)
เป็นต้น
จริงอยู่ครับว่า ความคิด “เดาใจคนอื่น” ในลักษณะที่เป็นบวกดังกล่าว (ซึ่งเราได้สร้างขึ้นมา) มันอาจจะไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงหรอกครับ (เช่น จริงๆแล้ว ตอนที่ป้ามองมาที่เรา ในใจป้าอาจจะมีความคิดอยู่ในใจว่า “ฉันอยากให้ตัวเองกลับไปเป็นสาวเหมือนคนที่กำลังวิ่งออกกำลังกายอยู่ในสวนคนนี้จัง”)
แต่มันไม่สำคัญเลยครับว่า ความคิด “เดาใจคนอื่น” ที่เราสร้างขึ้นมานั้น มันจะตรงกับความเป็นจริงหรือเปล่า
สิ่งที่สำคัญก็คือ พอเราได้ลองสร้างความคิด “เดาใจคนอื่น” ของเราขึ้นมาแล้ว มันจะช่วยให้เราเห็นชัดเจนมากขึ้นว่า การ “เดาใจคนอื่น” ให้ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นเรื่องที่ยากขนาดไหน
จุดนี้แหละครับที่จะค่อยๆลดทอนพลังอำนาจของนิสัย “เดาใจคนอื่น” (ในลักษณะที่ติดลบ) ได้
ยิ่งเราได้มีโอกาสฝึกทำ “แบบฝึกหัด” ในลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ นิสัย “เดาใจคนอื่น” (ในลักษณะที่ติดลบ) ก็จะค่อยๆจางลงเรื่อยๆ
…จนกระทั่งเราสามารถแก้ไขนิสัยนี้ของเราได้ในที่สุดครับ
จิตวิทยา
psychology
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย