10 เม.ย. เวลา 03:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

🌏 Global update ทรัมป์กลับลำ หนุนหุ้นโลกฟื้นแรง! หุ้นอะไรบ้าง น่าเก็งกำไรในระยะข้างหน้า?

ทรัมป์กลับลำ ดันหุ้นโลกและสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นแรงอย่างพร้อมเพรียงกัน
📌Key Events
1. การกลับลำของทรัมป์
- ทรัมป์ระงับการขึ้นภาษีตอบโต้กับคู่ค้าส่วนใหญ่ โดยคงไว้ที่อัตรา 10% ชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเปิดทางเจรจา ขณะเดียวกัน ก็ประกาศขึ้นภาษีจีนเป็น 125%
มุมมองของเรา
- ท่าทีสุดโต่งของทรัมป์ก่อนหน้านี้อาจทำเพื่อ บีบให้ได้ข้อเสนอที่ยอดเยี่ยม-จากคู่ค้าที่ร้อนรน
ในเบื้องต้นแล้ว การตัดสินใจแบบ "ทางสายกลาง" ของทีมเจรจาไทย ถือว่าทำได้ดีกว่าเวียดนามและอินเดีย
- การกลับลำของทรัมป์ในรอบนี้น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้อง และมีประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์โดดเดี่ยวจีน
ขณะที่ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่ทีมทรัมป์จะคิดภาษีอย่างเหมาะสมกับคู่ค้าทุกราย ด้วยเวลาที่จำกัดแบบก่อนหน้านี้
🔥 - สำหรับภาพระยะสั้น หุ้นที่มีโอกาสฟื้นตัวเด่นในระยะข้างหน้า คือ
I) ไทย-เวียดนาม ที่พึ่งพาการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม แม้เกาหลีเข้าเกณฑ์ดังกล่าว แต่ก็ยังดูเสี่ยงเกินไปสำหรับเก็งกำไร เนื่องจาก ผู้ที่มีบทบาทต่อการเจรจายังเป็นเพียงรักษาการปธน.ไม่ได้มีอำนาจเต็มที่
II) ญี่ปุ่น ที่บริษัทใหญ่ๆ มักมีรายได้จากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง รวมทั้งเป็นพันธมิตรสำคัญที่มีโอกาสคุยกับสหรัฐฯ ง่ายกว่าที่อื่นๆ
III) หุ้นเก็งกำไรที่ได้ประโยชน์จากนโยบายทรัมป์/การตอบโต้ของจีน (ดู Morning Recap 9 เมษายน)
อาทิ Boeing (BA US, Applied Materials (AMAT US), MP Materials (MP US), Amazon (AMZN US), Alibaba (9988 HK) เป็นต้น
🔥 - สำหรับภาพระยะกลางถึงยาว เบื้องต้นเรามีมุมมอง ดังนี้
I) เมื่อพิจารณารูปแบบการเจรจาของทรัมป์ในอดีต มักมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
✅- เปิดฉากด้วยข้อเรียกร้องเวอร์ๆ เกินจริง จนดูไร้สาระ!
✅- ข่มขู่!
✅- ชกปาก! เมื่อถูกสงสัยว่าจะทำจริงมั้ย ก็ทำเลย!
✅- สร้างสัมพันธ์! แสดงน้ำใจและความใจกว้าง
- ทิ้งเจ้าสาวไว้ที่แท่นวิวาห์! ก่อนจะเซ็นข้อตกลงเพียงนิดเดียว... ก็โกรธจนคลั่ง แล้วล้มโต๊ะ!
- คืนดี! กลับไปนั่งเจรจาใหม่อีกครั้ง
- ปิดดีล! และเคลมผลงาน
🔍 สิ่งที่ทรัมป์ทรัมป์เมื่อคืน น่าจะเป็นขั้นตอบที่ 4. (สร้างสัมพันธ์)
หลังจากนี้ ทรัมป์สามารถ "กลับไปกลับมาได้" จนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่ต้องการ
🔍 นอกจากภาษีตอบโต้แล้ว ยังต้องจับตา "ภาษีอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์"
โดยเฉพาะการเจรจาระหว่าง สหรัฐฯ และยุโรป
II) ความเสี่ยง Recession ของสหรัฐฯ ยัง "ไม่ได้หายไป"
เศรษฐกิจเบอร์ 1 ของโลก ยังคงเผชิญแรงกดดันจากการบริโภคที่มีทิศทางชะลอลง และความไม่แน่นอนของนโยบาย นอกจากเรื่องเศรษฐกิจที่เลวร้ายลง ตลาดก็จะถูกขับเคลื่อนด้วยคำพูดที่พลิกไปมาของทรัมป์
🔍 กลยุทธ์ที่ตอบโจทย์สถานการณ์ดังกล่าวคือ การลงทุนอย่างระมัดระวังและกระจายความเสี่ยงในหลายสินทรัพย์
"ความสมดุลคือกุญแจสำคัญ" ที่จะช่วยให้พอร์ตลงทุนอยู่รอดท่ามกลางความผันผวนที่เกิดขึ้น
III) เราไม่ได้กังวลหุ้นจีน โดยเฉพาะในฝั่งแผ่นดินใหญ่
การที่ทรัมป์มุ่งเล่นงานจีนเป็นหลัก ไม่ใช่เรื่องที่ผิดไปจากที่คนส่วนใหญ่คาด, รอบนี้จีนมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี, พฤติกรรมของทรัมป์บั่นทอนความเชื่อใจของพันธมิตรในระยะยาว
2. ความปั่นป่วนของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ
- bond yield 10 ปี ปรับขึ้นจาก 3.9% ดีดขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 4.51% ก่อนที่จะเริ่มนิ่ง
- การปรับขึ้นของ bond yield อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ความกังวลว่าจีนจะรีบเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ
, ความคาดหวังเงินเฟ้อที่สูงขึ้น, hedge funds ที่ขาดทุน และถูกบีบให้ขายสินทรัพย์สภาพคล่องสูง
เรามองเป็นจังหวะทีดีสำหรับการสะสม กองทุนตราสารหนี้คุณภาพ UGIS-N
- ตราสารหนี้คุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับช่วยปกป้องพอร์ตจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
- คาดเงินเฟ้อสูงขึ้นแค่ชั่วคราว และมีทิศทางชะลอลงตามกิจกรรมเศรษฐกิจ
- จีนไม่น่าจะ "รีบทิ้ง" พันธบัตรสหรัฐฯ เนื่องจาก จีนอาจเสียหายหนักจากมาตรการนี้เอง
- หากเกิดปัญหาที่สภาพคล่องในระบบ กรรมการ Fed ชุดปัจจุบันมีความ active และมีเครื่องมือหลายอย่าง
เพิ่มโอกาสในการลงทุนหุ้นนอกให้คุณง่ายกว่าเดิมกับ Thanachart Global Investment
เปิดบัญชีฟรี | ลงทุนไม่มีขั้นต่ำ | ค่าธรรมเนียมสุดพิเศษ | ฟรีโอนถึงสิ้นปี | ลงทุนได้ถึง 10 ประเทศ | เทรดหุ้นสหรัฐ 24 ชั่วโมง
📞เปิดบัญชีเลย คลิก https://bit.ly/3Q679OY หรือ Contact center 02-779-9000
เทรดหุ้นนอกง่าย ตลอด 24 ชม. ด้วยแอป Think+ Global
👉 โหลดเลย https://onelink.to/p6g8w2
#thanachartwealthsolution #ThanachartSecurities #หลักทรัพย์ธนชาต #ThanachartSecurities #TNS #Thanachart #TNSGlobal #TNSSec #หลักทรัพย์ธนชาต #ธนชาต #ลงทุน #หุ้นนอก #ลงทุนต่างประเทศ #หุ้นจีน
โฆษณา