11 เม.ย. เวลา 05:08 • ความคิดเห็น
ฟังดูเหมือนสมมติฐานในซีรีส์แนวดิสโทเปีย แต่จริงๆ แล้ว... เราทุกคนต่างก็อยู่ในเงาสะท้อนของ “สายตาที่มองไม่เห็น” อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ
ตั้งแต่เด็ก... เราถูกสอนให้ “ทำความดี ละเว้นความชั่ว”
เราถูกขีดกรอบพฤติกรรมด้วยวินัยในโรงเรียน กติกาในบ้าน กฎเกณฑ์ในศาสนา และกฎหมายในสังคม
ฟังดูอาจธรรมดา แต่นั่นคือ "ระบบควบคุมพฤติกรรมมนุษย์" ที่ประสิทธิภาพสูงมากที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์การปกครอง
เพราะเราควบคุมคนจำนวนมากไม่ได้ด้วยเจ้าหน้าที่แค่ไม่กี่คน
จึงต้องสร้าง “ดวงตาในจินตนาการ” ให้คนเชื่อว่ามีใครบางคนกำลังดูเขาอยู่เสมอ
มันเริ่มจากคุณครูหน้าห้อง ที่จ้องอยู่ตอนเราทำผิดในวัยเด็ก
ต่อด้วยเพื่อนร่วมงานที่จับตาเวลาเราทำงานช้ากว่าคนอื่น
เจ้านายที่รอประเมินผลตอนสิ้นเดือน
กล้องวงจรปิดตามห้าง
กฎหมายที่แปะไว้ทุกที่
เสียงในหัวของพ่อแม่ที่สั่งสอนเรา
และในบางคน... อาจรวมถึงพระเจ้าในความเชื่อด้วย
พอเราคุ้นเคยกับการถูก "มอง"
จิตใต้สำนึกของเราก็เริ่ม “มองตัวเอง”
แล้วค่อยๆ สร้าง “เราคนที่สังคมยอมรับ” ขึ้นมาทับซ้อนกับตัวตนจริงๆ ทีละน้อย โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว
พฤติกรรมบางอย่างเราไม่ได้ “ไม่ทำ” เพราะไม่อยากทำ
แต่ “ไม่กล้า” ทำ เพราะกลัวจะถูกเห็น
แม้ไม่มีใครอยู่ตรงนั้นเลยก็ตาม
นี่แหละครับ คือสิ่งที่นักจิตวิทยาและนักรัฐศาสตร์บางท่านอธิบายว่า
กลไกของอำนาจสมัยใหม่ ไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงหน้าเสมอ แต่ฝังตัวอยู่ในความคิดของเราแล้ว
ดังนั้น... ถ้าถามว่าเราจะทำยังไง ถ้ามีคนติดตามชีวิตเราทั้งวันทั้งคืน
ผมคงตอบว่า...
“เราก็แค่รู้สึกชัดขึ้น ว่าเรากำลังอยู่ในโลกที่เป็นแบบนั้นมาตลอด”
เพราะความจริงคือ... คนเราทำความดีได้ แม้ในที่ที่ไม่มีใครมอง
และทำความเลวได้ แม้ต่อหน้าคนทั้งโลก
สุดท้ายจึงไม่ใช่ “ใคร” ที่มองเราอยู่
แต่เป็น “ใครในใจเรา” ที่เรายอมให้เขากำหนดการใช้ชีวิตต่างหาก
สิ่งที่เราทำ เมื่อตอนที่ไม่มีใครเห็น คือสิ่งที่เราควรจะเป็นจริงๆ
คำคมที่ไม่มีเจ้าของชัดเจน แต่มักอยู่ในหัวของทุกคนเสมอ
โฆษณา