23 เม.ย. เวลา 08:00 • ธุรกิจ

จาก E-Commerce สู่ Ecosystem Commerce เปลี่ยนวิธีคิด พิชิตอนาคต

จากนี้การทำ E-Commerce จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในโลกของการตลาดดิจิทัล คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการทำธุรกิจออนไลน์คือหัวใจของความสำเร็จในยุคนี้ แต่เมื่อยุคเปลี่ยน เกมส์ก็เปลี่ยน การขายของออนไลน์ในวันนี้ไม่ใช่แค่การมีร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Marketplace หรือการยิงโฆษณาเพื่อสร้างยอดขายอีกต่อไป
หากมองย้อนกลับไปสัก 10 ปี การขายของออนไลน์คือการสร้าง “หน้าร้านดิจิทัล” บน Shopee, Lazada หรือเปิดเพจ Facebook หรือ Instagram ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มหาศาลโดยไม่ต้องมีหน้าร้านจริง แต่ปัญหาก็เริ่มปรากฏเมื่อการแข่งขันดุเดือดขึ้น ต้นทุนการโฆษณาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลลูกค้าไม่ใช่ของเราเอง และที่สำคัญคือ ความภักดีของลูกค้าเริ่มลดลง
ดังนั้น ในวันนี้ E-Commerce ไม่ได้เป็นแค่การขายของเหมือนเดิม แต่คือการสร้าง Ecosystem ที่ยั่งยืน
นี่คือเหตุผลว่าทำไมโลกธุรกิจในปี 2025 ต้องมุ่งสู่ Ecosystem Commerce ที่ไม่ใช่แค่การขายของ แต่คือ การ “สร้างชุมชน สร้างความผูกพัน และสร้างความยั่งยืน”
➡️ การเปลี่ยนผ่านจาก Marketplace-Centric สู่ Ecosystem Commerce เป็นความท้าทายและโอกาสใหม่
ในอดีต การพึ่งพา Marketplace ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นช่องทางที่ง่ายที่สุดในการขายสินค้า แต่ความท้าทายคือการควบคุม Data Ownership ที่ไม่ได้อยู่ในมือเรา การปรับนโยบายหรือค่าธรรมเนียมโดย Marketplace สามารถทำให้ธุรกิจสั่นคลอนได้ในพริบตา
สิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนจาก Marketplace-Centric ไปสู่ Direct-to-Consumer (DTC) เพื่อควบคุมทุกอย่างด้วยตนเอง การมีเว็บไซต์ของตนเอง การทำ Social Commerce ผ่าน Facebook, Instagram, TikTok หรือแม้กระทั่ง LINE Official Account กลายเป็นเรื่องจำเป็น แต่แค่นี้ยังไม่พอ
ธุรกิจในยุคใหม่จำเป็นต้องก้าวสู่ระดับถัดไป คือ Ecosystem Commerce ที่ไม่เพียงแค่ขายของ แต่เป็นการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคที่มีความผูกพัน สร้าง “ชุมชน” ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ และสร้าง “ประสบการณ์” ที่เชื่อมโยงกันทุกช่องทาง
➡️ 3 เหตุผลว่าทำไมแค่ “ขายของ” ไม่พออีกต่อไป?
1. ลูกค้าถูกแย่งความสนใจได้ง่ายขึ้น
ยุคนี้คือยุคของ Attention Economy ที่ผู้บริโภคถูกดึงดูดจากทุกทิศทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย การตลาดดิจิทัล หรือแม้แต่คอนเทนต์จากคู่แข่ง การรักษาความสนใจของลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป หากธุรกิจของคุณยังคงพึ่งพา Marketplace อย่างเดียว ก็เหมือนเอาธุรกิจไปฝากไว้กับมือคนอื่น
Shein ไม่ได้แค่ขายเสื้อผ้า แต่ยังสร้าง Shein Community ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้ารีวิว แชร์สไตล์ของตนเอง และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้แค่ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ยังลดต้นทุนการโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะลูกค้ากลายเป็นทูตของแบรนด์ที่ช่วยโปรโมตโดยอัตโนมัติ เป็นการสร้าง UGC (User Generated Content) ที่ยั่งยืน
https://th.shein.com/Review-Guidance-a-478.html
2. ต้นทุนการโฆษณาพุ่งสูงขึ้น
Google Ads, Facebook Ads, TikTok Ads แพงขึ้นทุกปี การเข้าถึงแบบ Organic ลดลง การสร้างฐานลูกค้าที่ภักดีและมี Engagement สูงจึงเป็นวิธีเดียวที่ช่วยให้ต้นทุนลดลง การมี Community ที่แข็งแรงจึงเป็นหัวใจสำคัญของแบรนด์
แนวคิดใหม่ที่อยากแนะนำ คือ Transforming Customer Loyalty แทนที่จะยิงโฆษณาเพียงเพื่อสร้างยอดขาย เราต้องเริ่มคิดถึงการปลูกฝังความจงรักภักดี สร้างการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคผ่านเรื่องราวและคุณค่าที่แบ่งปัน การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและเชื่อมโยงกับอารมณ์ของลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ
3. การเปลี่ยนแปลงของ AI & Data Privacy
Apple ปิดกั้นการ Tracking ผ่าน iOS, Google เตรียมเลิกใช้ 3rd Party Cookies การพึ่งพาข้อมูลจากแพลตฟอร์มภายนอกคือความเสี่ยงสูงสุด
แนวทางที่ธุรกิจควรปรับตัว มีดังนี้
  • 1.
    สร้างฐานข้อมูลลูกค้า (First-Party Data) ผ่านการเก็บข้อมูลโดยตรง เช่น ระบบสมาชิกหรือโปรแกรม Loyalty
  • 2.
    ใช้เครื่องมืออย่าง Google Analytics 4 เพื่อประมวลผลข้อมูลจากหลายช่องทาง
  • 3.
    ใช้ AI Predictive Analytics เพื่อทำนายพฤติกรรมลูกค้าอย่างแม่นยำ
➡️ กลยุทธ์ Ecosystem Commerce เพื่อสร้างชุมชนที่เหนียวแน่นและมีพลัง ควรดำเนินการดังนี้
1️⃣ Community-Driven Commerce สร้างสาวกแบรนด์ที่แท้จริง
การสร้าง Community ไม่ใช่เพียงแค่การตั้งกลุ่มใน Facebook หรือ LINE Open Chat แต่คือการทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์อย่างแท้จริง การมีส่วนร่วม การสนทนา และการสร้างคุณค่าร่วมกันคือหัวใจของการสร้างสาวกแบรนด์
กรณีศึกษา Shopee Live & TikTok Shop LIVE
Shopee ไม่ได้เป็นแค่แพลตฟอร์มขายของ แต่เป็นแหล่งสร้าง Community ผ่าน Shopee Live ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2️⃣ AI-Powered Personalization ปรับแต่งการตลาดให้ตรงใจ
AI ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการตอบแชท สร้าง Content เท่านั้น แต่ยังเป็นสมองที่ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า คาดการณ์ความต้องการและเสนอโปรโมชั่นที่ตรงจุด การใช้ AI Chatbot ในการทักทาย แจ้งเลข Tracking และอัปเดตสถานะสินค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
กรณีศึกษา SOdAPrintinG
SOdAPrintinG ใช้ AI Chatbot ปิดการขายได้ถึง 90% โดยไม่ต้องพึ่งพาแอดมินมากเกินไป ช่วยลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พร้อมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
3️⃣ Data-Driven Decision Making ข้อมูลคือพลังของแบรนด์
แบรนด์ต้องลงทุนในการสร้าง Data Infrastructure ที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่เพียงแค่เก็บข้อมูล แต่ต้องวิเคราะห์และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กรณีศึกษา Starbucks Rewards
Starbucks ไม่เพียงแต่ให้คะแนนสะสม แต่ใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นในการทำ Personalization ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจและใส่ใจในความต้องการของตน
https://ahaslides.com/th/blog/starbucks-marketing-strategy/
4️⃣ First-Party Data & Membership Model กลยุทธ์สร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ
การมี First-Party Data ไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็น ธุรกิจที่ไม่สามารถควบคุมข้อมูลลูกค้าของตัวเองได้จะตกเป็นเบี้ยล่างของแพลตฟอร์มใหญ่ การสร้าง Loyalty Program หรือ Subscription Model เป็นการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นของตัวเองโดยตรง
➡️ ทำไมการเป็นเจ้าของข้อมูลถึงสำคัญ?
ลองคิดดูว่า การที่ลูกค้าซื้อของจาก Shopee หรือ Lazada แบรนด์ได้แค่ยอดขาย แต่ไม่ได้ข้อมูลลูกค้าเลย การสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองหรือใช้วิธี DTC (Direct-to-Consumer) ไม่ได้แค่เพิ่มความใกล้ชิด แต่ยังสร้าง “Data Ownership” ที่เป็นพลังในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยทันที
🔵 กรณีศึกษา Netflix กับการสร้าง Data-Driven Experience
Netflix ไม่ได้เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง แต่เป็น “Data Company” ที่รู้ว่าผู้ใช้อยากดูอะไรล่วงหน้า สามารถแนะนำคอนเทนต์ได้แม่นยำจากข้อมูลการรับชม ยิ่งลูกค้าดูมาก ข้อมูลยิ่งมาก ยิ่งเข้าใจลูกค้ามากขึ้น
https://talkatalka.com/blog/netflix-marketing/
ผู้ประกอบการออนไลน์ต้องปรับมุมมอง Ecosystem Commerce ไม่ใช่แค่โมเดลธุรกิจ แต่คือปรัชญาใหม่
ในยุคที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น การพึ่งพาช่องทางขายเดิม ๆ โดยไม่มีแผนสร้างระบบนิเวศถือเป็นความเสี่ยง โลกดิจิทัลไม่ได้หมุนรอบ Marketplace อีกต่อไป แต่หมุนรอบ Community, Personalization และ Data
➡️ Ecosystem Commerce คืออะไร?
กล่าวโดยสรุปคือการสร้างโลกของแบรนด์ที่ลูกค้าไม่อยากออกไปไหน ประกอบด้วย
  • 1.
    Community-Driven Engagement ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์
  • 2.
    AI-Powered Personalization ตอบสนองความต้องการเฉพาะตัว
  • 3.
    Data-Driven Decision Making วางกลยุทธ์บนฐานข้อมูลจริง
  • 4.
    Membership & Loyalty ลูกค้ารู้สึกถึงคุณค่าของการเป็นสมาชิก
https://www.truedigitalacademy.com/blog/8-benefits-of-data-driven-decision-making
ในวันนี้เราต้องเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ จาก “การขายของ” สู่ “การสร้างประสบการณ์”
ในอดีต เราอาจเน้นเพียงแค่ Conversion Rate แต่ในวันนี้ การสร้าง Ecosystem ที่ลูกค้าต้องการอยู่ด้วยคือหัวใจของการเติบโตอย่างยั่งยืน การวางแผนให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น
➡️ Key Strategic Shift จาก “Customer Acquisition” สู่ “Customer Retention”
  • 1.
    แทนที่จะพยายามหา “ลูกค้าใหม่” อยู่ตลอดเวลา ธุรกิจต้องมุ่งเน้นที่การรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ใน Ecosystem
  • 2.
    การใช้ Machine Learning วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและปรับเปลี่ยนแคมเปญการตลาดให้ตอบโจทย์อย่างแท้จริง
  • 3.
    สร้าง Loyalty Program ที่มอบประสบการณ์เฉพาะบุคคล เช่น การส่งคูปองส่วนลดที่ตรงใจหรือแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง
https://www.linkedin.com/pulse/boosting-customer-loyalty-retention-harnessing-power-contact-ayala/
การทำธุรกิจในยุค 2025 ไม่ได้หมายความถึงการขายของเก่งที่สุด แต่คือการสร้าง Ecosystem ที่ลูกค้าไม่อยากออกจากแบรนด์ ฉะนั้นธุรกิจที่อยู่รอดคือ ธุรกิจที่ “เชื่อมโยง” ทุกจุดของการสัมผัสประสบการณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว
อย่ารอช้าครับ ต้องเริ่มสร้าง Ecosystem Commerce ของคุณตั้งแต่วันนี้ เพราะผู้ที่ลงมือทำก่อนคือผู้ที่ได้เปรียบ ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวินาที การตัดสินใจวันนี้อาจเป็นตัวกำหนดความอยู่รอดในอนาคต จงทำให้แบรนด์ของคุณเป็นมากกว่าร้านค้าออนไลน์ แต่คือ “ประสบการณ์ชีวิต” ของลูกค้าที่พวกเขาไม่อยากปล่อยมือหรือลืมแบรนด์เราไปง่าย ๆ
เพราะธุรกิจที่แข็งแกร่ง ไม่ได้มีแค่ยอดขายสูงสุด แต่มี “ลูกค้าประจำ” ที่พร้อมอยู่กับเราไปในทุกช่วงเวลา
เขียนโดย : ผศ.ดร.ธีรศานต์ สหัสสพาศน์
Reference ::
โฆษณา