Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โณ่สนโณ่เเคร์
•
ติดตาม
11 เม.ย. เวลา 10:05 • การเมือง
ไทยเเละอาเซียนเดินต่อไปอย่างไร ในวันที่โลกถอยหลัง
สัปดาห์ที่ผ่านมา จากการที่เกิดการประกาศสงครามการค้าที่เกิดจากภาษีนำเข้าผ่านนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐ ทางโรงเรียนผมที่สิงค์โปร์ก็ได้มีการเชิญอดีตเอกอัครราชทูตท่านหนึ่งซึ่งตอนนี้เกษียณเเละทํางานอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศของสิงค์โปร์
ผมที่ได้มีโอกาสทําหน้าที่พิธีกรเเละได้มีโอกาสถามคำถามกับท่านก็เลยอยากจะมาแชร์มุมมองของข้าราชการชั้นสูงของเขาต่อประเด็นนี้ให้เพื่อนๆชาวไทยกัน
เกริ่นนํากันหน่อยนะครับ ท่านทูตมองว่าการที่มหาอำนาจต่างชาติหันมาเน้นผลประโยชน์ตนเอง สร้างกำแพงการค้า และใช้อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยไม่สนใจกฎเกณฑ์ที่สร้างมาก่อนหน้านี้นั่นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งเหมือนกับทุกประเทศเเหละครับสิงค์โปร์ก็ไม่พอใจกับการกระทําของทรัมป์ถึงเเม้ว่าพวกเขาจะโดนผลกระทบเเทบจะน้อยที่สุดในภูมิภาคเลย (โดนทรัมป์ขึ้นภาษีนําเข้าเป็น 10% จาก 0%)
เเล้วหลังจากนั้นท่านก็เริ่มพูดถึงความสําคัญเเละความเป็นไปได้ของอาเซียนในอนาคตที่สามารถขึ้นไปเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกได้รองมาจาก สหรัฐ จีน เเละสหภาพยุโรป
ผมที่เป็นพิธีกรเเละคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ท่านต่อหลังจากการปราศรัยหลักจึงตั้งคําถามไปว่า
สิงค์โปร์ควรร่วมมือกับอาเซียนในการผลักดันเรื่องไหนบ้างเพื่อที่ภูมิภาคนี้จะได้ประโยชน์จากสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน
คําถามที่ผมถามไป
ท่านเเชร์มุมมองที่น่าสนใจมากเเล้วผมก็อยากจะเอามาเเชร์ให้เพื่อนๆคนไทยได้อ่านกัน
ท่านบอกนี่เป็นโอกาสสําคัญของอาเซียนเพราะเราจะมีทางเลือกที่แตกต่าง ปัจจัยเเรงกดดันจากโลกภายนอกอาจจะเป็นสิ่งที่ผลักดันการค้าภายภูมิภาคของเราเเบบไม่เคยมีมาก่อน
เดี๋ยวผมจะสรุปสิ่งที่ท่านพูดต่อจากนี้มาเป็นทั้งหมด 5 ข้อนะครับ
1. เพิ่มอํานาจต่อรอง (Bargaining Power):
ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ใช้กลยุทธ์ “แบ่งแล้วปกครอง” เหมือนที่เจ้าอาณานิคมสมัยก่อนเขาเคยทํากัน ประเทศในต้องไม่เล่นไปตามเกมที่ทรัมป์ตั้งเอาไว้เเละอาเซียนต้องจับมือกันพร้อมเจรจาในฐานะ “เสียงรวม” เพื่อให้ได้ข้อตกลงทางการค้าและนโยบายที่เป็นธรรมมากขึ้น
2. ส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค (Economic Integration):
จากตัวเลขที่ท่านบอก ปัจจุบันมีเพียง 20% ของการค้าทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในอาเซียน ในขณะที่การค้าขายกันเองของประเทศในสหภาพยุโรปมีสัดส่วนสูงถึง 75% สิงคโปร์มองว่าเราต้อง เพิ่มการค้าภายในภูมิภาค เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สิ่งนี้เป็นไปได้เพราะประเทศในอาเซียนยังมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมาก สิงค์โปร์ผลักดันเรื่องนี้มาตลอดเเละเรื่องนี้คนไทยในสิงค์โปร์จะได้เห็นได้ชัดเนื่องจากเราสามารถจ่ายเงินในสิงค์โปร์ผ่านพร้อมเพย์ของบ้านเราได้
3. ไม่จำเป็นต้องรอทุกประเทศพร้อม:
ท่านพูดตรงๆไปเลยว่าหลายประเทศในอาเซียนนั้นยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนเเปลง พร้อมกับการพูดถึงแนวคิด “อาเซียนลบ 5” ซึ่งผมก็ไม่ชัวร์เหมือนกันว่ามีประเทศอะไรบ้างเเต่ที่เเน่ๆคือเเนวคิดที่ให้ประเทศที่พร้อมเดินหน้าไปก่อนเลย
ท่านเน้นยํ้าว่าเป็นทางออกที่ยืดหยุ่น เพื่อให้ความก้าวหน้าไม่ต้องหยุดรอประเทศที่ยังไม่พร้อม ถ้าไทยยังไม่พร้อมประเทศเหล่านี้เขาจะไม่รอเรานะครับ
4. คนรุ่นใหม่ควรเริ่มกลับมาหันมองตะวันออก:
ท่านจึงกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวที่อยู่ในห้องนั้นว่าเราไม่มีความจําเป็นจะต้องมองการไปศึกษาขั้นสูงในประเทศตะวันตกเป็นหลักอีกต่อไป แต่หันมาสร้างความร่วมมือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนและการเชื่อมโยงระหว่างมหาลัยในภูมิภาค
ผมรู้สึกว่าไอเดียที่ท่านพยายามจะสื่อคือ “Rerise of Asia” หรือการกลับมาผงาดของเอเชียโดยเฉพาะอาเซียนที่น่าจะมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้นในอนาคต
5. เวียดนามคือตัวอย่างแห่งศักยภาพของอาเซียน:
ท่านทูตนั้นพูดถึงตัวอย่างของประเทศที่น่าจะจับตามองเเละก็หนีไม่พ้นเวียดนามที่ท่านเคยไปประจําอยู่หลังจากสงครามเวียดนามจบได้ไปนาน ประเทศเวียดนามเคยเป็นหนึ่งประเทศที่สิงค์โปร์ไม่เป็นมิตรอย่างหนักเเละประนามหลังจากกองทัพเวียดมินห์เข้าไปบุกกัมพูชา
เเต่ปัจจุบันสถานการณ์กลับต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สิงค์โปร์กับเวียดนามตอนนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเวียดนามเเละเวียดนามก็กลายเป็นคู่ค้าสําคัญของประเทศสิงค์โปร์
เอกอัครราชทูตยกให้เวียดนามเป็นประเทศที่น่าจับตามอง ด้วยความ มุ่งมั่นของประชาชนและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ที่เกิดขึ้นภายในเวลาเพียงชั่วอายุคน รัฐบาลสิงค์โปร์น่าจะมองเห็นศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจเเละความมุ่งมั่นของเวียดนามเป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือจํานวนเม็ดเงินลงทุนระหว่างสองประเทศที่มากขึ้นเเถมจํานวนทุนรัฐบาลสิงค์โปร์ที่เขาให้กับเยาวชนเวียดนามก็เยอะกว่าไทยไปเเล้วหลายเท่าตัวหลังจากที่เคยมีจํานวนพอๆกันในเเค่ไม่กี่ปีก่อน
ความรู้สึกส่วนตัว:
ในฐานะคนไทย ผมรู้สึกว่า ไทยควรเร่งบุกตลาดอาเซียนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจเราขยายตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าไทยยังคงมีคุณภาพ และเป็นที่ชื่นชอบในสิงคโปร์และเวียดนาม แต่เราเสียโอกาสเพราะการขาดนโยบายผลักดันจากรัฐ และการลงทุนต่างชาติที่น้อยลง
คนรุ่นใหม่อย่างพวกผมควรตั้งใจศึกษาเเละเห็นความสําคัญของอาเซียนมากขึ้นเพราะลูกค้าหลักของเราอาจไม่ใช่ฝรั่งมังค่าหรือจีนเเผ่นดินใหญ่อีกต่อไปในอนาคตอันเเสนไกลเเต่กลับเป็นคนในอาเซียนที่มีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมกับพวกเรามากกว่า
อาจจะจบบทความเเรกด้วยความเศร้านิดหนึ่งนะครับ ตลอดการสนทนาบางครั้งผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า “ไทยไม่ได้ถูกมองข้าม แต่ถูกพูดถึงน้อยลงมาก” ท่านทูตไม่ได้เอ่ยถึงประเทศเราสักครั้งเลยเมื่อเอ่ยถึงประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตถึงเเม้ท่านจะทราบว่าผมเป็นคนไทย
ถ้าเรายังไม่ลุกขึ้นมาเดินหน้า โอกาสในอาเซียนก็จะลอยผ่านเราไปแบบเงียบๆ เราก็คงเป็นประเทศที่ยังคงต้องพึ่งท่องเที่ยวไปอีกนานเเสนนานเเละจะถูกให้ค่าน้อยลงเรื่อยๆในเวทีโลก
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ ผมหวังว่าคุณจะได้มุมมองใหม่ๆ และตั้งคำถามว่า "อนาคตของอาเซียนจะเป็นยังไง?" และที่สำคัญที่สุด "ไทยยังมีที่ยืนตรงไหน?"
เราควรเริ่มคิดและขยับ...ก่อนที่มันจะสายเกินไปครับ
โณ่สนโณ่เเคร์ รายงาน
11 เมษายน 2568
การเมือง
ข่าวรอบโลก
สิงคโปร์
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย