11 เม.ย. เวลา 10:40 • ประวัติศาสตร์

สงครามการค้าที่นำไปสู่สงครามจริงๆ

ช่วงนี้เราได้ยินคำว่า "สงครามการค้า" กันบ่อย ซึ่งการกีดกันในระดับนี้ถือว่าใหม่สำหรับเราในยุคปัจจุบัน แต่การทำสงครามการค้าอย่างรุนแรงเคยเป็นรูปแบบหลักของการค้าโลก (ยุโรป) ในอดีต
วันนี้ผมเลยอยากจะเล่าถึงสิ่งที่เรียกว่า Mercantillism (อ่านว่า เมอร์แคนทายลิซึ่ม) ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ว่าทำงานยังไง ความเชื่อนี้เกิดขึ้นมาก่อนวิชาเศรษฐศาสตร์ (แบบที่เรารู้จักทุกวันนี้) เกิดขึ้น
2
และประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สงครามการค้าก็สามารถกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ ที่เคยทำให้มหาอำนาจของยุโรปรบกันจนมีคนเสียชีวิตนับล้าน
4
1 แนวคิดที่เรียกว่า Mercantillism เริ่มก่อตัวในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นในยุคสมัยที่มีการค้นพบดินแดนใหม่ๆ มีการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลใหม่ๆ (ยุคนี้เรียกว่า Age of Exploration ซึ่งเคยทำเป็น podcast เล่าไว้แล้ว ใครสนใจย้อนกลับไปฟังได้)
1
แต่ละประเทศจึงแข่งกันขยายอำนาจ หาอาณานิคมใหม่ๆ สร้างจักวรรดิ์ของตัวเอง เพื่อครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นยุคสมัยที่เศรษฐกิจเปลี่ยนจาก ระบอบศักดินา-ไพร่ คือ ขุนนางรวยเพราะมีที่ดินเยอะๆ มาเป็นเศรษฐกิจ การค้า คือ ใครค้าขายได้เยอะ คนนั้น รวย
1
2 หัวใจของความเชื่อแบบ Mercantillism หลักๆ คือ หนึ่งจะเชื่อว่า ความรวยของประเทศวัดจากการมีแร่ทองและเงินมาก แต่ละประเทศจึงแย่งกันหาแร่เงินและทอง แย่งกันขยายอาณานิคม สองคือ เศรษฐกิจโลกเป็นแบบ zero-sum game คือ ถ้าคนนึงได้ คนนึงต้องเสีย ถ้าคนนึง +1 ก็ต้องได้มาจากการที่อีกคน -1 ดังนั้น รัฐควรจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ดุลการค้า คือ ส่งออกมากกว่านำเข้า
2
3 นโยบายของแต่ละชาติในยุโรป จึงมีแนวโน้มจะออกไปทางที่จะทำยังไงก็ได้เพื่อให้ได้ดุลการค้า เช่นการตั้งกำแพงภาษี สำหรับสินค้านำเข้า หรือรัฐให้เงินอุดหนุน แก่อุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้า หรือในบางครั้ง รัฐจะสนับสนุนบางบริษัทเพื่อให้ผูกขาดทางการค้า เพื่อจะได้มีแต้มต่อเยอะๆ ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด น่าจะเป็น บริษัท East India Company ของอังกฤษและบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ Dutch East India Company ของดัชต์ (เคยทำ podcast เล่าไปแล้ว)
1
นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายอย่าง Navigation Acts ของอังกฤษที่บังคับว่าสินค้าที่จะส่งเข้าหรือส่งออกจากอังกฤษและอาณานิคมต้องขนส่งด้วยเรือของประเทศตนเองเท่านั้น
1
4 ปัญหาที่ตามมาจาก Mercantillism ก็เดาได้ไม่ยาก อย่างแรกสุดคือ สงครามหลายครั้งไม่ว่าจะเป็น อังกฤษรบกับดัชต์ (หลายครั้ง) ที่เรียกว่า Anglo-Dutch war, อังกฤษรบฝรั่งเศสในสงครามเจ็ดปี (เคยเล่าใน podcast ตอนกำเนิดประเทศอเมริกา), ฝรั่งเศสรบกับดัชต์ ซึ่งเริ่มต้นมาจากการตั้งกำแพงภาษีของฝรั่งเศส, สเปนรบกับหลายประเทศในสงครามที่ชื่อว่า War of the Spanish Succession, ซึ่งสงครามเหล่านี้ยื้ดเยื้อและนำไปสู่การตายของชาวยุโรปนับล้าน
1
อย่างที่สองคือ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจลดลง ซึ่งก็มาจากการที่อุตสาหกรรมในประเทศได้รับการปกป้องแบบพิเศษ ทำให้ไม่ต้องแข่งขันมาก ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพ
5 สุดท้ายแนวคิดแบบ Mercantillism ก็เสื่อมสลายไป เมื่อมีทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น และชี้ให้เห็นว่า การค้าขายระหว่างกัน สามารถช่วยให้รวยขึ้นทั้งสองฝ่ายได้
4
6 ประวัติศาสตร์จากยุคสมัยที่เชื่อใน Mercantillism ในศตวรรษที่ 17-18 แสดงให้เราเห็นว่า เมื่อประเทศต่างๆ มองการค้าเป็นเครื่องมือสำหรับความขัดแย้งมากกว่าความร่วมมือ ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้เลวร้ายแค่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงกว่านั้นได้
History doesn't repeat itself, but it rhymes
แม้ว่าประวัติศาสตร์จะไม่เกิดขึ้นซ้ำรอย แต่บางครั้งมันก็มีความคล้าย
กับเรื่องราวเดิมๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ให้เราเห้นได้
ถ้าใครสนใจประวัติศาสตร์ แนะนำมาขุดค้นร่องรอยประวัติศาตร์ ผ่านที่มารากศัพท์ภาษาอังกฤษใน หนังสือ ทำไมแฮมเบอร์เกอร์จึงไม่มีแฮม และ หนังสือ ทำไมเราเลี้ยง pig แต่กิน pork
📖 สั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ
โฆษณา