11 เม.ย. เวลา 12:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ

🃏 เกมวัดใจ! สหรัฐฯ 🆚 จีน เดิมพันอนาคตเศรษฐกิจโลก | โพสต์เดียวรู้เรื่อง

สงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจ สหรัฐฯ กับ จีน กำลังเข้าสู่เฟสใหม่ที่ดุเดือดเลือดพล่านสุดๆ บอกเลยว่าสถานการณ์ตอนนี้ตึงเปรี๊ยะ! เหมือนหนังแอคชั่นฟอร์มยักษ์ที่เรานั่งลุ้นอยู่ขอบจอเลยค่ะ
1
นี่ไม่ใช่แค่เกมวัดใจธรรมดา แต่มันคือ ศึกเดิมพันอนาคต ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วทุกมุมโลก
เปิดไพ่มาก็ช็อก! กำแพงภาษีที่สูงจนต้องร้อง "พระเจ้า!"
ใครจะเชื่อคะว่าเกมมันจะแรงเบอร์นี้! สหรัฐฯ ภายใต้การนำของทรัมป์ ไม่ได้แค่ขยับภาษี แต่ กระหน่ำขึ้นภาษีใส่สินค้าจีนไปแตะระดับ 145% แล้ว! ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิด หนึ่งร้อยสี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์! ตัวเลขที่แทบไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะได้เห็นในยุคการค้าเสรี!
1
ฝั่งจีนก็กัดฟันสู้ ตอกกลับด้วยภาษี 125% ใส่ของจากอเมริกาเต็มข้อ พร้อมกับประกาศกร้าวแบบไม่ไว้หน้าว่า "ตัวเลขที่สหรัฐฯ ประกาศเพิ่มมาเรื่อยๆ น่ะ มันกลายเป็นเรื่องตลกไปแล้ว!" เหมือนจะบอกว่า "ขึ้นมาอีกก็ไม่มีผลแล้วเฟ้ย!"
ลองย้อนกลับไปดูนิดนึงนะคะ ก่อนปี 2025 เนี่ย ภาษีเฉลี่ยที่สองประเทศนี้เก็บกัน ยังวนๆ อยู่แถวๆ ไม่เกิน 20% ด้วยซ้ำ แม้จะผ่านสงครามการค้ารอบแรกในยุคทรัมป์มาแล้วก็ตาม การดีดตัวขึ้นมาถึงระดับสามหลักแบบนี้ มันคือการ พลิกกระดาน อย่างแท้จริง!
2
🎯 เดิมพันครั้งนี้... วัดกันด้วยอะไรบ้าง?
ชิปที่วางกองอยู่บนโต๊ะนี้ มันไม่ใช่แค่เม็ดเงินธรรมดาค่ะ แต่มันคือ
👉🏻 เส้นเลือดใหญ่เศรษฐกิจโลก: ความสัมพันธ์ทางการค้ามูลค่ามหาศาล เกือบ 700 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจทั้งสองฝั่งและเชื่อมโยงกับซัพพลายเชนทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ
1
👉🏻 กระเป๋าตังค์ของผู้บริโภค: เตรียมตัวเลยค่ะ ไม่ว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหน โดยเฉพาะในอเมริกา ของแพงขึ้นแน่ ตั้งแต่ ไอโฟนสุดหรู โทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ (ที่กว่า 70% นำเข้าจากจีน!) เสื้อผ้า รองเท้า ไปจนถึงของใช้ในบ้านอย่างเครื่องปิ้งขนมปัง วิตามิน หรือหลอดไฟ LED
บริษัทต่างๆ ไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะต้องผลักภาระภาษีสุดโหดนี้มาให้ผู้บริโภค หรือไม่ก็ต้องยอมลดตัวเลือกสินค้าบนชั้นวางลง คิดดูสิคะว่าชีวิตประจำวันจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
👉🏻 อนาคตเศรษฐกิจจีน: ผลกระทบต่อจีนนี่สาหัสสากรรจ์! การส่งออกตรงไปสหรัฐฯ ซึ่งเคยเป็นเส้นเลือดสำคัญอาจเหือดแห้งหายไปเกือบทั้งหมด
บริษัทจีนเหมือนโดนบีบให้เลือกทางเดินที่เจ็บปวด ไม่ว่าจะต้องจำใจย้ายโรงงานไปประเทศอื่น ทิ้งฐานการผลิตที่สร้างมานาน หรือต้องไปบีบคอซัพพลายเออร์ให้ลดราคาวัตถุดิบ ซึ่งก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเงินฝืดในประเทศเข้าไปอีก ขณะที่ GDP จีนที่คาดการณ์ไว้ก็โดนหั่นลงแล้ว
1
นักวิเคราะห์ทั้งหลายเค้าฟันธงเลยว่า แค่ภาษี 100% ก็แรงพอจะ "บดขยี้" การส่งออกส่วนใหญ่ของจีนไปสหรัฐฯ ได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉุด GDP จีนให้หายไปได้ถึง 2.5% - 3% และพอมันกลายเป็นร้อยกว่าเปอร์เซ็นเนี่ย... มันคือการการันตีหายนะทางเศรษฐกิจสำหรับเส้นทางการค้านี้เลยก็ว่าได้
1
ที่น่าขนลุกไปกว่านั้นคือ ไอ้คำว่า "Decoupling" หรือ "การแยกตัวทางเศรษฐกิจ" ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่เมื่อก่อนใครๆ ก็คิดว่า "เป็นไปไม่ได้หรอกน่า" ตอนนี้มันกลับกลายเป็นภาพที่ "ใกล้เข้ามาทุกที" แล้วค่ะ!
🤔 แล้วทำไมมันถึงผูกกันแน่นขนาดนี้?
จุดเริ่มต้นมันย้อนไปราวๆ ปี 2000-2001 ตอนจีนกำลังจะเข้าองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐฯ ก็ให้สถานะการค้าพิเศษ ทำให้บริษัทอเมริกันและทั่วโลกแห่ย้ายฐานการผลิตไปจีนกันยกใหญ่ เพราะแรงงานถูกกว่า ต้นทุนต่ำกว่า เกิดเป็นปรากฏการณ์ "China Shock" ที่ทำให้โรงงานหลายแห่งในอเมริกาต้องปิดตัวลง คนตกงาน
1
แต่ในขณะเดียวกัน คนอเมริกันก็ได้ใช้ของถูกลงเพราะจีนกลายเป็น "โรงงานของโลก" ความสัมพันธ์แบบ "พึ่งพา" นี้เองที่ทำให้การ "แยกตัว" (Decoupling) มันเจ็บปวดและซับซ้อนสุดๆ
🧠 เปิดสมองสองผู้นำ: ทำไมต้องเดิมพันสูงขนาดนี้?
ทำไมทรัมป์ถึงเลือกเดินเกมแรงเบอร์นี้? เหตุผลมันซับซ้อนกว่าแค่เรื่องตัวเลขค่ะ
👉🏻 ล้างแค้นยอดขาดดุล: เป้าหมายหลักคือ ต้องการกำจัดยอดขาดดุลการค้ามหาศาลที่สหรัฐฯ มีกับจีน (ปี 2024 สูงถึง 295 พันล้านดอลลาร์) และทวงคืนตำแหน่ง "ฐานการผลิต" กลับมาสู่อเมริกา โดยเฉพาะเพื่อเอาใจฐานเสียงในแถบ Rust Belt ที่เคยรุ่งเรืองก่อนโดน China Shock ถล่ม
👉🏻 อุดรูรั่วภาษี: จี้ไปที่ช่องโหว่ "de minimis" ที่ปล่อยให้สินค้าราคาต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ (โดยเฉพาะจากแพลตฟอร์มจีนสุดฮิตอย่าง Shein และ Temu) ไหลเข้าอเมริกาแบบปลอดภาษี เป็นมูลค่ามหาศาลที่ไม่ได้ถูกนับรวมในยอดขาดดุลทางการ การประกาศปิดช่องโหว่นี้กับจีนและฮ่องกง ตั้งแต่ 2 พ.ค. คือการเอาจริง
1
👉🏻 ความผิดหวังจากดีลเก่า: สหรัฐฯ มองว่าจีนไม่ทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้ในดีลการค้ารอบก่อน ที่ว่าจะซื้อสินค้าอเมริกันเพิ่มขึ้นมหาศาลเพื่อลดช่องว่างการค้า
1
🧊 สงครามเย็นยุคใหม่?: เหนือสิ่งอื่นใด มันคือเกมชิงไหวชิงพริบด้านความมั่นคงและเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายมองกันและกันว่าเป็น "ภัยคุกคาม" สหรัฐฯ พยายามสกัดกั้นจีนไม่ให้เข้าถึง เทคโนโลยีชิประดับสูง และเครื่องมือผลิต
จีนก็ตอบโต้ด้วยการกุแร่หายากและแร่สำคัญ ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมไฮเทคและการทหารของสหรัฐฯ ไว้ในมือ ทำให้นี่คือการงัดข้อกันในมิติที่ลึกกว่าแค่เรื่องการค้า
🎴 มองไพ่ในมือจีน: ความเปราะบางและความท้าทายสุดขีด
1
แน่นอนว่าพญามังกรอย่างจีนคงไม่ยอมง่ายๆ จีนก็สวนหมัดกลับด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ เหมือนกัน จนตอนนี้ภาษีรวมที่จีนเก็บก็โหดไม่แพ้กัน (รวมทั้งหมดเกือบ 145%) แถมยังประกาศกร้าวว่า ต่อให้สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีอีกก็ไร้ผลแล้ว เพราะของจากสหรัฐฯ มันขายไม่ได้ตั้งแต่โดนภาษีระดับนี้แล้ว
1
แต่มันก็เหมือนเกมวัดใจค่ะ การแลกหมัดกันไปมาแบบนี้ จีนเองก็เจ็บตัวเหมือนกัน เพราะยังมีธุรกิจที่ต้องพึ่งของจากสหรัฐฯ อยู่ แล้วสหรัฐฯ เองก็อาจจะมี "ไพ่ตาย" ที่ยังไม่ปล่อยออกมาก็ได้!
1
ดังนั้น... จับตาดูให้ดีค่ะ! จีนอาจจะไม่ได้สู้แค่บนสังเวียนภาษี แต่อาจจะงัด "อาวุธลับ" อื่นๆ ออกมาสู้:
1
👉🏻 ไพ่แร่หายาก (Rare Earths): ถ้าจีนจำกัดการส่งออกแร่สำคัญพวกนี้เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมไฮเทคสหรัฐฯ มีสะเทือนแน่
1
👉🏻 เกมการทูตแนวใหม่: หันไปจับมือกับเพื่อนบ้านและพันธมิตรอื่นๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อย่างการที่ผู้นำจีนมีแผนเดินทางไปเวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชาในช่วงนี้ อาจไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ
สถานการณ์ฝั่งจีนตอนนี้... บอกเลยว่า "น่าเป็นห่วง" อย่างยิ่ง เหมือนโดนพายุซัดตอนเรือกำลังรั่ว เพราะภาษีมหาโหดนี้ ถาโถมเข้ามาในจังหวะที่เศรษฐกิจจีนกำลังอ่อนแออยู่แล้วจากปัญหาภายในรุมเร้าตั้งแต่
1
👉🏻 เงินฝืดเรื้อรัง: ของถูกลงแต่คนไม่ยอมควักเงินซื้อ
👉🏻 กำลังซื้อในประเทศซบเซา: คนไม่มั่นใจ อนาคตไม่แน่นอน
👉🏻 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังโคม่า: วิกฤตที่ลากยาวและยังไม่เห็นแสงสว่าง
👉🏻 การเติบโตทางเศรษฐกิจแผ่วลง: นักวิเคราะห์พากันหั่นเป้า GDP จีนปีนี้ลง (Goldman Sachs คาดเหลือแค่ 4%)
👉🏻 อ่านเกมสหรัฐฯ กับโลก: สหรัฐฯ อาจจะไม่ได้หยุดแค่ภาษี แต่อาจจะไปล็อบบี้ประเทศอื่นให้กีดกันสินค้าจีนทางอ้อมด้วย... งานนี้จีนโดนล้อมกรอบหรือเปล่า?
1
นอกจากนี้ การค้าเคยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนถึง 1 ใน 3 เมื่อปีก่อน แม้ส่งออกตรงไปสหรัฐฯ จะคิดเป็นแค่ราว 15% ของทั้งหมด (แต่ถ้าบวกรวมที่ส่งผ่านประเทศอื่นไปอเมริกาด้วย ตัวเลขจะสูงกว่านี้อีก) การโดนภาษีระดับนี้ก็เหมือนโดนตัดแขนตัดขานั่นเองค่ะ
2
‼️แล้วบริษัทจีนจะทำยังไง? ทางเลือกแต่ละทางก็เหมือนหนีเสือปะจระเข้
👉🏻 ย้ายหนี?: ไปเวียดนาม ไทย หรือที่อื่น? ก็ต้องลงทุนมหาศาล แถมไม่แน่ว่าสหรัฐฯ จะตามไปขึ้นภาษีอีกหรือไม่ รัฐบาลจีนเองก็ไม่อยากให้ทุนไหลออก
👉🏻 กัดฟันลดราคา?: ไปบีบซัพพลายเออร์ให้ลดต้นทุน? ก็เท่ากับซ้ำเติมปัญหาเงินฝืดในประเทศ กำไรหดหาย อาจถึงขั้นขาดทุน
1
👉🏻 เบนเข็มหาตลาดอื่น?: ระบายของไปตลาดอื่นแทน? ก็เสี่ยงเจอประเทศเหล่านั้นตั้งกำแพงภาษีใส่กลับ เพราะกลัวสินค้าจีนราคาถูกทะลักเข้ามาตีตลาดตัวเอง
ทางออกของรัฐบาลจีนตอนนี้คือ ต้องเร่ง อัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดดอกเบี้ย และที่สำคัญคือ ปฏิวัติโมเดลเศรษฐกิจ ให้หันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศให้ได้จริงๆ เสียที ซึ่งพูดกันมานาน แต่คราวนี้คงต้อง "ลงมือทำ" อย่างจริงจังเพื่อความอยู่รอด
🇺🇸 มองไพ่ฝั่งสหรัฐฯ: เดิมพันนี้... มีราคาที่ต้องจ่าย!
2
สหรัฐฯ ยังเดินเกมด้วยกลยุทธ์ที่จะเหมือนเป็นการ "โดดเดี่ยว" จีน ด้วยการขึ้นภาษีจีนหนักๆ แต่กลับผ่อนปรนให้ประเทศอื่นชั่วคราว... เกมนี้มันซับซ้อนจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีต้นทุน การสาดภาษีใส่จีนแบบนี้ มันมี "ผลสะท้อนกลับ" ที่เจ็บแสบไม่น้อยค่ะ
1
👉🏻 เงินเฟ้อจะคัมแบ็ก?: ของแพงขึ้นเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่คราวนี้โดนเต็มๆ (ต่างจากรอบก่อน) อาจทำให้ เงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่เฟดพยายามกดอยู่ กลับมาอาละวาดอีกครั้ง
👉🏻 เกษตรกรน้ำตาตก: จีนคือลูกค้ารายใหญ่สุดสำหรับ ถั่วเหลืองและฝ้าย ของสหรัฐฯ พอจีนเอาคืนด้วยภาษี กลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญก็เดือดร้อนหนัก ทำให้รัฐบาลอาจต้องควักเงินภาษีประชาชนมาอุ้มชู อีกรอบเหมือนคราวที่แล้ว (รอบนั้นจ่ายไป 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์!)
แต่ปัญหาคือ ตอนนี้จีนกระจายความเสี่ยงไปซื้อจาก บราซิล รัสเซีย มากขึ้นแล้ว อาจจะง้อสหรัฐฯ น้อยลง
👉🏻 อุตสาหกรรมอื่นก็หนาว: ไม่ใช่แค่เกษตรกร บริษัทที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนหรือเครื่องจักรจากจีนก็ต้นทุนพุ่ง กำไรหด อาจกระทบการลงทุนและการจ้างงานได้
1
🎯 บทสรุป (ที่ยังไม่สิ้นสุด): เกมนี้... ใครจะกระพริบตาก่อน?
เห็นภาพชัดขึ้นไหมคะว่า "เกมโป๊กเกอร์" ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนครั้งนี้ มันทั้งดุเดือด ซับซ้อน และเต็มไปด้วยเดิมพันที่สูงลิ่ว มันไม่ใช่แค่เรื่องของผู้นำสองคนบนโต๊ะ แต่มันคือห่วงโซ่ผลกระทบที่ลากยาวไปถึงเศรษฐกิจโลก ซัพพลายเชน และชีวิตประจำวันของเราทุกคน
ตอนนี้บรรยากาศมันอึมครึม คาดเดาไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายจ้องหน้ากัน ไม่มีใครยอมถอยง่ายๆ ต่างฝ่ายต่างก็มีไพ่ในมือ มีจุดแข็ง จุดอ่อน และมีราคาที่ต้องจ่าย...
1
ตาต่อไปจะเป็นอย่างไร? จะมีการเจรจาเกิดขึ้นหรือไม่? หรือจะเดินหน้าชนกันจนกว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้มลง? นี่คือคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ และเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไปค่ะ
ที่แน่ๆ คือกอดทองคำกันไว้นะคะ
โฆษณา