Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 เม.ย. เวลา 12:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เทรดทองเสียภาษีไหม ? ทำไมบางคนไม่เสีย แต่บางคนโดนเรียก เก็บย้อนหลัง
ช่วงนี้เราคงเคยได้เห็นข่าวกันมาบ้างว่า มีนักลงทุนที่เทรดทองผ่านแอป ออกมาโพสต์ว่า ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรให้ไปชี้แจง และต้องเสียภาษีย้อนหลัง จากการซื้อขายทองในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ หลายคนก็น่าจะเข้าใจกันว่า การซื้อทองแท่งและการออมทองผ่านแอปนั้น ไม่ต้องเสียภาษี
เรื่องนี้คงจะสร้างความงุนงงอยู่ไม่น้อยเลยว่า
ตกลงแล้ว การซื้อขายทอง ต้องเสียภาษีไหม ?
คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ “แล้วแต่กรณี”
2
เพราะการซื้อทอง อาจจะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป โดยภาษีก็ขึ้นอยู่กับเจตนา และลักษณะของการซื้อขายนั้นด้วย
1
- ถ้าเป็นการ “ซื้อเพื่อเก็บออม” ไม่ได้ตั้งใจทำกำไร
ก็อาจจะได้รับการยกเว้นภาษี
1
- ถ้าเป็นร้านทอง มีรูปแบบการประกอบธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายสูง แบบนี้ต้องเสียภาษีแน่นอน
2
- ถ้าเป็นการเทรดทองแบบซื้อขายรายวัน เรื่องนี้ยังอยู่ในขอบเขตที่กรมสรรพากรกำลังพิจารณา แต่มีแนวโน้มจะถูกตีความว่า เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
4
เพื่อให้เราเข้าใจกันชัดเจนมากขึ้น เราลองมาเจาะลึกแต่ละกรณีกันดูดีกว่า
1. กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษี
ตามกฎหมายมาตรา 42(9) ระบุว่า
รายได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
2
ซึ่งทองคำ ไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ
ก็ถือเป็น สังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย
1
ดังนั้น หากเราซื้อทองเพื่อสะสม ถือไว้ยาว ๆ
แล้วเลือกขายครั้งเดียวเมื่อราคาดีขึ้น หรือออมทองสะสม ทีละเล็กทีละน้อย แล้วเลือกไถ่ถอนเป็นทองจริงในอนาคต
1
ก็สามารถตีความได้ว่า ไม่ได้ทำการค้า เพื่อหากำไร กรณีแบบนี้จึงอาจจะเข้าข่าย ได้รับการยกเว้น ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี
2. กรณีที่ต้องเสียภาษี
กรณีนี้ กลุ่มที่จะต้องเสียภาษีแน่ ๆ คือ ร้านทอง
เพราะร้านทองมีลักษณะของการประกอบกิจการค้าอย่างชัดเจน ถูกจัดเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)
3
หรือถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็ต้องเสียภาษีนิติบุคคลตามปกติ
2
แต่กลุ่มที่หลายคนกำลังสงสัยกันมากที่สุด และเป็นประเด็นร้อนที่เราได้เห็นกันในโลกโซเชียล กลับเป็น
“นักลงทุนรายย่อยที่เทรดทองผ่านแอป”
2
กลุ่มนี้จริง ๆ แล้วมีพฤติกรรมไม่ต่างจากการซื้อขายทองตามร้านในอดีตเลย
1
เพื่อให้เข้าใจกันง่าย ๆ จะขอยกตัวอย่างสมมติจาก “ป้ารวย” นักเทรดทองผู้มีประสบการณ์อันโชกโชน
สมมติว่า ป้ารวย มีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง พอป้ารวยเห็นราคาทองลง ก็มักจะเดินเข้าร้านทอง ไปซื้อทองแท่งเก็บไว้ พอผ่านไปไม่กี่วัน เห็นราคาขึ้น ก็นำทองกลับไปขาย
3
บางวันป้ารวยก็อาจจะแวะเข้าออกร้านทอง 3-4 รอบ ทำเงินจากการซื้อขายแบบนี้ มาได้เป็นกอบเป็นกำ เป็นเวลาหลายปี แต่ก็ไม่มีใครเคยพูดถึงเรื่องภาษีให้ป้ารวยได้ยินกันเลย
1
ที่เป็นแบบนี้ ก็อาจจะมาจากเหตุผลว่า ในอดีต มุมมองของกฎหมาย ณ ตอนนั้น ป้ารวย ยังอยู่ในจุดที่เป็นพื้นที่สีเทา ซึ่งตีความยาก
1
เพราะป้ารวยไม่ได้เปิดร้านทองเอง จึงไม่เข้าข่ายเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) ที่ต้องเอาไปยื่นเสียภาษี
2
และการขายทองของป้ารวย อาจถูกมองว่าเป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้า ตามมาตรา 42(9) จึงทำให้ไม่ต้องเสียภาษีด้วย
1
จะเห็นว่า ความจริงพฤติกรรมการซื้อขายทองคำของนักเทรดในวันนี้ ก็แทบไม่ต่างจากในอดีต
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ “เทคโนโลยี..”
1
เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามาแทนที่รูปแบบการซื้อขายทองแบบเดิม ๆ จากที่ป้ารวยเคยต้องเดินเข้าร้าน ก็กลายเป็นกดซื้อขายทองผ่านแอปแทน
3
และเพราะความง่ายนี้เอง ก็เป็นจุดที่ทำให้หลายคน เริ่มซื้อขายทองถี่ขึ้น ซึ่งความถี่ก็ทำให้กรมสรรพากร รับรู้ว่าเรามีรายได้
1
เพราะปัจจุบัน ธนาคารมีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลธุรกรรมต่อกรมสรรพากร ตามกฎหมายที่เรียกว่า “E-Payment”
1
หากบัญชีของเราเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ในปีภาษีนั้น
นั่นคือ
- มีจำนวนเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวนเงิน หรือ
1
- มีเงินเข้าทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดรวมตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
1
พอข้อมูลถึงมือกรมสรรพากร จนตรวจสอบแล้วพบว่า
เรามีรายได้ แต่ไม่เคยยื่นภาษีเลย หรือชี้แจงที่มาของเงินได้ไม่ชัดเจน
1
เราก็อาจจะถูกประเมินรายได้ใหม่ จนต้องเสียภาษีย้อนหลัง พร้อมกับเจอเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมายได้
2
โดยตามหลักการจริง ๆ แล้ว หากเรามีรายได้ เราก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายได้เพื่อเสียภาษีอยู่ดี
จากข้อมูลล่าสุด กรมสรรพากรแจ้งว่า รายได้จากการเทรดทองผ่านแอป ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจน
2
เพราะเทคโนโลยีการซื้อขายทองผ่านแอป ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ จนอาจจะทำให้เกิดช่องโหว่ทางกฎหมายขึ้น
แม้ว่าเรื่องนี้จะยังไม่ชัดเจนในเชิงกฎหมาย แต่หากกรมสรรพากรเห็นว่า ช่องโหว่แบบนี้ ทำให้รัฐเสียรายได้ที่ควรจะเก็บภาษี มากจนเกินไป ก็อาจจะออกกฎหมายมาปิดช่องโหว่นี้อยู่ดี
1
อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่มีการโพสต์ในโลกออนไลน์
ว่าได้รับหนังสือแจ้งจากกรมสรรพากรให้ไปชี้แจง และต้องเสียภาษีครึ่งปีย้อนหลังนั้น
1
ตรงนี้ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นแล้วว่า เจ้าหน้าที่ตีความว่ารายได้จากการเทรดทองผ่านแอป เป็นเงินได้ประเภท 40(8)
1
ซึ่งก็หมายความว่า หากเรามีรายได้จากการเทรดทอง
เราจะต้องนำรายได้นั้นไปยื่นภาษีในแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงกลางปี และ ภ.ง.ด.90 ช่วงสิ้นปีด้วย
1
ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า จากตัวอย่างของป้ารวยที่ซื้อทองวันละหลายรอบในอดีต โดยไม่มีใครพูดถึงเรื่องภาษีซื้อขายทองมาก่อน
เพราะเป็นการใช้เงินสด ไม่มีหลักฐานทางธนาคาร และไม่ได้ถือเป็นการค้าอย่างชัดเจน
1
แต่ในวันนี้ พฤติกรรมการซื้อขายทองคำ ที่ดูจะเหมือนแบบในอดีต แต่เมื่อเปลี่ยนมาซื้อขายกันผ่านเทคโนโลยี อย่างแอปซื้อขายทองคำออนไลน์แทน
1
หากรายการเงินเข้าออกของเราถึงเกณฑ์ ธนาคารก็ส่งข้อมูลต่อ ทำให้กรมสรรพากรเห็นความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ในบัญชีธนาคารของเราไปด้วย
1
ถึงตรงนี้หลายคนก็คงจะเริ่มตั้งคำถามว่า
แล้วการซื้อขายทองกี่ครั้ง ถึงจะเรียกว่าเทรด ?
หรือต้องถี่แค่ไหน ถึงจะหลุดจากคำว่าออมทอง ?
1
ตรงนี้เอง ก็น่าติดตามกันต่อไปว่า กรมสรรพากรจะออกแนวทางชี้ขาดเรื่องนี้อย่างไร
เพราะในฐานะผู้เสียภาษี หลายคนก็ไม่ได้อยากเลี่ยง
แต่อยากได้คำตอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้วางแผนภาษีให้ถูกต้อง ตั้งแต่การยื่น ไปจนถึงการใช้สิทธิลดหย่อนนั่นเอง..
2
#วางแผนการเงิน
#ทองคำ
#ภาษีเทรดทอง
References
-กรมสรรพากร
-
https://www.rd.go.th/5937.html
-
https://www.moneylabstory.com/13029
1
การลงทุน
การเงิน
ทองคำ
78 บันทึก
74
5
142
78
74
5
142
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย