Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
12 เม.ย. เวลา 13:49 • สุขภาพ
ฮีสโตรกอันตราย ป้องกันอย่างไร
สงกรานต์นี้การันตีความเดือด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว อุณหภูมิ หรือแม้แต่สถานการณ์เงินในกระเป๋า😢
แม้จะมีฝนตกบ้าง แต่อากาศโดยรวมก็ยังค่อนข้างร้อน และหากร่างกายเผชิญกับความร้อนเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดลมแดด หรือ ฮีสโตรก(Heat Stroke) ได้
โรคลมแดด หรือ Heat Stroke เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน ชัก หรือหมดสติ โดยเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตได้
โดยเริ่มแรกคนที่เป็นลมแดดจะมีอาการ ตัวร้อนจัด ไม่มีเหงื่อ (หรือมีน้อยมาก) หายใจเร็ว ชีพจรเต้นแรง คลื่นไส้ อาเจียน หากรุนแรงอาจมีอาการชักและหมดสติได้
สามารถของลมแดดเกิดจาก ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมองส่วนไฮโปธาลามัสไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากอุณหภูมิที่สูง การระบายความร้อนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เหงื่อที่ระบายความร้อนออกทางผิวหนังมีน้อยหรือไม่ออกเลย
เมื่ออุณหภูมิแกนกลางร่างกายสูงเกิน 40°C เซลล์สมองเริ่มได้รับความเสียหาย เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสารสื่อประสาท หลอดเลือดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อพยายามระบายความร้อน ทำให้ความดันโลหิตลดลง ความร้อนกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokines) ทำให้เกิดภาวะ Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) เกิด Disseminated Intravascular Coagulation (DIC) ทำให้มีทั้งภาวะเลือดแข็งตัวมากเกินไปและเลือดออกง่าย
นอกจากปัจจัยเรื่องอากาศแล้ว คนที่เสี่ยงจะเป็นลมแดดง่ายกว่าคนอื่นคือ ผู้สูงอายุมีกลไกการปรับตัวต่อความร้อนลดลง คนที่กินน้ำน้อย เสี่ยงทำให้ขาดน้ำ คนที่มีโรคประจำตัว
นอกจากนี้ ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านคลอลิเนอร์จิก (Anti-cholinergic effect) ยาแก้แพ้ Generation 1st ยาต้านซึมเศร้า ยาช่วยนอนหลับบางชนิด ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดภาวะลมแดดได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
การรับมือกับภาวะลมแดดทำได้โดยนำผู้ป่วยไปยังที่ร่มหรือที่เย็นทันที
คลายเสื้อผ้า และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หรือใช้พัดร่วมกับการพรมน้ำ ให้ดื่มน้ำหากยังรู้สึกตัวดี แต่ห้ามหากมีอาการคลื่นไส้หรือหมดสติ และระหว่างนี้ ให้โทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ทันที หมายเลข 1669
และหากไม่อยากเป็นลมแดด ควรป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดในช่วงเวลา 10.00 - 16.00 น. สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรอยู่ในรถที่ปิดสนิท และหากมีอาการคล้ายลมแดด ควรรีบดำเนินการแก้ไข หรือรีบขอความช่วยเหลือทันที
อ้างอิง
Bouchama A, Knochel JP. Heat stroke. N Engl J Med. 2002 Jun 20;346(25):1978-88.
DOI: 10.1056/NEJMra011089
Leon LR, Helwig BG. Heat stroke: role of the systemic inflammatory response. J Appl Physiol. 2010 Jun;109(6):1980-8.
DOI: 10.1152/japplphysiol.00301.2010
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
1 บันทึก
3
2
1
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย