13 เม.ย. เวลา 04:20 • ธุรกิจ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญา มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ กลับมาจำหน่าย “เนสกาแฟ” ในไทย ได้ตามปกติ

สรุปลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง เนสท์เล่ (Nestlé) และตระกูลมหากิจศิริ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาล ทำให้ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามไม่ให้เนสท์เล่ ผลิตและจำหน่ายเนสกาแฟ (Nescafe) ในประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมา
1
แต่ล่าสุด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้มีคำสั่งชี้ขาด ให้เนสท์เล่ เป็นผู้ถือสิทธิเครื่องหมายการค้า “เนสกาแฟ” และ “Nescafe” ซึ่งเนสท์เล่ สามารถกลับมาจำหน่ายในไทย ได้ตามปกติแล้ว
 
1. จุดเริ่มต้นความร่วมมือ เกิดขึ้นในปี 2533 โดยเนสท์เล่ จับมือกับตระกูลมหากิจศิริ ตั้งบริษัท QCP (Quality Coffee Products) เพื่อผลิตและจำหน่ายเนสกาแฟ ในไทย
ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนแบบ 50 : 50 โดยเนสท์เล่ ถือสิทธิแบรนด์และเทคโนโลยีการผลิต ส่วน QCP คือผู้ผลิตในประเทศ
5
2. ต่อมาในปี 2564 เนสท์เล่ แจ้งยุติสัญญาร่วมทุนกับ QCP และยุติสัญญาการให้สิทธิ QCP ผลิตเนสกาแฟในประเทศไทย
และวันที่ 31 ธ.ค. 2567 สัญญาสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ตามกระบวนการที่รับรองโดยศาลอนุญาโตตุลาการสากล
3
3. หลังหมดสัญญา ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกัน และไม่สามารถตกลงเรื่องทิศทางการดำเนินงานของ QCP ได้
นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (หนึ่งในผู้ถือหุ้น QCP) จึงยื่นฟ้องเนสท์เล่ ต่อศาลแพ่งมีนบุรี
2
4. วันที่ 3 เม.ย. 2568 ศาลแพ่งมีนบุรี มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามเนสท์เล่ ผลิต, ว่าจ้างผลิต, จำหน่าย และนำเข้า ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ในประเทศไทย
8
5. ทำให้เนสท์เล่ ต้องแจ้งลูกค้าว่า ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟได้
ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก เช่น ร้านค้าปลีก, ร้านกาแฟ, ผู้ค้ารายย่อย
เกษตรกรสวนกาแฟพันธุ์โรบัสต้า (เนสกาแฟ รับซื้อเกินครึ่งของผลผลิตทั้งประเทศ)
เกษตรกรโคนมไทย ที่จัดส่งวัตถุดิบให้เนสท์เล่ รวมถึงผู้บริโภคทั่วไป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ซัปพลายเออร์ และพนักงานในห่วงโซ่การผลิตของเนสกาแฟ
2
6. ซึ่งก็มีร้านค้าและผู้บริโภคบางคน เริ่มแห่กักตุนผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ เพราะกลัวขาดตลาด
4
7. เนสท์เล่ ยืนยันกับสื่อว่า ยังมีเจตนาในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในไทย โดยมีการลงทุนในไทยกว่า 22,800 ล้านบาท ระหว่างปี 2561–2567 และจำหน่ายสินค้าในไทยมายาวนานกว่า 130 ปี
8. วันที่ 11 เมษายน 2568 เนสท์เล่ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรี ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
9. ศาลแพ่งมีนบุรี จึงนัดไต่สวนฉุกเฉินวันที่ 17 เม.ย. 2568 เพื่อพิจารณาว่า จะเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่
2
10. อย่างไรก็ตาม วันที่ 12 เม.ย. 2568 เนสท์เล่ ได้ส่งหนังสือแจ้งลูกค้าและพันธมิตรทางการค้าว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีคำสั่งชี้ขาดวันที่ 11 เม.ย. 2568 ให้เนสท์เล่ เป็นเจ้าของสิทธิเครื่องหมายการค้าเนสกาแฟ และ Nescafe แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
ทำให้เนสท์เล่ สามารถกลับมาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ในไทยได้ตามปกติ..
4
โฆษณา