Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 เม.ย. เวลา 16:00 • สุขภาพ
เหนื่อยตลอดเวลาขณะทำงาน แม้นอนพอ? รู้ 5 สาเหตุที่อาจคาดไม่ถึง
หลายคนเข้าใจว่าอาการเหนื่อยล้าเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ และพยายามแก้ด้วยการนอนให้นานขึ้น แต่ในความเป็นจริง ความรู้สึก "เหนื่อย" กับ "ง่วง" อาจมีสาเหตุที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง
1
เชลบี แฮร์ริส (Shelby Harris) นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมการนอนหลับ อธิบายว่า “เหนื่อย” คือความรู้สึกไร้เรี่ยวแรง หมดแรง ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ ส่วน “ง่วง” คือความรู้สึกที่อยากนอนหลับอย่างห้ามไม่ได้ ซึ่งแม้การนอนไม่พอจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รู้สึกเหนื่อย แต่ก็อาจไม่ใช่ต้นเหตุทั้งหมดของอาการเหนื่อยล้าที่คุณเผชิญอยู่ก็ได้
1
แฮร์ริสแนะนำว่า หากคุณนอนหลับครบชั่วโมงที่แนะนำ (ประมาณ 7-8 ชั่วโมง) แต่ยังรู้สึกไม่สดชื่น ควรมองหาสาเหตุอื่นร่วมด้วย โดยมี 5 ปัจจัยหลักที่อาจเป็นต้นตอของอาการเหนื่อยล้าแบบเรื้อรัง
1
📌 5 สาเหตุทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า แม้จะนอนเพียงพอแล้วก็ตาม
1
1. ปัญหาด้านอารมณ์
อารมณ์ที่แปรปรวน เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล สามารถส่งผลให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะอาการของโรคซึมเศร้าที่อาจทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท และรู้สึกไม่มีพลังตลอดวัน ตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC)
1
2. การนอนที่ไม่มีคุณภาพ
แม้จะนอนครบชั่วโมงที่แนะนำ แต่หากคุณภาพการนอนไม่ดี ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่น สาเหตุที่กระทบคุณภาพการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การเดินละเมอ หรือแม้แต่การนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ ก็ล้วยกระทบต่อคุณภาพการนอน เมื่อคุณภาพการนอนไม่ดีก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมา เช่น ภาวะเหนื่อยล้ามากผิดปกติ
1
3. เข้านอน-ตื่นนอน ไม่เป็นเวลา ไม่สม่ำเสมอ
การเปลี่ยนแปลงเวลาเข้านอนหรือเวลาตื่นนอนเกิน 1 ชั่วโมง อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ผู้เชี่ยวชาญเรียกสิ่งนี้ว่า “เจ็ตแล็กทางสังคม (social jet lag)” และอาการนี้จะชัดเจนเป็นพิเศษในคนที่ทำงานเป็นกะกลางคืน
1
4. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
สำหรับผู้หญิง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละช่วงของเดือน อาจทำให้รู้สึกหมดแรง ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause) หรือวัยหมดประจำเดือน (menopause) ก็อาจเจออาการเหนื่อยล้าได้เช่นกัน
1
5. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
ตามข้อมูลจาก Harvard Health Publishing ระบุว่า การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาต้านเศร้า ยาแก้แพ้ หรือยารักษาโรคภูมิแพ้ อาจทำให้คุณรู้สึกง่วงหรือเหนื่อยมากขึ้นได้
1
📌 แก้อาการเหนื่อยล้า เริ่มต้นที่การสร้างสุขอนามัยการนอน (Sleep Hygiene)
2
หากคุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ ลองเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการนอนเป็นสิ่งแรกในชีวิตก่อนเลย โดยนักจิตวิทยาแฮร์ริส แนะนำว่า “สิ่งแรกที่วัยทำงานควรทำเพื่อให้มีพลังงานมากขึ้นในแต่ละวัน คือ ดูว่าคุณได้นอนพอหรือยัง และคุณภาพการนอนดีไหม”
1
โดยในบทสัมภาษณ์ที่เธอได้พูดคุยกับ CNBC Make It เมื่อปี 2022 ชี้ว่า
คนเราไม่ควรเปลี่ยนเวลาเข้านอนเร็วหรือช้ากว่าปกติเกิน 90 นาที และควรพยายามเข้านอนในเวลาเดิมให้ได้ทุกวัน
2
นอกจากนี้ ควรสังเกตด้วยว่าร่างกายของเราจริงๆ แล้วต้องการการนอนกี่ชั่วโมง บางคนการได้นอนหลับที่ 7 ชั่วโมงก็รู้สึกสดชื่นเพียงพอแล้ว หากพยายามบังคับให้นอนต่อถึง 8 ชั่วโมง อาจยิ่งทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง
1
อย่างไรก็ตาม แฮร์ริส มีเคล็ดลับมาแนะนำเพื่อให้วัยทำงานปรับปรุงการนอนหลับให้ดีขึ้นได้ ดังนี้
1
- ลดแสงในห้องก่อนนอน
- อ่านหนังสือที่ช่วยผ่อนคลาย
- ปิดหน้าจอทุกชนิดอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการพึ่งแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้นอน และงดคาเฟอีนมากเกินไปในช่วงกลางวัน
- พยายามรับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 20 นาที
- หากคุณทำงานที่บ้าน ลองย้ายโต๊ะทำงานไปใกล้หน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติมากขึ้น
1
หากคุณได้ลองปรับพฤติกรรมการนอนแล้วติดต่อกันหลายสัปดาห์แต่ยังไม่ดีขึ้น แฮร์ริสแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
1
อ้างอิง:
-
https://tinyurl.com/2zh8kfks
-
https://www.drshelbyharris.com
-
https://tinyurl.com/mbdsp4x3
-
https://www.health.harvard.edu/medications/what-to-do-when-medication-makes-you-sleepy
1
58 บันทึก
58
1
76
58
58
1
76
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย