เมื่อวาน เวลา 02:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จาก ความฝันแบบอเมริกัน (American Dream) สู่ ความฝันแบบจีน (中国梦) : ว่าด้วยการนำพาชาติสู่ความยิ่งใหญ่

🇦🇸แนวคิดของ "American Dream" หรือความฝันแบบอเมริกัน เริ่มต้นขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 เมื่อผู้อพยพจากยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มพิวริตัน (Puritans) เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมายังโลกใหม่ ด้วยความหวังว่าจะได้มีเสรีภาพทางศาสนาและโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นรากฐานของอุดมการณ์แบบอเมริกันที่ยึดมั่นในเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และโอกาสในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น
🇺🇸คำว่า “American Dream” ปรากฏอย่างชัดเจนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1931 โดยนักประวัติศาสตร์และนักเขียนชื่อ James Truslow Adams ในหนังสือ The Epic of America เขานิยามว่า American Dream คือ "ชีวิตที่ดีขึ้น กว้างขวางขึ้น และมั่งคั่งขึ้น สำหรับทุกคน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยความสามารถของตน ไม่ใช่ด้วยชนชั้นหรือภูมิหลัง"
🦅ในความเป็นจริงของศตวรรษที่ 21 ความฝันแบบอเมริกันนั้นกลับถูกท้าทายอย่างหนักจากปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง แม้จะมีการกล่าวว่า “สร้างตัวจากศูนย์ ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ในอเมริกา” ทว่าปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยอย่างสีผิว ชนชั้นทางสังคม และภูมิหลังของครอบครัวยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อโอกาสในการศึกษา การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการมีงานที่มั่นคง
🧐ปัจจัยดังกล่าวทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกลับขยายตัวอย่างน่ากังวล ชนชั้นกลางที่เคยเป็นเสาหลักของความฝันกำลังหดหาย ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพพุ่งสูง ขณะที่ค่าแรงไม่ได้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน ทำให้หลายครอบครัวต้องทำงานหลายงานเพื่อเลี้ยงชีพ และแทบไม่เหลือเวลาหรือทรัพยากรในการพัฒนาตนเองหรือไล่ตามความฝัน
🇨🇳ถ้าหาก “American Dream” คือความฝันของปัจเจกชนในการสร้างชีวิตใหม่ “Chinese Dream” หรือ “ความฝันของจีน” ที่สีจิ้นผิงประกาศไว้ คือความฝันร่วมของชาติในการฟื้นฟูอารยธรรมจีนให้กลับมายิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 21
💭ความฝันนี้ไม่ใช่แค่คำขวัญ หากแต่เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยสีจิ้นผิงกับความฝันของจีน 2025 (The Chinese Dream 2025) คือแนวคิดสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ผู้นำจีน "สีจิ้นผิง" ใช้ในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 21 เชื่อมโยงกับ วิสัยทัศน์จีน 2025 (Made in China 2025) ซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติที่มุ่งยกระดับประเทศจีนจาก "โรงงานโลก" ไปสู่การเป็น "ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม"
🫡"ความฝันของจีน" เป็นคำที่สีจิ้นผิงกล่าวครั้งแรกในปี 2013 โดยมีเนื้อหาหลักว่า
“การฟื้นฟูชาติอันยิ่งใหญ่ของจีน คือความฝันสูงสุดของประชาชนจีนทุกคน”
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
🤔แนวคิดของความฝันจีน คืออะไร?
- สร้างเอกภาพชาติ : กระตุ้นความรักชาติและความจงรักภักดีต่อพรรค
- ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ : มุ่งเน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- เสริมอำนาจระหว่างประเทศ : แข่งขันกับสหรัฐฯ ด้านการทหาร การค้า และวัฒนธรรม
- แก้ปัญหาภายใน : เช่น ความเหลื่อมล้ำ การแบ่งแยกดินแดน (ไต้หวัน ทิเบต ซินเจียง)
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
โดยมีเป้าหมายระยะยาว ดังนี้
🦾ปี 2025 – จีนก้าวเป็นผู้นำเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมหลัก
🦾ปี 2035 – จีนเป็นประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ที่ "มั่งคั่งปานกลาง"
🦾ปี 2049 – จีนเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
โดยปี ค.ศ. 2025 เป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญตามแผน "สองเป้าหมายร้อยปี" ของจีน (Two Centenary Goals) โดยสัมพันธ์กับแผนยุทธศาสตร์ “Made in China 2025” ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ
🎯ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีตะวันตก
🎯พัฒนาอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น AI, หุ่นยนต์, ชิ้นส่วนอากาศยาน, รถยนต์ไฟฟ้า, เภสัชกรรม, ชิปเซ็ต
🎯ยกระดับคุณภาพสินค้าจีนให้แข่งขันได้ในระดับโลก
🎯สร้างนวัตกรรมภายในประเทศ
🎯ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความมั่นคงและกองทัพ
🤖รายละเอียด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
1. เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ เช่น เซมิคอนดักเตอร์, 5G, AI
เป้าหมาย : เป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก
2. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เช่น แขนกล, หุ่นยนต์ประกอบชิ้นส่วน
เป้าหมาย : เพิ่มอัตโนมัติในอุตสาหกรรม
3. อากาศยานและอวกาศ เช่น เครื่องบิน C919, ระบบนำทาง Beidou
เป้าหมาย : ลดการพึ่งพาอากาศยานตะวันตก
4. อุปกรณ์การขนส่งทางราง เช่น รถไฟหัวกระสุน, ระบบควบคุมสัญญาณ
เป้าหมาย : พัฒนาเครือข่ายรางขั้นสูง
5. ยานยนต์พลังงานใหม่ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ลิเธียม
เป้าหมาย : เป็นผู้นำตลาด EV โลก
6. อุปกรณ์พลังงาน เช่น กังหันลม, สมาร์ทกริด
เป้าหมาย : เสริมความมั่นคงด้านพลังงาน
7. เครื่องจักรการเกษตร เช่น รถดำนา, เครื่องเก็บเกี่ยวอัตโนมัติ, โดรนเพื่อการเกษตร, IOT
เป้าหมาย : ยกระดับเกษตรด้วยเครื่องจักรอัจฉริยะ
8. วัสดุใหม่ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์, วัสดุนาโน, กราฟีน, Superalloys
เป้าหมาย : พัฒนาวัสดุขั้นสูงใช้ในอุตสาหกรรม
9. เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ เช่น วัคซีน, หุ่นยนต์ผ่าตัด
เป้าหมาย : ยกระดับสุขภาพและนวัตกรรมทางการแพทย์ ลดการนำเข้าจากยุโรปและสหรัฐฯ
10. อุปกรณ์ทางทะเลและวิศวกรรมเรือ เช่น เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่, ระบบขุดเจาะทะเล
เป้าหมาย : พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือขั้นสูง
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
🎖️สรุป
ขณะที่ “American Dream” หรือความฝันแบบอเมริกัน เน้นหนักที่การเติมเต็มชีวิตของ ปัจเจกบุคคล ตรงกันข้าม “Chinese Dream” หรือความฝันแบบจีน กลับมุ่งเน้น ความฝันร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ ความเจริญต้องไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของ “ชาติ” ในภาพรวม ความสำเร็จของประเทศคือความสำเร็จของประชาชนทุกคน ไม่ใช่แค่คนเก่งหรือคนมีโอกาส คำกล่าวที่ว่า “ไปคนเดียวอาจไปได้เร็ว แต่ไปด้วยกันจะไปได้ไกลกว่า” คือหัวใจของความฝันแบบจีน
อีกหนึ่งจุดเด่นของโมเดลจีนคือ การพึ่งพาตนเองภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี อุตสาหกรรม หรือการผลิตทรัพยากรที่สำคัญ แม้จะเผชิญแรงกดดันจากภายนอก แต่จีนกลับยืนหยัดได้เพราะมีรากฐานภายในที่เข้มแข็ง
บทเรียนนี้สะท้อนชัดว่า ประเทศจะยืนหยัดและเติบโตได้อย่างมั่นคง ต้องสร้างฝันที่ทุกคน “มีส่วนร่วม” และฝันนั้น.....ต้องไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง🫂
โฆษณา