14 เม.ย. เวลา 01:41

"มีคนเคยพูดไว้ว่า โฆษณาคืองานที่สนุกที่สุดที่คุณสามารถทำได้ โดยไม่ต้องทำอะไรน่าอายหรือผิดแปลก!" 🧠

Ashish Khazanchi ผู้ก่อตั้ง Enormous มองย้อนกลับไปยังช่วงเวลาทองของวงการโฆษณาอินเดีย เมื่อการ "สร้างวัฒนธรรมองค์กร" มีความสำคัญไม่แพ้กับการ "สร้างแบรนด์"
Khazanchi สรุปความ "สนุก" นี้ว่า ไม่ใช่แค่เรื่องค่าตอบแทน แต่คือ "ความหมายแท้จริงของคำว่า วัฒนธรรมในวงการโฆษณา" ที่เคยเต็มไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ และจิตวิญญาณที่ทำให้คนรักในสิ่งที่ทำ แต่ทุกวันนี้ คนรุ่นใหม่ในสายงานนี้ กลับไม่ค่อยรู้สึกถึงสิ่งนั้นอีกต่อไป 🤷🏻‍♂️
แต่ในอีกมุมหนึ่ง — ผู้นำในวงการโฆษณาระดับ Top 1% ของอินเดีย ยอมรับถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ เรามีความหวังว่า อนาคตของวงการยังคงสามารถกลับมา "สนุกและมีจิตวิญญาณ" ได้อีกครั้ง
🦜นกกระซิบ: มุมมองเพิ่มเติมในเชิงแบรนด์
แบรนด์ที่ดีในยุคนี้ ไม่ได้สร้างจากแค่ กลยุทธ์หรืองบโฆษณา แต่สร้างจาก คนในวงการที่มีไฟ มีวัฒนธรรมการทำงานที่รักในความคิดสร้างสรรค์ เพราะสุดท้ายแล้ว แบรนด์ที่แข็งแรง ต้องมี “จิตวิญญาณ” ซึ่งสิ่งนั้นจะเกิดไม่ได้เลย ถ้าเอเจนซี่หรือทีมเบื้องหลังไม่มีพลังใจที่แท้จริง 🔥
ถ้าเราสร้างวัฒนธรรมให้คนกลับมารักในงานโฆษณาอีกครั้ง—แบรนด์ก็จะกลับมามีชีวิตอีกครั้งเช่นกัน 🪴
มันเจ็บแต่จริงมาก…😣
สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ วิวัฒนาการ (หรือบางทีก็เรียกว่า การ "เสื่อมถอย") ของบทบาท Creative จากนักคิด นักคัด นักขัดเกลา กลายเป็นผู้ผลิตเนื้อหาจำนวนมากเพื่อตอบสนอง "อัลกอริธึม" ไม่ใช่ให้ได้ "หัวใจคนดู" อีกต่อไป
ในยุคที่ "Content is king" เราอาจลืมไปว่า "Concept is the soul"
การเป็น Content Creator กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ เพราะเครื่องมือพร้อม แพลตฟอร์มเปิดกว้าง ทุกคนถ่าย ตัด ต่อ โพสต์เองได้ 📱
แต่ สิ่งที่หายไปคือ "การคิดอย่างมีชั้นเชิง" และ "การเล่าเรื่องอย่างมีเจตนา" — ซึ่งเป็นหัวใจของงาน Creative จากเอเจนซีที่ดี 🧠💡
คนที่ไม่เคยผ่านกระบวนการ "แก้ไอเดียจนแทบร้องไห้" หรือ "โดน Creative Director ด่าจนจุกเพื่อให้คิดให้เฉียบขึ้น" จะไม่รู้เลยว่า กว่าจะได้ไอเดียดีๆ มันต้องผ่านกระบวนการบ่มเพาะแค่ไหน!
แล้วส่งผลยังไงต่อ "แบรนด์"?
แบรนด์จำนวนมาก คิดว่า จ้าง Content Creator แล้วจะถูกกว่า ได้เร็วกว่า มี Engagement เยอะกว่า แต่นั่นแหละ...มันเลยทำให้แบรนด์ดู "เหมือนกันไปหมด" ไม่มี Character ไม่มี Brand Voice ไม่มีอะไรที่ฝังอยู่ในใจคน
สุดท้าย แบรนด์กลายเป็นแค่ "โพสต์บนไทม์ไลน์" ที่อีก 3 วิ ก็โดนปัดผ่านไป!
แล้วเราควรทำยังไง?
ถ้าเป็นผมอยากเสนอว่า: แบรนด์ควร "กลับมาเคารพความคิด" มากกว่าแค่สนใจปริมาณของโพสต์
Creative รุ่นใหม่ควรผ่านการขัดเกลา ไม่ใช่แค่ลงมือทำ และที่สำคัญ...ต้องมีคนแบบที่ยังไม่ยอมปล่อยให้จิตวิญญาณของ Creative ตายไปกับเทรนด์ 💪🏻
Credit: Good Ads Matter
เกร็ดเล็กๆ ของแบรนด์ by Nok Creative Branding & BirdBrand
โฆษณา