14 เม.ย. เวลา 03:18 • ข่าวรอบโลก

นอกจากคูลิดจ์แล้ว ทรัมป์ยังเหมือนฮูเวอร์

นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
บทความนี้เป็นตอน 3 ที่ผมรับใช้ถึง The Great Depression หรือเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ.1929-1939
หมดยุคของคาลวิน คูลิดจ์ (1923-1929) ก็ถึงยุคของประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ (1929-1932) เศรษฐกิจสหรัฐฯก็ยังลงเหว
ฮูเวอร์ตั้ง Federal Reserve Board (คณะกรรมการเงินทุนสำรองของรัฐบาลกลาง) เพื่อให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ได้ง่ายขึ้น
1
แต่ธนาคารไม่เห็นพ้องต้องกันกับประธานาธิบดี ก็ไม่ปล่อยเงิน ทำให้เกิดสภาพคล่องล้นระบบ
คนทั่วไปไม่มีเงินที่จะไปลงทุน เมื่อไม่มีการลงทุน เศรษฐกิจก็ไม่ถูกปลุกให้ตื่นฟื้นตัว
ประธานาธิบดีสหรัฐฯก่อนหน้านี้ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูงเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศ จึงถูกตอบโต้ทางการค้าจากประเทศอื่น และเลิกสั่งสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ
เกษตรกรต้องทำลายผลผลิตของตนเอง ไม่มีเงินไปคืนธนาคาร เกษตรกรก็ถูกยึดที่ดิน และกลายเป็นคนเร่ร่อน
คนจนอเมริกันหลายล้านคนที่ไปยืนรอรับอาหารจากองค์กรการกุศล ไปหาวัสดุมาทำเพิงพักจนเกิดชุมชนแออัดที่เรียกว่า Hooverville ตามชื่อประธานาธิบดีฮูเวอร์ ซึ่งชุมชนแบบนี้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ
ฮูเวอร์ยังละเมอเพ้อพกปลอบใจประชาชนว่า อ้า อเมริกันคนคนเจริญ ความมั่งคั่งอยู่แค่เอื้อม ขอให้อดทน
แถมแกยังสั่งทำงบประมาณแบบสมดุล ตัดทอนรายจ่ายของรัฐ แบบเดียวกับอีลอน มัสก์ ที่บริหาร DOGE องค์กรตัดงบประมาณและไล่คนออกจากงาน
1
DOGE ของทรัมป์และมัสก์เกิดขึ้นใน ค.ศ.2025 ไม่น่าเชื่อครับ ว่าจะไปคล้ายกันกับวิธีการของฮูเวอร์เมื่อ 95 ปีที่แล้ว ที่แกตัดรายจ่ายเพื่อจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ
นอกจากนั้นยังตั้งกำแพงภาษีสินค้าสูงกว่าเดิมเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
ทันทีที่อ่านภาษีขาเข้าของทรัมป์ใน ค.ศ.2025 ผมก็จินตนาการย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ.1930 รัฐสภาสหรัฐฯผ่าน Hawley-Smoot Tariff Act หรือรัฐบัญญัติพิกัดอัตราภาษีศุลกากรฮอว์ลีย์-สมูต ที่เรียกเก็บภาษีสินค้าขาเข้าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ
ประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาสมัยเมื่อ 95 ปีที่แล้วละเมอเพ้อว่ารัฐบัญญัติฉบับนี้จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จะทำให้คนเข้ามาลงทุนในสหรัฐฯมากขึ้น
But no แต่ไม่ใช่เลย รัฐบัญญัติฉบับนี้กลับทำให้ยุโรปผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งสินค้าของตนเข้ามาขายในสหรัฐฯไม่ไหว
1
เพราะต้นทุนภาษีนำเข้าที่แพง ทำให้ราคาสินค้าแพง คนไม่มีเงินซื้อ ทำให้พวกยุโรปขายสินค้าให้คนอเมริกันไม่ได้
2
เมื่อขายสินค้าไม่ได้ คนยุโรปก็ไม่มีสตางค์ไปซื้อสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ กลับเช่นเดียวกัน
เศรษฐกิจยุโรปหดตัว เศรษฐกิจสหรัฐฯที่หดตัวจนกระจิดริดกระจ้อยร่อยอยู่แล้วก็ฝ่อลงไปอีก
สุดท้ายก็เกิดคล้ายกับสงครามการค้า
1
ยุโรปตอบโต้สหรัฐฯด้วยการตั้งกำแพงภาษีขาเข้าสูงเช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าเกษตรของสหรัฐฯส่งไปขายในยุโรปไม่ได้
ก่อนหน้าฮูเวอร์คือคูลิดจ์ที่เป็นประธานาธิบดีหัวดื้อ เชื่อมั่นในตัวเองสูง พอมาถึงยุคของฮูเวอร์ ฮูเวอร์บ้ากว่าคูลิดจ์เยอะ บ้าจนประเทศพัง
1
พังแล้วแกก็ไปขอให้ประเทศต่างๆให้มาเจรจาข้อตกลงนานาชาติเพื่อฟื้นฟูการค้าระหว่างประเทศ แต่ไม่มีใครเอาด้วย
กว่าจะรู้ว่าหมู่หรือจ่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯก็ย่อยยับอับปาง คราวนี้ฮูเวอร์ตระหนกตกใจทำอะไรไม่ถูก เงอะงะฟะเฟอะ หน้าตาตื่น เหงื่อแตก
1
เจอใครก็ยิ้มแห้งๆ วันหนึ่งแกเดินไปที่ไมโครโฟนและตะโกนว่า...
1
“อ้า”...“คือว่า”...“แบบว่า...”
"...เราน่าจะสร้างงานเพื่อให้คนมีงานทำนะ ข้าพเจ้าจะเอาสตางค์ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯมาสร้างเขื่อนโบลเดอร์กั้นแม่น้ำโคโลราโด พอคนมีงานทำ ก็เอาเงินไปใช้หมุนเวียน"
หลายคนเรียกเขื่อนนี้ว่าเขื่อนฮูเวอร์
วิธีการสร้างเขื่อนสร้างงานของฮูเวอร์ไม่ได้ผล เศรษฐกิจยิ่งตกต่ำซ้ำเติม
ฮูเวอร์ไปเอาผ้าขาวไปปู หัวหมูไปวาง จุดธูปเก้าดอกปักบนพื้นดิน กราบเกษตรกรอเมริกันสามครั้ง แล้วพูดว่า...
อ้า ขอให้พวกท่านอย่าปลูกพืชมากนะครับ ปลูกมาก ผลผลิตออกมามาก ราคาก็ถูก
ปลูกให้น้อย ให้ผลผลิตในตลาดขาดแคลน คนจะได้แย่งกันซื้อ ราคาก็สูงขึ้น
อังคารวันพรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ.
โฆษณา