14 เม.ย. เวลา 05:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ประเทศที่แข็งแกร่งกว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายครองโลกอีกต่อไป

💪หลักการ "Strong powers must dominate" หรือ "ประเทศที่แข็งแกร่งต้องเป็นฝ่ายครองโลก" เป็นแนวคิดที่เน้นว่า ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การทหาร และอำนาจทางการเมือง จะต้องนำไปสู่การมีบทบาทเหนือกว่าชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะในเวทีระหว่างประเทศ แนวคิดนี้มักเกี่ยวข้องกับ ลัทธิจักรวรรดินิยม (imperialism) และ ความเป็นมหาอำนาจ (superpower politics)
🌍หลักการนี้ไม่ได้ถูกบัญญัติเป็นทฤษฎีอย่างชัดเจนในเอกสารใด แต่มีรากฐานมาจากพฤติกรรมของรัฐมหาอำนาจในอดีต โดยเฉพาะลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ศตวรรษที่ 19–20 เห็นการแย่งชิงอาณานิคมเพื่อควบคุมทรัพยากรและแรงงาน มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เชื่อว่าความเจริญของตนควรขยายอิทธิพลออกไปยัง “โลกที่ด้อยพัฒนา” แนวคิดนี้นำไปสู่การพิชิตและกดขี่ประเทศอื่น เช่น อินเดีย แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
🚀ผลลัพธ์ของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ (Great Power Rivalry) ในยุคสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตพยายามครองอิทธิพลทางอุดมการณ์ ใช้ความแข็งแกร่งทางทหารและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขัน การครอบงำผ่านพันธมิตรทางทหาร เช่น NATO หรือ Warsaw Pact แนวคิดนี้เป็นการมองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบ “zero-sum game” (ถ้าฉันได้ แปลว่าเธอต้องเสีย) สร้างความหวาดระแวง และแข่งกันสะสมอาวุธ
britannica.com
🆚ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันของมหาอำนาจ แนวคิดที่ว่า "ประเทศที่แข็งแกร่งต้องครองโลก" หรือ Strong powers must dominate กลายเป็นสูตรสำเร็จของนโยบายต่างประเทศหลายประเทศ โดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก
อย่างไรก็ตาม จีนได้เลือกแนวทางที่แตกต่างออกไป โดยยึดหลัก “ความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน” หรือ Win-Win Cooperation เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตน ซึ่งสะท้อนถึงยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เน้นเสถียรภาพ การพัฒนาร่วมกัน และการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็น
🫡โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดและยุทธศาสตร์ระดับชาติต่อไปนี้
🇨🇳1. ประวัติศาสตร์แห่งการถูกกดขี่
จีนเคยเผชิญกับ “ศตวรรษแห่งความอัปยศ 屈辱” (Century of Humiliation) ซึ่งถูกต่างชาติรุกรานและแบ่งแยก เช่น สงครามฝิ่น การตกเป็นอาณานิคมบางส่วน ทำให้จีนมีท่าทีต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมอย่างชัดเจน
บทเรียนที่จีนเรียนรู้คือ “อย่าใช้ความแข็งแกร่งไปกดขี่ผู้อื่น เหมือนที่จีนเคยเผชิญมา”
จีนจึงระมัดระวังในการใช้อำนาจ ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ไม่ว่าจะในฐานะ “ผู้ถูกรุกราน” หรือ “ผู้รุกราน”
🇨🇳2. แนวคิด “ร่วมมือ-ได้ประโยชน์ร่วม”
จีนเน้นแนวทาง “win-win cooperation” คือ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยเฉพาะผ่านโครงการอย่าง Belt and Road Initiative ซึ่งพยายามแสดงว่าจีนกำลัง “แบ่งปันโอกาส” ไม่ใช่ “ขยายอิทธิพล”
จีนใช้แนวทาง "เสริมสร้างอำนาจแบบนุ่มนวล" แทนที่จะใช้กำลังทางทหารหรือการครอบงำทางเศรษฐกิจแบบก้าวร้าว
🇨🇳3. แนวคิด “ฟื้นฟู ไม่ครองโลก”
คำขวัญ “ฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของชนชาติจีน” (中华民族伟大复兴) หมายถึงการฟื้นความรุ่งเรืองในอดีตของจีน ไม่ใช่การไปแทรกแซงประเทศอื่นแบบมหาอำนาจดั้งเดิม เช่น สหรัฐ หรืออดีตจักรวรรดิอังกฤษ
จีนต้องการสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่มั่นคง เพื่อมุ่งพัฒนาภายใน ไม่ใช่เข้าสู่ความขัดแย้ง
🇨🇳4. การเมืองระหว่างประเทศแบบใหม่
สี จิ้นผิงผลักดันแนวคิด “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ” (命运共同体) ซึ่งมุ่งส่งเสริมโลกที่เท่าเทียม มีความร่วมมือ และเคารพอธิปไตยของกันและกัน
แนวคิด “win-win” แสดงให้เห็นว่าจีน “ขึ้นเป็นใหญ่” ด้วยแนวทางแห่งสันติ ไม่ใช่การล่าอาณานิคม
ขัดแย้งกับแนวคิด "มหาอำนาจต้องครองความได้เปรียบ"
🇨🇳5. ความมั่นใจในแบบ “Soft Power จีน”
จีนเชื่อว่า ตนสามารถ “เป็นผู้นำ” โดยไม่จำเป็นต้อง “ครองโลก” ผ่านวัฒนธรรม เทคโนโลยี การค้า และนวัตกรรม
การใช้แนวคิด Win-Win ทำให้ประเทศต่าง ๆ ยินดีร่วมมือกับจีน เพราะไม่รู้สึกถูกกดขี่หรือเอาเปรียบ
ยกตัวอย่างเช่น การส่งออกเทคโนโลยี 5G, ระบบการศึกษา, ภาษาจีน ฯลฯ
🤜สรุป การพึ่งพาเครือข่ายซัพพลายเชนระหว่างประเทศ แม้จะทำให้ต้นทุนต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของกำลังการผลิต และความสามารถการผลิตภายในประเทศ จึงต้องหันหน้าไปพึ่งพาประเทศที่ผลิตได้ต้นทุนที่ต่ำว่า เช่นประเทศจีนที่สามารถรักษาต้นทุนการผลิตให้ต่ำได้ เพราะเข้าใจและใช้ประโยชน์จากหลักการ Economy of Scale โดยมีฐานผู้บริโภคและแรงงานขนาดยักษ์ ทำให้สามารถผลิตจำนวนมากและรองรับการบริโภคได้เองในเบื้องต้น
🤝แนวคิดเรื่อง "ผู้แข็งแรงกว่าต้องเป็นผู้ครองโลก" กำลังถูกแทนที่ด้วยหลักการใหม่ที่ว่า “ผู้ที่ยั่งยืน คือผู้ที่ยืนได้ด้วยตนเอง และยื่นมือให้ผู้อื่น” ไม่ว่าจะในด้านอาหาร พลังงาน หรือเทคโนโลยี นวัตกรรม ประเทศที่วางรากฐานสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมั่นคง จะไม่เพียงแค่รอด แต่จะกลายเป็นเสาหลักของโลกใบใหม่🌍
🇹🇭สำหรับ ประเทศเล็กในโลกใหญ่อย่างประเทศไทยแล้ว มักถูกจัดอยู่ในตำแหน่งที่มี อำนาจการต่อรองต่ำ อีกทั้งยังต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้า-บริการเป็นหลัก พึ่งพาเทคโนโลยีและพลังงานจากต่างประเทศ
แต่หากวางรากฐานด้วยหลักแห่ง “ความไม่ประมาท” และ “พึ่งพาตนเอง” ตามหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" แล้ว จะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างสง่างามและมั่นคง
3
😇เพราะที่สุดแล้ว ความเข้มแข็งที่ยั่งยืน ไม่ได้เกิดจากการพึ่งพาภายนอก แต่อยู่ที่การยืนหยัดด้วยตนเอง – ดังที่พุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ” ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
1
โฆษณา