15 เม.ย. เวลา 03:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศที่ประเทศตนได้เปรียบ

🤜🤛ในการค้าระหว่างประเทศ แนวคิด “Zero-Sum Game” หมายถึงการมองว่าการได้ประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งต้องแลกกับการสูญเสียของอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ หากประเทศหนึ่งส่งออกได้มากขึ้น ก็แปลว่าอีกประเทศหนึ่งต้องนำเข้าและขาดดุลมากขึ้น จึงมีลักษณะ “ชนะ–แพ้” และมักนำไปสู่นโยบายกีดกันทางการค้า เช่น การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าคู่แข่ง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนเอง
🤝ในทางตรงกันข้าม แนวคิด “Win-Win Cooperation” เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายสามารถได้รับประโยชน์ร่วมกันจากการค้า ผ่านความร่วมมือ เช่น การแบ่งปันเทคโนโลยี การพัฒนาซัพพลายเชนร่วม หรือการลงทุนข้ามพรมแดน แนวคิดนี้เห็นว่าการค้าไม่ใช่การแข่งขันอย่างเดียว แต่เป็นโอกาสในการเติบโตไปด้วยกัน
🇺🇸สรุปปัจจัยที่ทำให้สหรัฐได้เปรียบทางการค้า
1. ดอลลาร์สหรัฐคือสกุลเงินหลักของโลก
2. มีแบรนด์และเทคโนโลยีชั้นนำของโลก
บริษัทอย่าง Apple, Microsoft, Google, Tesla
3. เศรษฐกิจขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง
4. ระบบการเงินและตลาดทุนพัฒนาแล้ว
5. กฎกติกาทางการค้าระดับโลกจำนวนมากถูกกำหนดโดยสหรัฐเ ป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง WTO, IMF, World Bank และเป็นผู้นำในการกำหนดระเบียบสากล
6. การครองทรัพยากรยุทธศาสตร์
มีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ)
7. อำนาจทางทหารรองรับอำนาจทางเศรษฐกิจ
🇨🇳สรุปปัจจัยที่ทำให้จีนได้เปรียบทางการค้า
1. ต้นทุนการผลิตต่ำ จีนมีแรงงานจำนวนมาก และค่าแรงที่ต่ำกว่า
2. เศรษฐกิจขนาดใหญ่และหลากหลาย (Economy of Scale) ผลิตสินค้าในปริมาณมหาศาล ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
3. โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์แข็งแกร่ง
4. นโยบายรัฐที่เอื้อต่อการส่งออก เงินหยวนที่ถูกควบคุมให้อ่อนค่ากระตุ้นการแข่งขันสินค้า
5. ความสามารถในการเรียนรู้และลอกเลียนแบบ
6. ตลาดในประเทศขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 1,400 ล้านคน ทำให้มีอำนาจต่อรอง
7. กำหนดกติกาใหม่ สร้างกฎใหม่ผ่านโครงการต่างๆ เช่น RCEP, BRI
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
🧐สรุป เกมการค้าระหว่างสองมหาอำนาจไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลขการส่งออกหรือนำเข้า แต่สะท้อนถึงยุทธศาสตร์โลกที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง—สหรัฐฯ พยายามตรึงสถานะภาพมหาอำนาจอันดับหนึ่งที่แข็งแกร่งที่สุด ที่มาของอำนาจควบคุมกฎกติกาโลกเอาไว้ในมือ ขณะที่จีนสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับอำนาจของตนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบทีละน้อย
🤖แม้ว่าเทคโนโลยีของจีนในหลายด้านยังคงตามหลังสหรัฐฯ "นวัตกรรมจากความคิดสร้างสรรค์ของประเทศเสรีนิยมก้าวไปไกลกว่าสังคมนิยม" แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจีนก็เป็น" ฐานการผลิตของโลก" และ "ผู้ถือครองทรัพยากรสำคัญ" ที่แม้แต่สหรัฐฯ ก็ไม่อาจตัดขาดได้ในชั่วข้ามคืน จีนจึงไม่ได้เป็นเพียงผู้ตามทางเทคโนโลยี แต่เป็นผู้ควบคุมเส้นทางการผลิตในโลกยุคปัจจุบัน
🆚ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ สรุปได้ว่า สหรัฐฯ ยังคงโดดเด่นจากการเป็น “ผู้นำด้านนวัตกรรม” ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีที่เปิดกว้างต่อแนวคิดใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และการแข่งขัน ในขณะที่จีนได้เปรียบจากการค้าแบบควบคุมบนพื้นฐานของแรงงานและทรัพยากร ถือความได้เปรียบจากระบอบสังคมนิยม ที่กำหนดทิศทางได้ตามที่พรรคคอมมิวนิสต์วางแผนไว้
โฆษณา