17 เม.ย. เวลา 02:45 • สิ่งแวดล้อม

Microsoft ประกาศกักเก็บคาร์บอนเพิ่ม มุ่งมั่นที่จะมีการปลดปล่อยก็าซเรือนกระจกเป็นลบ

ทำไมแค่เป็นกลางทางคาร์บอนถึงไม่เพียงพอ?
เป้าหมายในการลดอุณหภูมิโลกให้ได้ 1.5 องศาเซลเซียล ที่หลายชาติลงนามร่วมกันที่เราเคยๆได้ยินชื่อว่า ข้อตกลงปารีส (Paris agreement) โดยแต่ละประเทศประกาศเป้าหมายในการลดปริมาณเป็นของตนเอง เช่น ประเทศไทยวางแผนที่จะเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2050
ปกติเป้าหมายที่แต่ละที่ตั้งไว้จะทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายความว่าปริมาณที่ทำการปลดปล่อยและปริมาณที่ทำการลดจะเท่ากัน กระบวนการนี้มีชื่อว่า offsetting ที่ส่วนมากทำโดยการปลูกต้นไม้และการใช้พลังงานสะอาด ตัวอย่างของไทยเราต้องเร่งความสามารถในการดูดซับให้มากกว่า 120 ล้านตันต่อปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
จะเป็นลบได้ต้องกักเก็บ/จัดการมากกว่าที่ปล่อยนั้นเอง
แต่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นไม่เพียงพอสำหรับ Microsoft เพราะว่าไม่ได้พิจารณาถึงปริมาณคาร์บอนที่ได้มีการปลดปล่อยอยู่ก่อนแล้วซึ่งยังเป็นจัวการที่ทำให้เกิดโลกร้อนอยู่ดี การตั้งเป้าที่จะลดเป็นองค์กรที่การปลดปล่อยเป็นลบนั้น นอกจากจะตั้งบริหารจัดการก็าซที่ปลดปล่อยแล้วยังต้องจัดการคาร์บอนที่มีอยู่แล้วในชั้นบรรยากาศเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม (นอกเหนือจากการปลูกต้นไม้แบบปกติ)
Microsoft และเป้าหมายที่ท้าทาย
ปี 2023 Microsoft มีการปลดปล่อยก็าซเรือนกระจกประมาณ 17 ล้านตัน (เท่ากับปริมาณที่รถยนต์สันดาปประมาณ 3,700,000 คันปล่อยใน 1 ปี) เราพบว่าแม้จะมีความพยายามหลายๆอย่าง แต่ปริมาณการปลดปล่อยยังสูงกว่าปี 2020 ที่ใช้เป็นฐานเทียบถึง 29%
ปริมาณการปลดปล่อยส่วนมากการใน scope ที่ 3 ซึ่งเกิดจากคู่ค้าต่างๆ นอกจากนี้การขยายตัวของดาต้าเซนเตอร์ก็มีส่วนทำให้การปล่อยก็าซเรือนกระจก มีปริมาณมากขึ้น
ถึงจุดนี้เป้าหมายในการเป็นองค์กรที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นลบยิ่งมีความท้าทาย
เป้าหมายของ Microsoft
ความร่วมมือที่ผ่านมาในการลดการปล่อย GHG
แนวทางหลักที่ทาง Microsoft ใช้คือการเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงานสะอาด จากรายงานความยั่งยืนบริษัท Mocrosoft ได้ใช้พลังงานสะอาด 100% เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2020 (เร็วกว่าแผนที่ตั้งไว้ในปี 2025)
บริษัทเองยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดีขึ้น รวมถึงมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการผลิตพลังงานสำหรับดาต้าเซนเตอร์ อาทิเช่น การใช้พลังงานจากไฮโดรเจน (hydrogen fuel cells)
Microsoft ยังสนับสนุนกองทุนที่ชื่อว่า Climate Innovation Fund เป็นเงินประมาณ 1000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมุ่งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการกักเก็บก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มีความพร้อมมากขึ้น
จับมือ CO280 เพื่อจัดการคาร์บอน 3.7 ล้านตัน
แต่แนวทางทั้งหมดก็ยังไม่เพียงพอ Microsoft จึงประกาศความร่วมมือ CO280 เพิ่มเติม
CO280 ก่อตั้งโดย Jonathan Rhône โดยก่อยหน้านี้เขาเป็นเซลล์ขายเครื่องผลิตไฟฟ้าให้แก่โรงงานผลิตกระดาษ ก่อนที่จะมาเริ่มธุรกิจใหม่
โดย CO280 จะทำการกักเก็บก็าซที่เกิดจากการผลิตของโรงงานกระดาษ ใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บโดยใช้สารเคมีในกลุ่มเอมีน โดยเมื่อทำการดูดจับ CO2 ที่ปล่อยออกจากหม้อต้มไอน้ำ หลังจากนั้นจะทำการส่งก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านท่อไปเก็บในชั้นหินใต้ทะเลต่อไป
กระบวนการกักเก็บคาร์บอนของ CO280
Mocrosoft ได้เซ็นสัญญากับ CO280 เป็นเวลา 12 ปี เพื่อทำการกักเก็บคาร์บอนมากกว่า 3 ล้านตัน
มูลค่าของสัญญาไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ทาง CO280 ประกาศไว้อยู่ที่ประมาณ 200 เหรียญต่อตัน ซึ่งจะทำให้สัญญาการจัดซื้อของ Microsoft มีมูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาทเลยที่เดียว
ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากก็าซเรือนกระจก ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่รอทุกคนร่วมมือแก้ไข แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่มีเทคโนโลยีที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ก็อาจจะเป็นผู้นำในธุรกิจใหม่ ธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนเหมือน CO280
ในไทยจะมีบริษัทไหนที่สามารถสร้างรายได้จากการกักเก็บคาร์บอนได้บ้างไหมนะ?
โฆษณา