Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เอ็กซ์ตร้า นายอรรณพ ศิริศรี
•
ติดตาม
17 เม.ย. เวลา 04:53 • การศึกษา
คนไม่พอ (คนโลภ) กับ คนพอเพียง (คนไม่โลภ)
โอกาสประสบความสำเร็จ ใคร ? มากกว่ากัน ตามหลักพุทธศาสนา
.
สวัสดีครับ กระผม คุณครูเอ็กซ์ตร้า
.
กราบสวัสดี ผู้เจริญในธรรม ในศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่าน ครับ
.
ก่อนจะมาเปรียบเทียบกัน
เราต้องมานิยามคำว่า "ประสบความสำเร็จ" ให้เข้าใจตรงกันก่อน นะครับ
.
เพราะโลกยุคสมัยปัจจุบันนี้ มักวัดความสำเร็จกันที่ วัตถุ และ ชื่อเสียง ครับ
.
แต่ในทาง "พุทธศาสนา" มองว่า ความสำเร็จที่แท้จริง
.
คือ "ความสุข" ที่ยั่งยืน และ นำไปสู่การหลุดพ้นจาก "ความทุกข์"
.
หากเป็นความสำเร็จ "ทางโลก" (โลกียะ) ก็จะประมาณว่า
.
ลาภ (ทรัพย์) , ยศ (ตำแหน่ง) , สรรเสริญ , ความสุขทางกาย
.
หากเป็นความสำเร็จ "ทางธรรม" (โลกุตตระ) ก็จะประมาณว่า
.
จิตใจสงบ (สมถะ) , ปัญญารู้เท่าทัน (วิปัสสนา) , อิสรภาพจากตัณหา (นิพพาน)
.
แล้วแบบไหนที่ "พระพุทธเจ้า"
ทรงสอนว่าเป็นทางแห่ง "ความสำเร็จ" ที่แท้จริง
.
วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบกัน
ระหว่าง คนไม่พอ (คนโลภ) กับ คนพอเพียง (คนไม่โลภ)
.
โอกาสประสบความสำเร็จ ใคร ? จะมากกว่ากัน ตามหลักพุทธศาสนา
.
ในคลิปนี้มีคำตอบ ครับ
.
เรามาดูข้อดี ของ คนไม่พอ (คนโลภ) กันก่อนนะครับ
.
ข้อดี ของ คนไม่พอ (คนโลภ) คือ
.
มีแรงผลักดันสูง มีความมุ่งมั่นที่จะได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ
.
อาจทำให้สร้างความมั่งคั่ง หรือ ความก้าวหน้าในอาชีพได้รวดเร็ว
.
มักมองหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเองอยู่เสมอ
.
กล้าเสี่ยง และ กล้าลงทุนในสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูง
.
ส่วนข้อเสีย ของ คนไม่พอ (คนโลภ) คือ
.
อาจขาดความสุขทางจิตใจ เพราะไม่เคยรู้สึก "พอ"
.
ต้องแข่งขัน เปรียบเทียบตัวเอง กับผู้อื่นอยู่เสมอ
.
เสี่ยงต่อการตัดสินใจผิดพลาด
เพราะ "ความโลภ" เช่น ลงทุนแบบ "ขาดสติ"
.
อาจมีการทำลายความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างด้วย "ผลประโยชน์"
.
ประสบปัญหา "ความเครียด" สูง
เพราะ ต้องคิดบริหารจัดการอยุ่ตลอดเวลา
มีความต้องการมากจนเกินจำเป็น
.
ส่วนข้อดีของ คนพอเพียง (คนไม่โลภ)
.
ข้อดี ของ คนพอเพียง (คนไม่โลภ) คือ
.
มีความสุขง่าย รู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่
.
ทำให้ชีวิตมีความสมดุล ทั้งด้านการงาน และ จิตใจ
.
มีสติในการตัดสินใจ ไม่เสี่ยงเกินไป
และ มักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว
.
ปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
.
การรู้จักพอเพียง นำไปสู่ "ความยั่งยืน" ในระยะยาว
.
ส่วนข้อเสีย ของ คนพอเพียง (คนไม่โลภ) คือ
.
อาจดูเหมือนก้าวหน้าไม่เร็ว เทียบเท่าคนที่มุ่งมั่นแบบสุดโต่ง
.
ในบางโอกาสอาจพลาดการลงทุน หรือ โอกาสบางอย่าง
.
ไม่ต้องการแข่งขัน หรือ แสวงหามากเกินไป
.
นั้นก็คือ ข้อดี ข้อเสีย ของ
คนไม่พอ (คนโลภ) กับ คนพอเพียง (คนไม่โลภ) ครับ
.
ต่อมาเรามา วิเคราะห์
คนไม่พอ (คนโลภ) ตามหลักพุทธศาสนา กันครับ
.
คนที่หลงอยู่ใน "ความโลภ"
ในพุทธศาสนา เรียกว่า "ตัณหา" (ความทะยานอยาก)
แบ่งเป็น 3 ประการ
.
1. กามตัณหา อยากได้สิ่งสนองกิเลส (เงิน , ความรัก , บริวาร)
.
2. ภวตัณหา อยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (อยากรวย , อยากมีอำนาจ)
.
3. วิภวตัณหา อยากไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ (ไม่อยากจน , ไม่อยากเสียหน้า)
.
คนไม่พอ (คนโลภ)
มักตัดสินใจด้วย "ความอยาก"
ไม่ได้ตัดสินใจด้วย "ปัญญา" ครับ
.
เช่น ลงทุนแบบขาดสติ เพราะอยากรวยเร็ว
.
นักการเมือง ที่โกงกินเพราะ "ความโลภ"
.
ซึ่งมิจฉาชีพ มักจะนำ "ความโลภ" เป็นตัวตั้งในการหลอกลวง
.
การแสวงหาด้วย "ความโลภ"
มักนำไปสู่การ เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น
เช่น ทำงานหนักจนสุขภาพพัง
กดขี่ ทำลายความสัมพันธ์ลูกน้อง
เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์เป็นหลัก
.
ที่นี้ เรามาวิเคราะห์
คนพอเพียง (คนไม่โลภ) ตามหลักพุทธศาสนา กันบ้างครับ
.
"ความพอเพียง" ไม่ได้หมายความว่า "มีน้อย" นะครับ
.
แต่คือ "รู้จักประมาณ" ตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)
.
กระผมยังจำ
พระราชดำรัสพอเพียง ของในหลวง ร. 9 ได้ดีครับ
พระองค์ท่านบอกว่า
.
พอเพียงนี้ อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้
แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้ประมาณตามอัตภาพ
พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง
.
นี่คือพระราชดำรัส
เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ครับ
.
ที่กระผมยังจำได้ดี และได้นำ พระราชดำรัส นี้
ไปไว้หน้าโปรไพล์แฟนเพจของกระผม หลายปีแล้วครับ
.
พอมี พอกิน , ไม่ฟุ้งเฟ้อ , มีสติ ควบคุมกิเลส
.
สันโดษ มีความยินดีในสิ่งที่ตนมี มักน้อย
.
จิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยวัตถุ
.
กระผม เคยเดินตามพระท่าน "บิณฑบาต" ณ วัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ครับ
.
เดิน "บิณฑบาต" กันแค่ 2 คน ครับ (พระ 1 รูป รวมผมเป็น 2)
.
พระท่านถือเพียงแค่ "บาตร" อันเดียว
.
แต่กระผมสังเกตกิริยาของท่าน
ท่านดูสุขสงบ เย็นสบาย ไม่เดือดร้อนอะไรเลยครับ
แม้จะมีเพียงมือถือ "บาตร" แค่อันเดียว
ท่านก็ไม่มีความรู้สึกเดือดร้อน อะไรเลยครับ
.
ผลวิจัยบอกว่า คนที่ "มักน้อย" (พอเพียง)
มี "ความเครียด" น้อยกว่า คนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ นะครับ
.
เพราะคนกลุ่มนี้ ไม่ชอบเปรียบเทียบ "ตนเอง" กับใคร
จึง "ลด" ความทุกข์ จากการเปรียบเทียบ
.
สรุป ครับ
.
หากจะเปรียบเทียบ
คนไม่พอ (คนโลภ) กับ คนพอเพียง (คนไม่โลภ)
ใครประสบความสำเร็จมากกว่ากัน ?
.
ถ้านิยามความสำเร็จ คือ "ความร่ำรวย" ชื่อเสียง
.
คนที่มี "ความโลภ" อาจไปได้เร็ว และ ไกลกว่าในระยะสั้น
.
แต่เสี่ยงต่อการล้มเหลว อาจมี "ความทุกข์" ในระยะยาว
.
ถ้านิยามความสำเร็จ คือ "ชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน"
.
"คนพอเพียง" มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จมากกว่า
.
เพราะมีความสมดุล ทั้งการงาน สุขภาพ และ ความสัมพันธ์
.
ความโลภ คือ ไฟที่เผาตัวเอง นะครับ
.
"กรรม" จากการแสวงหาด้วย "ความโลภ"
อาจจะไม่ยั่งยืน นำมาซึ่งผลร้าย มากกว่าผลดี ครับ
.
ความสำเร็จภายนอก ลาภ ยศ สรรเสริญ
.
ความสำเร็จภายใน "จิตใจสงบ"
.
คนที่มี "ความโลภ" อาจ "สำเร็จ" ในสายตาโลก จริงครับ
.
แต่ก็ต้องแลกมาด้วยสุขภาพ ร่างกาย ความเครียด ความทุกข์
.
"คนพอเพียง" อาจจะไม่รวยล้นฟ้า แต่ชนะใจตนเอง ด้วยความสุขที่ยั่งยืน
.
บางที "ความสำเร็จ" ที่แท้จริง อาจไม่ใช่การมีมากที่สุด นะครับ
.
แต่คือการ "รู้จักพอ" ในสิ่งที่ตนมี
.
ความสุขใดจะยิ่งใหญ่กว่า "ความสงบ"
ความสุขใดจะยิ่งใหญ่กว่า "ความไม่มีกิเลส"
.
ผู้รู้จักพอในสิ่งที่ตนมี แม้จะมีน้อยก็เป็น "คนรวย" ครับ
.
คนไม่พอ (คนโลภ) : ทรัพย์สินอาจมีมาก แต่ก็ไม่แน่ว่ามีความสุข
.
คนพอเพียง (คนไม่โลภ) : ทรัพย์สินอาจจะมีน้อยแต่จิตใจ "อิ่มเอม"
.
คนไม่พอ (คนโลภ) ความสุข เป็นสิ่งชั่วคราว ขึ้นอยู่กับวัตถุที่เบียดเบียนมา
.
คนพอเพียง (คนไม่โลภ) : สะสม "ความสุข" แบบยั่งยืนมาจากภายใน
.
คนไม่พอ (คนโลภ) : ความทุกข์ ความคิดวิตกกังวลเยอะ เพราะไม่เคยพอ
.
คนพอเพียง (คนไม่โลภ) : ความทุกข์น้อย เพราะรู้จักปล่อยวาง
.
คนไม่พอ (คนโลภ) : ขาดอิสรภาพ เพราะถูก กิเลส ตัณหา ควบคุม
.
คนพอเพียง (คนไม่โลภ) : ควบคุมกิเลสได้ จิตใจเบาสบาย
.
ถ้าวัดกันด้วย "วัตถุ" คนโลภอาจจะ "ชนะ" ในระยะสั้น ครับ
.
ถ้าวัดด้วย ความสุขที่ยั่งยืน "คนพอเพียง" จะชนะในระยะยาว
.
"พุทธศาสนา" สอนว่า
ความสำเร็จสูงสุด คือ การไม่เป็นทาสของตัณหา
.
บางทีชีวิตที่ "พอเพียง" อาจไม่สวยงามในสายตาคนอื่น
แต่เป็นตัวชี้วัด ชีวิตที่ "สงบสุข" ที่สุดในจิตใจเรา นะครับ
.
ทางแห่งความสุขที่แท้จริง เริ่มต้นจากการรู้จักพอ
.
"โลก" อาจบอกว่า "ความโลภ" นำมาซึ่งความร่ำรวย
.
แต่ "พุทธศาสนาสอน" ว่า ความพอเพียง
นำมาซึ่งความร่มเย็นที่แท้จริง ครับ
.
เพราะในที่สุดแล้ว
ความสำเร็จที่แท้จริง อาจอยู่ที่การรู้จักคำว่า "พอดี"
.
คือมี "ความมุ่งมั่น" แต่ไม่หลงใหลใน "ความโลภ"
.
รู้จักใช้ชีวิตอย่างสมดุล และ มีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองเป็น
.
สุดท้ายในตอนนี้ ครับ ขอให้ผู้เจริญในธรรม ทุกท่าน
.
จงเป็นผู้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง ทุกคน ทุกท่าน ด้วยเทอญ สาธุ 🙏🙏🙏
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #ความโลภ , #พอเพียง , #เศรษฐกิจพอเพียงในหลวงร9
พุทธศาสนา
ธรรมะ
ศาสนา
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย