17 เม.ย. เวลา 06:40 • ธุรกิจ

ด่วน! “มหากิจศิริ” ออกแถลงการณ์โต้ “เนสท์เล่” ข้อพิพาทชิง "เนสกาแฟ"

“มหากิจศิริ” ออกแถลงการณ์ แจงข้อพิพาท ชี้ “เนสท์เล่” บิดเบือนคำสั่งศาลเพื่อให้สังคมเข้าใจผิด ฟ้อง QCP ล้มละลาย พร้อมเสนอทางออกขอผลิตเนสกาแฟต่อ หรือผลิตกาแฟภายใต้แบรนด์ QCP
กลายเป็นข้อพิพาทระดับโลก สำหรับการฟ้องร้องระหว่าง “เนสท์เล่” เจ้าของแบรนด์ “เนสกาแฟ” กับตระกูล “มหากิจศิริ” ซึ่งร่วมกันก่อตั้งบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) เพื่อผลิตกาแฟ ตั้งแต่ปี 2533 และเมื่อยุติสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องการดำเนินงานในอนาคตของ QCP ได้ ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันนั้น
ล่าสุดบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) ออกแถลงการณ์ยืนยันข้อเท็จจริงกรณีข้อพิพาททางกฎหมายกับบริษัทเนสท์เล่ หลังศาลแพ่งมีนบุรีมีคำสั่งห้ามเนสท์เล่ผลิต ขาย และนำเข้าเนสกาแฟมาจำหน่ายในไทย เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2568 แต่เนสท์เล่กลับไปฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อขอดำเนินธุรกิจต่อ
เส้นทางร่วมทุน 50 ปี ที่กำลังพังทลาย
ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ ระบุว่า การร่วมทุนระหว่างตระกูลมหากิจศิริกับเนสท์เล่ เริ่มต้นเมื่อครั้งนายประยุทธ มหากิจศิริ ร่วมลงทุนกับเนสท์เล่ตั้งโรงงานผลิตเนสกาแฟในประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายถือหุ้นในสัดส่วน 50:50 ซึ่งแม้เนสท์เล่จะเป็นเจ้าของแบรนด์และสูตรการผลิต แต่บริษัท QCP ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เนสท์เล่เป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
2
เมื่อสัญญาร่วมทุนหมดอายุ เนสท์เล่ตัดสินใจไม่ต่อสัญญา โดยศาลอนุญาโตตุลาการสากลได้ตัดสินในเดือนธันวาคม 2567 ว่า เนสท์เล่เลิกสัญญาร่วมทุนกับนายประยุทธ มหากิจศิริเพียงผู้เดียว ซึ่ง ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ เห็นว่า ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายไทย เนื่องจากคุณประยุทธถือหุ้นเพียง 3% ขณะที่คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 47%
1
ศึกตัดสินโดยศาลไทย
เพื่อปกป้องสิทธิ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริและครอบครัวจึงฟ้องร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรี จนศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2568 ห้ามเนสท์เล่ "ผลิต ขาย นำเข้าสินค้าเนสกาแฟมาจำหน่ายในประเทศไทย" ทำให้เนสท์เล่ไม่สามารถนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายในไทย
2
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ ระบุว่า เนสท์เล่ไม่ยอมรับคำสั่งศาลไทย โดยได้ไปฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2568 ยืนยันว่าเนสท์เล่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า "Nescafé" แต่ QCP กล่าวว่า เนสท์เล่ได้บิดเบือนคำสั่งศาลเพื่อให้สังคมเข้าใจผิดว่าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ
1
กล่าวหาเนสท์เล่มุ่งทำลายอุตสาหกรรมในประเทศ
ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ ยังชี้แจงอีกว่า เนสท์เล่กำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศมาจำหน่ายในไทย เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ 100% และไม่ได้มีความห่วงใยผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกร และซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาล
1
นอกจากนี้ ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ ยังกล่าวหาว่า เนสท์เล่ต้องการ "ฆ่าลูกทิ้ง" โดยฟ้องให้บริษัท QCP ล้มละลาย ทั้งที่บริษัทมีทรัพย์สินกว่าหมื่นล้านบาท และมีเงินสดกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการทำลายทรัพย์สินของคนไทยและกลั่นแกล้งบริษัทในประเทศไทย
1
"ความเป็นจริง ในเมื่อเนสท์เล่และมหากิจศิริมีความเห็นต่างในเชิงธุรกิจ ก็หย่ากันได้ แยกทางกันได้ แต่จะฆ่าลูกไม่ได้" ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ ระบุในแถลงการณ์
2
เสนอทางออกให้ QCP ผลิตกาแฟต่อ
ฝ่ายตระกูลมหากิจศิริ เสนอทางออกว่า ควรให้บริษัทสามารถผลิตเนสกาแฟต่อ หรือผลิตกาแฟภายใต้แบรนด์ QCP เองก็ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในราคาที่ถูกลง โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับเนสท์เล่อีกต่อไป
2
โฆษณา