Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
17 เม.ย. เวลา 08:26 • ข่าวรอบโลก
ถอดบทเรียนการตั้งชุมชนกับการจัดการเมือง ปลดล็อกเมืองคุณภาพ สร้างความปลอดภัยในชุมชน
รศ.พีรดร แก้วลาย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายโจทย์คำถาม เมืองโดน Lock ได้อย่างไร ใครเป็นคน lock เมือง? ว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เติบโตแบบกระทันหัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับจังหวัดใกล้เคียงด้วย การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วนี่เองทำให้เกิดการล็อกเมือง เพราะไม่ได้มีกระบวนการวางแผน เป็นเมืองแบบไม่ทันตั้งตัว โตแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไม่พร้อมที่จะเป็นเมือง ไม่ได้อิงให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง พื้นที่สาธารณะไม่ได้ถูกคำนึงตั้งแต่แรก
สำหรับกระบวนการ Unlock เมืองเป็นเรื่องของทั้งโลก หลายเมืองทั่วโลกก็กำลังทำกระบวนการนี้อยู่เหมือนกัน เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดึงดูดให้คนเก่ง ๆ ยังอยากอยู่ในเมือง เช่น เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ก่อนมีการเติบโตทางอุตสาหกรรมสูงมาก จนไม่สามารถพัฒนาเมืองต่อได้ มีคนเริ่มทยอยย้ายออกจากเมือง หลังจากนั้นภาครัฐจึงมีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและธุรกิจรายย่อย ตั้งเป้าหมายใหม่ให้กับเมือง มีโมเดลร่วมกันในการพัฒนาเมือง ทำให้เกิดการขยายพื้นที่สาธารณะสีเขียว ตามความต้องการของคนในเมือง
ตัวอย่างอื่น ๆ ที่เห็นหลายเมืองในต่างประเทศ เราพบว่า สถานที่ต่าง ๆ ที่เคยมีรั้วรอบขอบชิด ก็พยายามเอารั้วออก เอาพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ เช่น ชองเกซอน ประเทศเกาหลีใต้ รางรถไฟไฮไลน์ของนิวยอร์ก อเมริกา ก็เปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นการบ้านของผู้บริหารเมืองที่ต้องพยายามหาพื้นที่เหล่านี้ สร้างแรงดึงดูดให้เกิดการพัฒนา
พื้นที่สาธารณะใหม่ ๆ มีแนวคิด Unlock ด้วยการออกแบบและซ่อมแซมเมือง ด้วยการขยายพื้นที่ทางเดิมเท้า หรือกระทั่งความพยายามทำให้คนเข้าถึงธรรมชาติมากขึ้น ข้อกำจัดของเมืองมีร่วมกันทั่วโลกดังนั้นเราจึงมีแนวร่วมเยอะ
การส่งเสริมเมืองกับการพัฒนาเมือง
ยุทธภูมิ สุประการ หัวหน้าศูนย์น่านศึกษาวิทยาลัย กล่าวในหัวข้อ “พื้นที่สาธารณะ กับการอนุรักษ์” ว่า น่านมีกลไกการขับเคลื่อนจังหวัดผ่านทุนทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เป็นอัตลักษณ์ของเมืองน่าน หลายคนจึงมองว่าเป็นเมืองที่มีต้นทุนในการเป็นต้นน้ำและเมืองเก่าที่มีชีวิตมีประวัติศาสตร์ตั้งแต่สุโขทัย โดยน่านมีประชากร 474,539 คน มีพื้นที่ป่าทางกฎหมาย 80% คนน่านอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่
ในการวางนโยบายถูกคาดหวังทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ว่าจะพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์อย่างไร เรามีหน่วยงานมากมายร่วมสังเกตการณ์
วางแนวทางการพันาเมือง โดยเราให้ความสำคัญว่าคนในเมืองมีแนวทางจะกำหนดทิศทางเมืองอย่างไร ทั้งมิติทั้งด้านการอนุรักษ์และร่วมสมัย ซึ่งวันนี้กำลังจะเสนอยื่นต่อ Unesco เป็นเมืองสร้างสรรค์ จึงพยายามพัฒนาในสู่จุดนี้
“เรามี ต้นทุนทางวัฒนธรรม 18 กลุ่มชาติพันธุ์ ความสัมพันธุ์ต่อพื้นที่ เชื่อมโยงเขตใจเมืองน่าน กระบวนการข้างหน้า เราพยายามวิเคราะห์และมองผ่านตัวเองว่าจะไปอย่างไรต่อต้องคำนึงถึงหลายมิติมาก ทั้งเรื่องบริบทปัจจัยทางวัฒนธรรม รวมถึงความต่างของคน วัย บริบท มองเมืองอย่างไร เราจะหาจุดร่วมของการใช้งานพื้นที่เมือง “ปรับปรุงเมืองแต่ไม่เปลี่ยนแปลง” เปิดพื้นที่สีเขียวเชื่อมโยงพื้นที่เชิงวัฒนธรรม การอนุรักษ์และปกป้องเมือง ผ่านการจัดการผังเมือง”
ยุทธภูมิ กล่าวต่อว่า การทำกิจกรรมของเมืองในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้พื้นที่คนหลากวัยมาจัดกิจกรรมที่เขตเมือง และสร้างบทบาททั้งเด็กและเยาวชน คนหนุ่มสาวให้เข้ามาจัดการเมือง ยกประเด็น การจัดการศาลากลางหลังเก่า เราเรียนรู้ที่จะให้ภาคเอกชนและภาครัฐมาร่วมกันหาแนวทางการจัดการพัฒนาใจกลางเมืองน่าน ในฐานะน่านเมืองเก่าที่มีชีวิต ซึ่งเรามองว่า ทั้งหมดคือนิเวศด้านวัฒนธรรม การเรียนรู้ร่วมกันของจังหวัดน่านที่มีชีวิต
ผศ.ปัทมพร วงศ์วิริยะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมืองและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น กล่าวในหัวข้อ walkable และ creative economy โดยตั้งคำถามว่า เราจะพัฒนาพื้นที่สาธารณะเมืองขอนแก่นอย่างไร? โดยพบว่าขอนแก่นมีพื้นที่สีเขียวเยอะมาก
แต่เรายังไม่ได้วางแผนปรับปรุงพื้นที่อย่างจริงจังทำให้พื้นที่ใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเดิน เราพบว่าความท้าทายคือเราจะเริ่มได้อย่างไร ทำอย่างไรคนขอนแก่นจึงจะออกมาเดินกัน ประเด็นต่อมาคือเราจะมีพื้นที่สีเขียวมากกว่านี้ได้ไหม เพราะมันยังไม่พอสำหรับอัตราการใช้งานต่อคน
หลายโครงการที่เราทำมีการถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของหลายกลุ่มพบว่า ประเด็นสำคัญเป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เกิดขึ้น คือ
1.เชื่อมโยงย่านให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างเท่าเทียม
2.มีพื้นที่ใช้งานอย่างหลากหลาย ปลอดภัย สบาย สะดวก และเข้าถึงง่าย
3.มีกิจกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของคนในสังคม
4.สามารถสร้างโอกาสทางสังคมและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้
5.สามารถระบุอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้ ว่าแต่ละย่านของขอนแก่นก็อยากจะแสดงความเป็นตัวตน
และ 6.คือการทำให้พื้นที่สาธารณะก่อเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรา คือ พื้นที่ที่ทำให้เราได้เป็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่แค่ผู้ใช้งานแต่เป็นผู้ร่วมดูแลรักษาด้วย
“กระบวนการสำคัญที่เราทำคือความพยายามเชื่อมย่าน ใจกลางของขอนแก่นเป็นพื้นที่ที่มีสถานที่สำคัญอยู่โดยรอบ ทั้งศูนย์ราชการ สถานีขนส่ง โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเราสามารถเดินทางได้ในรัศมี 1-2 กิโลเมตร
แต่ปัญหาคือเราเดินไม่ได้ จึงต้องใช้รถ และตอนนี้รถก็เริ่มติด เราจึงต้องตั้งคำถามใหม่ว่าเราจะเชื่อมต่อย่านต่าง ๆ ได้อย่างไรโดยการเอาเรื่องการเดินมาชูโรง ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย อย่างเวทีสาธารณะถนนรื่นรมย์ ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม วิชาการ ประชาชน ระดมความคิดเห็นถึงการพัฒนาย่าน ออกแบบ จัดสรรงบประมาณ บริหารจัดการ เรามีสภาเมืองที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น โครงการ walking environment การปรับปรุงถนนรื่นรมย์ ขณะนี้กำลังรอก่อสร้างจริง”
กรณีศึกษาตั้งโรงงานพลุระเบิดในชุมชน
ศกนาฏกรรมโกดังพลุระเบิดเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุโรงงานพลุระเบิดสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรณีล่าสุดอุบัติภัยจากสารเคมีกรณีโกดังเก็บพลุระเบิดในพื้นที่ตลาดมูโนะ ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งสาเหตุระเบิดเกิดจากการต่อเติมโกดัง การเชื่อมเหล็กทำให้มีประกายไฟกระเด็นใส่พลุดอกไม้เพลิงที่ตั้งกองสุมไว้กองใหญ่ภายในโกดังจนระเบิดขึ้น ทำให้คนงานเสียชีวิตทันที 5 คน
อุบัติเหตุดังกล่าวสร้างความสูญเสียอย่างหนัก แรงระเบิดกระทบพื้นที่ชุมชุมโดยรอบกว่า 500 เมตร ส่งผลให้บ้านเรือนร้านค้าประชาชนเสียหายอย่างหนักกว่า 200 หลัง มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน ซึ่งพบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 12 คน
รายงานจากเจ้าหน้าที่ชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดว่าจากการประเมินหลุมระเบิดใหญ่ 2 หลุม รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น พบส่วนผสมดินดำหรือดินเทาของดอกไม้เพลิงที่เก็บไว้ในโกดังมีปริมาณมาก 2 ถึง 3 คันรถสิบล้อ คาดว่าจะมีน้ำหนักมากถึง 5 ตัน หรือ 5,000 กก. มีรัศมีในการทำลายล้างไกลถึง 2 กิโลเมตร
ถอดบทเรียน ไฟไหม้โรงงานเคมีเเถวกิ่งเเก้ว
ปัญหาของโรงงานในพื้นที่ชุมชนกรณี #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว เกิดจากอะไร
โรงงานหมิงตี้เคมีคอลตั้งอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ก่อนหน้ากฎหมายการจัดการผังเมืองของโรงงานอุตสาหกรรมจะถูกบังคับใช้ แล้วภายหลังจึงมีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานรอบโรงงาน
ผศ.ดร.นพนันท์ ให้ความเห็นว่า ผังเมืองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าโรงงานอุตสาหกรรมตั้งตรงไหนแล้วจะต้องอยู่ตรงนั้นตลอดไป แต่เราก็ไม่ได้อยากให้เกิดการย้ายทุกๆ กี่ปี เพราะต้องเสียโอกาส เวลา และการลงทุนเป็นมูลค่ามหาศาล
เมืองมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา โซนของโรงงานจึงอาจจะอยู่ในทิศทางการขยายตัวของชุมชน ซึ่งปกติจะมีการจัดผังเมือง
สิ่งที่ควรทำคือการดูว่าบริเวณดังกล่าวควรเป็นย่านอุตสาหกรรมหรือควรพัฒนาที่อยู่อาศัย หากควรเป็นอย่างแรกก็ต้องปรับที่อยู่อาศัยให้ไปในทิศทางอื่น แต่หากพิจารณาแล้วว่าควรเป็นบริเวณการขยายตัวของเมืองและชุมชน หากเป็นอุตสาหกรรมเบา ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ก็อาจจะอยู่กับชุมชนได้ ถ้าหากไม่ใช่ ต้องขยายไปยังนิคมที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติอย่างเข้มงวด
เสียชีวิตเเละบาดเจ็บจากเหตุการณ์พลุระเบิด
“เป้าหมายปลายทางไม่ใช่การผลิตพื้นที่เท่านั้น แต่คือการผลิตระบบนิเวศ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ถ้าเราสร้างได้สำเร็จก็จะเกิดการสร้างรายได้ โอกาสทางธุรกิจ ต้องไม่มองว่าการทำพื้นที่สีเขียวคืองานการกุศล คือหน้าที่ของรัฐ แต่มันคือโอกาสของเมือง หากเราทำให้เกิดระบบนิเวศนี้เมื่อไหร่จะทำให้เกิดความยั่งยืน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน สิ่งสำคัญคือเราพบว่าบล็อกที่เป็นอุปสรรคในทางนโยบายคือ เรื่องหลักคิด mind set ที่ยังคิดว่าเป็นงานการกุศล
ไม่ใช่โอกาสทางธุรกิจทำให้มันไม่มีพลังในการขับเคลื่อน และถ้าผู้นำยังมองไม่เห็นในส่วนนี้ ไม่เห็นว่าพื้นที่สีเขียวสร้างเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมืองได้ ก็จะไม่ถูกปลดล็อก แต่ถ้ามีการเห็นความสำคัญเรื่องนี้ ก็จะเกิดประโยชน์ในทุกมิติ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และหากว่าเกิดระบบขึ้นแล้ว แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารเมืองอย่างไร แต่การขับเคลื่อนเมืองก็จะดำเนินต่อไปได้”
เรียงเรีงโดย อาจรย์ต้นสัก สนิทนาม
#การจัดการเมือง #ชุมชน #มูโน๊ะ #พลุระเบิด #โรงงานเคมีระเบิด #กิ่งเเก้ว
ข่าวรอบโลก
นราธิวาส
ชุมชน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย