17 เม.ย. เวลา 10:37 • ข่าวรอบโลก

สมการความสัมพันธ์ Apple made in China

ท่ามกลางสงครามทางเศรษฐกิจที่ร้อนระอุจากจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า "นโยบายภาษีตอบโต้" (Reciprocal tariff) ของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีประเทศจีน จนกระทั่งบรรดานักวิเคราะห์ในสหรัฐหลายต่อหลายคนให้มุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่า อาจส่งผลให้ “เหล่าสินค้าไฮเทคของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ “ไอโฟน” (iPhone) ของบริษัท APPLE ที่ผลิตในจีน อาจมีราคาสูงขึ้นตั้งแต่ 35-67% จากราคาขาย ณ ปัจจุบัน
วันนี้ “เรา” จึงอยากลองไปสำรวจข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ภายใต้แคปชั่นที่ติดตรึงแน่นอยู่บนกล่องผลิตภัณฑ์เกือบทุกชิ้นของ APPLE ที่ว่า “Designed by Apple in California made in china” ดูสักนิดว่า มันจะถูกทำลายลงโดย “ภาษีทรัมป์” หรือ “มีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้มากน้อยเพียงใด?”
ทัศนของผู้บริหาร APPLE ที่มีต่อประเทศจีน :
อ้างอิงจากหนังหนังสือ Tim Cook : The Genius Who Took Apple to the Next Level ระบุถึงเหตุผลหลักที่ “สตีฟ จ๊อบส์” (Steve Jobs) มหาบุรุษผู้ก่อตั้ง APPLE ตัดสินใจเลือก “ทิม คุก” (Tim Cook) มาร่วมงาน รวมถึงสนับสนุนให้เป็นผู้สืบทอด ก็เป็นเพราะว่า “ผู้สร้างไอโฟน” ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างโรงงานและบริหารซัพพลายเชนแบบ Just-in-time หรือ การสั่งซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้าแล้วขายได้หมด หรือ มีสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดเพื่อประหยัดต้นทุน ซึ่งถือเป็น “จุดอ่อน” ของ “สตีฟ จ๊อบส์” มาโดยตลอด
และจากนั้นเป็นต้นมา “ความสัมพันธ์” ภายใต้ “Designed by Apple in California made in china” ก็ยิ่งสนิทแนบแน่น มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยดำเนินมาก่อนหน้านั้นอย่างชัดเจน!
นั่นเป็นเพราะจากการวิเคราะห์ของ “ทิม คุก” จุดอ่อนแอสำคัญที่ทำให้ APPLE สร้างผลกำไรได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น นั่นก็เพราะ “โรงงานของบริษัทมีต้นทุนสูงมากในการบริหารและกลายเป็นภาระหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน” ดังนั้น การผลักภาระออกไปให้กับซัพพลายเออร์ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล แต่จะต้องไม่สูญเสียคุณภาพและผลิตภาพแต่อย่างใด
ซึ่งหนึ่งใน “คำตอบ” ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ “โจทย์หิน” ที่ว่านี้ก็คือ บริษัทหองไห่พรีซิซั่นอินดัสทรี (Hon Hai Precistion Industry Company Ltd.) หรือ ที่ “เรา” รู้จักในนาม “ฟอกซ์คอนน์” (Foxconn)
แล้วเพราะอะไร Foxconn จึงกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญของ ทิม คุก :
สินค้าเกือบทั้งหมดของ APPLE โดยเฉพาะ ไอโฟน ล้วนประกอบด้วยมือและต้องใช้ความปราณีตสูง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนและมีขนาดที่เล็กมากๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้ “แรงงานมนุษย์จำนวนมาก” รวมถึงต้องมี “ขนาดของโรงงานผลิตที่ใหญ่โตมากเพียงพอเพื่อรองรับจำนวนคนเหล่านั้นด้วย”
ดังนั้น “แรงงานราคาย่อมเยา” รวมถึง “สามารถเรียกเพิ่มเติมได้ทันทีทันใด” ในประเทศจีนของ Foxconn จึงกลายเป็น “คำตอบพื้นฐานเบื้องต้น” ให้กับ “ทิม คุก” ในบัดดล
ค่าแรงในสหรัฐและจีน แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด :
อ้างอิงจากรายงานของ South China Morning Post ระบุว่า ค่าจ้างที่คนงานจีนของ Foxconn ได้รับในการผลิต iPhone 16 อยู่ที่ 26 หยวน (117บาท) ต่อชั่วโมง พร้อมโบนัสเซ็นสัญญาอีก 7,500 หยวน (33,989บาท)
ในขณะที่ หากอ้างอิงข้อมูลจากเว็ปไซต์ State of California Department of Industrial Relations ระบุว่า “ค่าแรงขั้นต่ำในรัฐแคลิฟอร์เนีย” ฐานบัญชาการของ APPLE ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1ม.ค.2025 ระบุว่า อยู่ที่ 16.50 ดอลลาร์สหรัฐ (550บาท) ต่อชั่วโมง
ค่าแรงที่ต่ำกว่าใช่เหตุผลเดียวของ APPLE สำหรับ ทิม คุก หรือไม่? :
** กดคลิ๊ก อ่านบทความส่วนที่เหลือ จากบทความฉบับเต็มได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ **
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม :
คัมภีร์เข้าสู่ทำเนียบขาว ฉบับ ปีเตอร์ นาวาร์โร
ผ่ามุมคิดรัฐบาลสิงคโปร์ แม้โดนภาษีทรัมป์แค่10%
What If? รัสเซียVSนาโต จำลอง3ฉากทัศน์การเผชิญหน้า
ยุโรปจะรับมือรัสเซียอย่างไร ในวันที่สหรัฐฯหันหลังให้
เจาะกลยุทธ์ อีลอนมัสก์ ซื้อOpenAIทำไมแพงลิบลิ่ว
ตัวตน&คมคิด เหลียงเหวินเฟิง ก่อนปฏิบัติการเพิร์ลฮาร์เบอร์
#ไอโฟน #iPhone #แอปเปิ้ล #Apple #ปีเตอร์นาวาร์โร #Peter Navarro #ภาษีตอบโต้ #Reciprocaltariff #DeathbyChina #ลอว์เรนซ์หว่อง #สิงคโปร์ #ธีระชัยภูวนาถนรานุบาล #กรณ์จาติกวณิช #โดนัลด์ทรัมป์ #ขึ้นภาษีไทย #สหรัฐอเมริกา #สมภพมานะรังสรรค์ #ลงทุนวันนี้ #บทวิเคราะห์ #ตลาดหุ้น #ค่าเงินบาท #แนวโน้มการลงทุน #OUTFIELDMAN #Trustnews #สำนักข่าวทรัสต์นิวส์
โฆษณา